พื้นฐานแนวคิด ของ ไคโรแพรกติก

ปรัชญา

ไคโรแพรกติกมักถูกจัดประเภทเป็นการแพทย์ทางเลือกและผสมผสาน[1] ซึ่งให้ความสำคัญกับการจัดดัดดึงระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมนุษย์โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง[2] ผู้ก่อตั้งดี. ดี. พาลเมอร์ เรียกมันว่าเป็น "ศาสตร์ของการรักษาโดยไม่ใช้ยา"[9]

ต้นกำเนิดของไคโรแพรกติกอยู่ในการจัดกระดูก (Traditional bone-setting) แบบการแพทย์ดั้งเดิม (traditional medicine)[9] และเมื่อมันวิวัฒนาการต่อมาก็รวมเข้ากับชีวิตนิยม การดลใจจากจิตวิญญาณ (spirituality) และเหตุผลนิยม[35] ปรัชญาแรกเริ่มมีรากฐานเป็นการนิรนัยจากลัทธิที่หักล้างไม่ได้ (dogma) ซึ่งอำนวยให้สามารถแยกแยะไคโรแพรกติกออกจากการแพทย์ได้ ซึ่งให้ข้อแก้ตัวทางกฎหมายและทางการเมืองสำหรับการปฏิบัติทางการแพทย์แบบไม่มีใบอนุญาตได้ และทำให้นักไคโรแพรกติกสามารถสถาปนาพวกตนเป็นวิชาชีพอิสระได้[35] ปรัชญา "straight" (โดยตรง) นี้ซึ่งถูกสอนให้แก่นักไคโรแพรกติกหลายรุ่นปฏิเสธการให้เหตุผลแบบอนุมานของระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์[35] และพึ่งพาการนิรนัยจากหลักการแรกเชิงชีวิตนิยมแทนวัตถุนิยมของวิทยาศาสตร์[36] อย่างไรก็ตาม นักไคโรแพรกติกส่วนใหญ่มักนำเอาการวิจัยแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ในไคโรแพรกติก[35] และนักปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นแบบ "mixers" (ผสม) ซึ่งพยายามผสมผสานคตินิยมลดทอน (reductionism) แบบวัตถุนิยมของวิทยาศาสตร์เข้ากับอภิปรัชญาของบรรพบุรุษของพวกเขาและกระบวนทัศน์แบบองค์รวมเกี่ยวกับสุขภาวะ (Holistic medicine)[36] บทวิจารณ์จาก ค.ศ. 2008 เสนอให้ไคโรแพรกติกแยกตัวออกห่างจากปรัชญาโดยตรงอย่างเชิงรุกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เพื่อขจัดทิ้งสิทธันต์ที่ทดสอบไม่ได้ (testability) และเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์และการวิจัยอิงหลักฐาน[37]

แม้ว่าท่ามกลางนักไคโรแพรกติกจะมีความคิดที่หลากหลาย[35] แต่พวกเขามีความเชื่อร่วมกันว่ากระดูกสันหลังและสุขภาพนั้นมีความสัมพันธ์กันโดยพื้นฐาน และความสัมพันธ์นี้มีสื่อกลางเป็นระบบประสาท[38] นักไคโรแพรกติกบางคนอ้างว่าการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังสามารถส่งผลต่อความเจ็บป่วยได้หลากหลาย ซึ่งรวมถึงกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้นและโรคหืด[39]

ปรัชญาไคโรแพรกติกประกอบไปด้วยมุมมองดังต่อไปนี้:[36]

ระบบความเชื่อของไคโรแพรกติกทั้งสองแบบจะสร้าง
หลักการที่ทดสอบได้อุปลักษณ์ที่ทดสอบไม่ได้
การจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก

การฟื้นฟูบูรณภาพเชิงโครงสร้าง

การปรับปรุงสถานะของสุขภาพ

เชาวน์ปัญญาสากล

เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด

สรีรวิทยาของร่างกาย

วัตถุนิยม:ชีวิตนิยม:
  • สามารถให้นิยามการปฏิบัติการได้
  • เหมาะสมสำหรับการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
  • ต้นกำเนิดของคติองค์รวมในไคโรแพรกติก
  • ไม่สามารถพิสูจน์ว่าจริงหรือเท็จได้
นำมาจาก Mootz & Phillips 1997

