การละเล่นทั่วไป ของ ไทโคราช

และกีฬาพื้นบ้าน มีทั้งของเด็กและผู้ใหญ่มีลักษณะคล้ายกับชาวไทยภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และชาวไทย โคราช เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง ลูกช่วง เบี้ยริบ สะบ้า ต่อไก่ สันนิษฐานการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง มีข้อสันนิษฐานต่างๆ ดังนี้คือ

1.เบิ้ง ตรงกับคำว่า บ้าง ในภาษาไทยภาคกลาง "ไทยเบิ้งก็คงจะหมายถึง เป็นไทยอยู่บ้างเหมือนกัน คือ ส่วนหนึ่งเป็นไทย ส่วนหนึ่งเป็นเผ่าอื่น เช่น อาจจะเป็นลาว หรือเขมร หรือญวนผสมอยู่"2. อาจจะเป็นเพราะคนกลุ่มนี้ใช้คำว่า เบิ้ง ปะปนกันในการพูดจาเสมอ เช่น ภาษาไทยภาคกลางพูดว่าขอไปด้วย ชาวไทยเบิ้งจะพูดว่า ขอไปเบิ้ง เป็นต้น3. เป็นคำที่ชาวไทยลาว หรือเผ่าพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานเรียกชาวไทโคราช ธวัช ปุนโณทก ระบุในงานศึกษา เรื่องกลุ่มชั้นในภาคอีสานว่า "ชาวอีสานจะเรียกชาวโคราช" ว่าไทบ้าง ไทโคราชบ้าง ไทเบิ้ง หรือไทเดิ้ง บ้าง" ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นตรงกับงานศึกษาของสรเชต วรคามวิชัย เมื่อ พ.ศ. 2539 ว่า " ชาวอีสาน กลุ่มต่างๆ เช่น ลาว เขมร จะเรียกชาวไทยโคราชว่าไทยเบิ้ง หรือไทยเดิ้ง ไม่ทราบคำเรียกนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ปัจจุบันชาวบ้าน ยังเรียกอยู่ " และจากการพูดคุยกับวีระพงศ์ มีสถานนักวิจัยของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ระบุไว้ตรงกันว่า คนลาวชัยภูมิจะเรียกคนไทยโคราชว่า ไทยเบิ้ง กลุ่มชาวไทยในชัยภูมิจะยอมรับและหันมาเมื่อมีใครทักว่าเป็นไทยเบิ้ง แสดงว่ามีการรับรู้ว่าตนเองเป็นกลุ่มไทย (เบิ้ง) ไม่ใช่ลาว

ไทโคราช เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมโคราช ได้แก่ มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า “เพลงโคราช” ใช้ดนตรีพื้นบ้าน คือ มโหรีโคราช และที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญคือ ใช้ภาษาโคราชในชีวิตประจำวัน ภาษาโคราชเป็นภาษาที่มีวงศัพท์ สำเนียง และสำนวน เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง

ความก้าวหน้าทางการศึกษา ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันส่งผลกระทบถึงกลุ่มชาติพันธุ์ โคราชรุ่นใหม่ ที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของตนเอง ไม่รู้จักการละเล่นดนตรี และเพลงพื้นบ้าน ที่สำคัญคือ พูดภาษาโคราชไม่ได้ วงศัพท์ภาษาโคราชจึงนับวันจะหายไป