คติองค์รวม (Holism) สมมุติว่าสุขภาพนั้นได้รับผลกระทบจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวคน ๆ หนึ่ง บางแหล่งอาจรวมถึงภพของวิญญาณหรือภพของอัตถิภาวะด้วย[40] ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคติลดทอน ซึ่งในไคโรแพรกติกคือการลดทอนให้ต้นเหตุและการรักษาปัญหาทางสุขภาพกลายเป็นปัจจัยอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน[37] ภาวะธำรงดุลจะเป็นการเน้นถึงความสามารถในการรักษาตนเองที่มีอยู่แล้วภายในร่างกาย เราสามารถมองแนวคิดว่าด้วยเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดแบบแรก ๆ ของไคโรแพรกติกได้ว่าเป็นอุปลักษณ์ของภาวะธำรงดุล[35]

นักไคโรแพรกติกหลายคนกังวลว่าหากพวกเขาไม่แยกตัวออกห่างจากมโนทัศน์เชิงชีวิตนิยมตามดั้งเดิมเรื่องเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดแล้ว ไคโรแพรกติกจะยังคงถูกมองเป็นวิชาชีพชายขอบต่อไป[22] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีไคโรแพรกติกอีกชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นที่เมืองชิคาโกนามว่าแนแปรพาธี (naprapathy)[41][42] ซึ่งเชื่อว่าการจัดดัดดึงเนื้อเยื่ออ่อนด้วยมือจะสามารถลด "ความรบกวน" ภายในร่างกายและจึงสามารถทำให้สุขภาพดีขึ้นได้[42]

แบบโดยตรงและผสม

นักไคโรแพรกติกแบบ Straight (โดยตรง) ยึดหลักปรัชญาที่ ดี. ดี. และ บี. เจ. พาลเมอร์กล่าวไว้ และสงวนนิยามเชิงอภิปรัชญาและคุณลักษณะแบบชีวิตนิยมไว้[43] นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงเชื่อว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้เกิดการรบกวน "เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด" ซึ่งสำแดงออกมาผ่านระบบประสาทมนุษย์ และเป็นปัจจัยเสี่ยงเบื้องหลังหลักของโรคหลายชนิด[43] กลุ่มโดยตรงมองว่าการวินิจฉัยทางการแพทย์ถึงอาการของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการรักษาแบบไคโรแพรกติก พวกเขาถือว่าพวกมันเป็น "ผลลัพธ์ขั้นทุติยภูมิ" ของภาวะข้อเคลื่อนต่าง ๆ[43] นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงจึงสนใจกับการตรวจพบและการแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการจัดกระดูกเป็นหลัก และจะไม่ "ผสม" การบำบัดชนิดอื่นเข้าในวิถีปฏิบัติของพวกเขา[43] ปรัชญาและคำอธิบายของพวกเขาจะมีธรรมชาติเป็นอภิปรัชญา และพวกเขานิยมใช้ศัพท์ไคโรแพรกติกแบบดั้งเดิมมากกว่า อาทิ "การวิเคราะห์กระดูกสันหลัง" "การตรวจหาข้อเคลื่อน" "การแก้ไขด้วยการจัด"[22] พวกเขาต้องการคงความปลีกแยกและความแตกต่างจากการดูแลสุขภาพกระแสหลักต่อไป[22] แม้จะถูกถือว่าเป็นกลุ่มส่วนน้อย "พวกเขาสามารถแปลงสถานะของตัวเองในฐานะที่เป็นสายบริสุทธิ์และทายาทของเชื้อสายให้กลายเป็นอิทธิพลซึ่งมากเกินสัดส่วนจำนวนของพวกเขาไปอย่างมาก"[lower-roman 1]

นักไคโรแพรกติกแบบ Mixer (ผสม) "ผสม" แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาจากมุมมองแบบไคโรแพรกติก การแพทย์ และออสทีโอพาธี และเป็นส่วนใหญ่ของนักไคโรแพรกติก[22] กลุ่มผสมเชื่อต่างจากนักไคโรแพรกติกแบบโดยตรง โดยเชื่อว่าข้อเคลื่อนนั้นเป็นหนึ่งในหลายสาเหตุของโรคต่าง ๆ และจึงเปิดกว้างต่อการแพทย์กระแสหลักมากกว่า[22] หลายคนรวมเอาการวินิจฉัยทางการแพทย์กระแสหลักมาใช้และใช้การรักษาแผนปัจจุบัน เช่นกลวิธีของกายภาพบำบัดไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ (stretching) การนวด ไอซ์แพ็ก (ice pack) การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (electrical muscle stimulation) อัลตราซาวด์บำบัด (therapeutic ultrasound) และความร้อนชื้น (moist heat)[22] กลุ่มผสมบางส่วนใช้กลวิธีจากการแพทย์ทางเลือกด้วย เช่นอาหารเสริม การฝังเข็ม โฮมีโอพาธี ยาสมุนไพร และการตอบสนองทางชีวภาพ (biofeedback)[22]

พิสัยของมุมมองความเชื่อในไคโรแพรกติก
คุณลักษณะของมุมมองปลายทางความเชื่อที่เป็นไปได้
ขอบเขตการปฏิบัติ:แคบ ("straight") ←→ กว้าง ("mixer")
แนวทางการตรวจวินิจฉัย:ด้วยอัชฌัตติกญาณ→ ด้วยการวิเคราะห์
แนวปรัชญา:แบบชีวิตนิยม ←→ แบบวัตถุนิยม
แนววิทยาศาสตร์:เชิงพรรณนา ←→ เชิงทดลอง
แนวกระบวนการ:โดยปริยาย ←→ แบบชัดแจ้ง
เจตคติการปฏิบัติ:แพทย์/ตัวแบบเป็นศูนย์กลาง ←→ ผู้ป่วย/สถานการณ์เป็นศูนย์กลาง
บูรณาการทางวิชาชีพ:แยกกันและแตกต่างกัน ←→ บูรณาการเข้ากับกระแสหลัก
นำมาจาก Mootz & Phillips 1997

แม้ว่ากลุ่มผสมจะเป็นคนส่วนใหญ่ แต่พวกเขาหลายคนยังคงเชื่อในภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน ดังที่การสำรวจจากนักไคโรแพรกติก 1,100 คนในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ ค.ศ. 2003 แสดง โดยพบว่าร้อยละ 88 ต้องการเก็บคำศัพท์ "vertebral subluxation complex" (ปมภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน) ไว้ และเมื่อถามให้ประมาณการณ์ร้อยละของความผิดปกติของอวัยวะภายในซึ่งมีส่วนมาจากภาวะข้อเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญ คำตอบโดยเฉลี่ยตอบว่าร้อยละ 62[44] การสำรวจนักไคโรแพรกติกชาวอเมริกัน 6,000 คนเมื่อ ค.ศ. 2008 แสดงให้เห็นว่านักไคโรแพรกติกส่วนใหญ่ดูจะเชื่อว่าแนวทางทางคลินิกที่อิงภาวะข้อเคลื่อนอาจใช้งานได้จำกัดในการจัดการกับความเจ็บปวดจากอวัยวะภายใน (visceral pain) และนิยมแนวทางทางคลินิกที่ไม่ได้อิงภาวะข้อเคลื่อนสำหรับอาการดังกล่าวอย่างมาก[45] การสำรวจเดียวกันแสดงให้เห็นว่านักไคโรแพรกติกโดยทั่วไปเชื่อว่าแนวทางทางคลินิกของพวกเขาส่วนใหญ่สำหรับการจัดการกับความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูก/ชีวกล อาทิอาการปวดหลัง จะอิงภาวะข้อเคลื่อน[45] นักไคโรแพรกติกมักให้การบำบัดแผนปัจจุบันด้วย เช่นกายภาพบำบัดและการให้คำปรึกษาด้านวิถีชีวิต และสำหรับคนทั่วไปแล้วอาจจะแยกแยะสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์กับที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ออกจากกันได้อย่างยากลำบาก[46]

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน

ระวังสับสนกับ ภาวะทางการแพทย์ ข้อเคลื่อน

ในการแพทย์ที่อิงวิทยาศาสตร์ คำว่า "subluxation" (ข้อเคลื่อน) หมายถึงอาการที่ข้อต่อหลุด (Joint dislocation) ออกมาบางส่วนหรือไม่สมบูรณ์ จากภาษาละติน luxare แปลว่า 'หลุด/เคลื่อน' (dislocate)[47][48] ในขณะที่แพทย์ใช้คำนั้นเพื่อหมายถึงข้อที่หลุดแบบกายภาพเท่านั้น แต่ผู้ก่อตั้งไคโรแพรกติกดี. ดี. พาลเมอร์ ผสมความหมายเชิงอภิปรัชญาและปรัชญาเข้าไปในคำว่าข้อเคลื่อนด้วยจากประเพณีวิทยาศาสตร์เทียม อาทิชีวิตนิยม[49]

พาลเมอร์อ้างว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนรบกวนการทำงานของร่างกายและความสามารถรักษาตนเองที่มีแต่กำเนิด[50] ดี. ดี. พาลเมอร์ ทิ้งทฤษฎีเก่าของเขาไปซึ่งกล่าวว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้เส้นประสาทถูกกดอยู่ในช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง แล้วแทนที่ด้วยทฤษฎีที่กล่าวว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้จังหวะการสั่นของเส้นประสาทเปลี่ยนไป ทำให้ตึงหรือหย่อนเกินไป และส่งผลต่อระดับเสียง (สุขภาพ) ของอวัยวะปลายทาง[49] เขายืนยันทฤษฎีนี้ด้วยการชี้ว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดก็สามารถปฏิบัติไคโรแพรกติกให้ชำนาญได้[49] ในภายหลังบุตรของเขาบี. เจ. พาลเมอร์ พัฒนาแนวคิดนี้ต่อมา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กลายเป็นรากฐานทางกฎหมายสำหรับการแยกแยะไคโรแพรกติกออกจากการแพทย์แผนปัจจุบัน

ใน ค.ศ. 1910 ดี. ดี. พาลเมอร์ตั้งทฤษฎีซึ่งกล่าวว่าระบบประสาทเป็นสิ่งที่ควบคุมสุขภาพไว้ว่า:

"นักสรีรวิทยาแบ่งเส้นใยประสาทซึ่งประกอบขึ้นเป็นเส้นประสาทไว้สองประเภท นำเข้าและนำออก เมื่อมีการกดทับลงบนปลายเส้นใยนำเข้านอกส่วนกลาง จะทำให้เกิดความรู้สึกซึ่งถูกส่งไปยังส่วนกลางของระบบประสาท เส้นใยประสาทนำออกส่งสัญญาณจากส่วนกลางไปยังปลายของมัน ส่วนใหญ่แล้วพวกนี้จะไปยังกล้ามเนื้อและจึงเรียกว่าสัญญาณสั่งการ บางส่วนเป็นสัญญาณคัดหลั่งและส่งไปยังต่อมต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นสัญญาณยับยั้ง หน้าที่ของมันคือการยับยั้งการคัดหลั่ง ดังนั้นแล้ว เส้นประสาทส่งสัญญาณไปภายนอกและความรู้สึกมาภายใน กิจกรรมของเส้นประสาทเหล่านี้ หรือของเส้นใยของมัน อาจถูกกระตุ้นหรือระงับได้จากการกดเบียด ผลคือการทำงานของมันถูกดัดแปลง – มีกิจกรรมที่มากเกินหรือไม่พอ – ซึ่งคือโรค"[lower-roman 2]

นักไคโรแพรกติกใช้การถ่ายภาพรังสีเพื่อพิจารณาโครงสร้างกระดูกของผู้ป่วย

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนซึ่งเป็นแก่นมโนทัศน์ของไคโรแพรกติกดั้งเดิมยังคงไม่มีน้ำหนักและไม่ถูกทดสอบโดยส่วนมาก และมีการโต้เถียงว่าควรเก็บมันไว้ในการปฏิบัติไคโรแพรกติกหรือไม่ซึ่งดำเนินมามากกว่าหลายทศวรรษ[52] โดยทั่วไปผู้วิจารณ์ไคโรแพรกติกดั้งเดิมที่อิงภาวะข้อเคลื่อน (ซึ่งรวมนักไคโรแพรกติกด้วย) เคลือบแคลงในประโยชน์ทางคลินิก ความเชื่อแบบสิทธันต์ และแนวทางเชิงอภิปรัชญาของมัน ในขณะที่นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงยังคงรักษากระบวนทัศน์แบบชีวิตนิยมดั้งเดิมซึ่งผู้ก่อตั้งสนับสนุนอยู่ ไคโรแพรกติกแบบอิงหลักฐานเสนอว่ามุมมองแบบเชิงกลจะทำให้การดูแลด้วยไคโรแพรกติกสามารถบูรณาการเข้ากับประชาคมบริการสุขภาพที่กว้างกว่าได้[52] นี่ยังคงเป็นข้อโต้เถียงอย่างต่อเนื่องภายในวิชาชีพไคโรแพรกติกเช่นกัน โรงเรียนไคโรแพรกติกบางที่ยังสอนไคโรแพรกติกอิงภาวะข้อเคลื่อนแบบดั้งเดิม/โดยตรงอยู่ ในขณะที่ที่อื่นกำลังขยับย้ายไปหาไคโรแพรกติกแบบอิงหลังฐานที่ปฏิเสธพื้นฐานเชิงอภิปรัชญาและจำกัดตัวเองไว้กับภาวะทางประสาท กล้ามเนื้อ และโครงกระดูกเป็นหลัก[53][54]

ใน ค.ศ. 2005 องค์การอนามัยโลกให้นิยามภาวะข้อเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกไว้ว่าเป็น "รอยโรคหรือความผิดปกติในข้อต่อหรือหน่วยการเคลื่อนไหวที่ตำแหน่ง ความสมบูรณ์ของการเคลื่อนไหว และ/หรือการใช้งานทางสรีรวิทยาเปลี่ยนไป แม้ว่าผิวข้อต่อจะยังสัมผัสกันอยู่ครบถ้วน เป็นองคภาวะเชิงหน้าที่ซึ่งอาจส่งอิทธิพลต่อบูรณภาพทางชีวกลและทางประสาท"[lower-roman 3] นี่ต่างจากนิยามของภาวะข้อเคลื่อนในทางการแพทย์ซึ่งเป็นการกระจัดเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญซึ่งมองเห็นได้ผ่านวิธีการถ่ายภาพนิ่ง เช่นด้วยรังสีเอกซ์[55] การใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีก่อไอออนที่เป็นอันตรายโดยไม่มีเหตุผลที่มีหลักฐานสนับสนุน[56][57] หนังสือจาก ค.ศ. 2008 Trick or Treatment ("หลอกหรือรักษา") กล่าวว่า "รังสีเอกซ์ไม่สามารถเปิดเผยให้เห็นทั้งภาวะข้อเคลื่อนหรือเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาไคโรแพรกติกได้เพราะพวกมันไม่มีอยู่จริง"[lower-roman 4] เลขาธิการสหพันธ์ไคโรแพรกติกโลก (World Federation of Chiropractic) ทนายความเดวิด แชปแมน-สมิธ (David Chapman-Smith) กล่าวว่า "นักวิจารณ์ทางการแพทย์ถามมาว่าจะมีการเคลื่อนได้อย่างไรหากใช้รังสีเอกซ์แล้วมองไม่เห็น คำตอบคือความจริงแล้วภาวะเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้นเป็นองคภาวะเชิงหน้าที่ ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง และจึงฉายรังสีเอกซ์มองเห็นได้ไม่มากไปกว่าอาการเดินกะเผลก (limp) หรือปวดหัวหรือปัญหาเชิงหน้าที่อื่นใดก็ตาม"[lower-roman 5] สภาไคโรแพรกติกทั่วไป (General Chiropractic Council) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมนักไคโรแพรกติกตามกฎหมายในสหราชอาณาจักรกล่าวว่าปมภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้น "ไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกใดรับรองที่จะให้สามารถอ้างได้ว่ามันเป็นต้นเหตุของโรค"[lower-roman 6]

เมื่อ ค.ศ. 2014 คณะกรรมการผู้ตรวจการไคโรแพรกติกแห่งชาติ (National Board of Chiropractic Examiners) กล่าวว่า "จุดเน้นเฉพาะของการปฏิบัติไคโรแพรกติกเป็นที่รู้จักว่าคือภาวะข้อเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกหรือการทำงานผิดปกติของข้อต่อ ภาวะข้อเคลื่อนเป็นข้อกังวลทางสุขภาพที่ปรากฏอยู่ในข้อต่อของกระดูก และส่งผลต่อระบบประสาทผ่านความสัมพันธ์ทางสรีรวิทยาและกายวิภาคที่ซับซ้อนและอาจนำไปสู่การทำงานที่ลดลง ความพิการ หรือความเจ็บป่วย"[lower-roman 7]

วิทยาศาสตร์เทียมหรือการบำบัดจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง

แม้ว่านักไคโรแพรกติกบางส่วนจำกัดการปฏิบัติของตนไว้รักษาเฉพาะภาวะทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูกระยะสั้นเท่านั้น หลายคนอ้างอย่างผิด ๆ ว่าสามารถรักษาภาวะอื่น ๆ อีกมากมายได้[62][63] บางส่วนห้ามปรามไม่ให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการทางแพทย์ และบางส่วนเสแสร้งว่ามีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นแพทย์ครอบครัวได้[62]

แคว็กวอตช์ (Quackwatch) องค์กรตรวจสอบการแพทย์ทางเลือกเตือนว่าอย่าพบนักไคโรแพรกติกที่:[62][64]

  • รับรักษาเด็กเล็ก
  • โน้มน้าวไม่ให้สร้างภูมิคุ้มกัน
  • เสแสร้งทำเป็นแพทย์ครอบครัว
  • ฉายรังสีเอกซ์กระดูกสันหลังทั้งหมด
  • สนับสนุนอาหารเสริมที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์
  • ต่อต้านการแพทย์วิทยาศาสตร์
  • อ้างว่ารักษาปัญหาที่ไม่ใช่ทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูกได้

แพทย์คนหนึ่งเขียนลงในนิตยสารสเก็ปติคอลอินไควร์เรอร์ (Skeptical Inquirer) เตือนว่าอย่าพบแม้กระทั่งนักไคโรแพรกติกคนใดที่เพียงแค่อ้างว่าสามารถรักษาภาวะทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูกได้:

"ฉันคิดว่าการบำบัดด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง (SMT) เป็นตัวเลือกที่มีเหตุผลให้ผู้ป่วยทดลองได้ ... แต่ฉันไม่สามารถแนะนำผู้ป่วยให้พบนักไคโรแพรกติกได้ด้วยจิตสำนึกสุจริต ... เมื่อไคโรแพรกติกมีประสิทธิผล สิ่งที่มีประสิทธิผลไม่ใช่ 'ไคโรแพรกติก' แต่มันคือ SMT นักกายภาพบำบัด นักออสทีโอพาธี หรือคนอื่น ๆ ก็ให้บริการ SMT ด้วย คนพวกนี้เป็นผู้ให้บริการที่อิงวิทยาศาสตร์ ... หากฉันคิดว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการจัดดัดดึง ฉันก็จะแนะนำให้เขาไปหาผู้ให้บริการที่อิงวิทยาศาสตร์แทน"[lower-roman 8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไคโรแพรกติก http://www.aetna.com/cpb/medical/data/100_199/0107... http://chiroandosteo.com/content/pdf/1746-1340-16-... http://chiropracticdiplomatic.com/strategies/globa... http://www.chiropratiquelasource.com/recherches/sa... http://chiroweb.com/archives/ahcpr/chapter2.htm http://chiroweb.com/archives/ahcpr/chapter3.htm http://jmmtonline.com/documents/HomolaV14N2E.pdf http://www.journalchiroed.com/2000/JCEFall2000Rose... http://archive.journalchirohumanities.com/Vol%2015... http://www.medicalnewstoday.com/articles/75754.php