สถาปัตยกรรม ของ ไทโคราช

ชาวไทยเบิ้งมีเอกลักษณ์ของกลุ่มชน คือ สร้างเรือนยกเสาสูง แบบเรือนไทย มีหน้าต่างประตู บานเล็ก สลักอกเลาประตู เป็นลวดลายแบบง่ายๆ ฝาเรือนคือฝาฟาก ฝาค้อ จากการสำรวจ พบว่า หมู่บ้านเกษตรกรรม นิยมสร้างบ้านเป็นกระจุก โดยมีการทำนา ทำไร่ อยู่รอบๆหมู่บ้าน การกระจุกตัวของเรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านนั้นมีเหตุผลว่า เพื่อความปลอดภัย การแยกสร้างเรือนให้กระจายออกไปอาจถูกโจรผู้ร้ายปล้น ได้ง่าย และเพื่อความอบอุ่นที่ได้อยู่อาศัยในระหว่าง ญาติพี่น้องและมิตรสหาย

รูปทรงเรือน เป็นเรือนใต้ถุนสูง โดยปกติเรือนจะยกพื้นสูงขนาดคนเดินลอดได้ คือสูงราว 2 เมตร หลังคาเรือนในอดีตนิยมหน้าจั่ว ทรงมนิลาและทรงปั้นหยา เรือนจะหันหน้าไปได้ทุกทิศ ยกเว้นทิศตะวันตก รูปทรงของเรือนก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบันมีด้วยกันหลายแบบ ที่สำคัญคือ

1.เรือนทรงไทย เป็นเรือนใต้ถุนสูง มีผัง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสากลมปักเอียงสอบเข้าหากัน หลังคาทรงจั่ว ตกแต่งของจั่วด้วยป้านลมที่มีเชิงเป็นรูปตัวเหงา ฝาเรือนทำด้วยไม้จริง ลักษณะเป็นกรอบลูกฟัก หรือตีด้วยไม้กระดาษ เรือนแบบนี้พบทั่วไป2.เรือนทรงไทยแปลง เป็นแบบท้องถิ่น นั้นคือเป็นเรือนใต้ถุนสูง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาเอียงสอบเข้าหากันแต่ไม่เอียงมากนัก หลังคาทรงจั่วแต่มุมบนของจั่วไม่ทำเป็นมุมแหลมมาก ไม่มีป้าน ลมและตัวเหงา ฝานิยมทำด้วยไม้กระดานหรือฝาฟาก หน้าต่างมีขนาดเล็ก หรืออาจจะกล่าวได้อีกว่าแบบดังกล่าวนี้ยึดถือระเบียบกรอบโครงสร้างแบบเรือนไทยแต่มีสัดส่วนที่โค้งมุมแหลมของหลังคาน้อยกว่า3.เรือนทรงไทยอิทธิพลจากที่อื่นๆ เช่น แบบที่ได้รับอิทธิพลจากภาคอีสาน คือ เรือนใต้ถุนสูงมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาไม่เอียงสอบเข้าหากัน หลังคาทรงจั่วมุมบนไม่แหลมมาก ไม่มีป้านลมและตัวเหงา ฝานิยมทำด้วยไม้ฟาก และเจาะหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก แบบที่ได้รับอิทธิพลจากชุมชนไทยยวน มีลักษณะเป็นเรือนแฝดใต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว ลักษณะคล้ายกับกรอบโครงสร้างของเรือนไทยล้านนา4. เรือนที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองใหญ่ เช่น เรือนหลังคาทรงปั้นหยาเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้งสี่ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เป็นเรือนไม้สองชั้น ยกพื้นใต้ถุนสูง เรือนหลังคาทรงมนิลา คือเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่มีหักหน้าจั่วเหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือน ฝากระดาน มีกลังคาคล้ายกับเรือนบรานอ คือมีหน้าจั่วหลายจั่วของพวกชาวไทยมุสลิม

การใช้เนื้อที่ภายในเรือน จะกั้นภายในเรือนมิดชิดเป็นสัดส่วน เพียงส่วนหนึ่งของเรือนในขณะพื้นที่ส่วนใหญ่ มีหลังคาคลุมใช้เป็นห้องโถงโล่ง ใช้ประโยชน์ของพื้นที่นี้อย่างอเนกประสงค์ เช่นพักผ่อน สังสรรค์ รับแขก รวมทั้งสามารถใช้นอนหลับได้เช่นกัน ครัวไฟจะอยู่บางมุมของชั้นบนเรือน หรือแยกเป็นเรือนต่างหาก เรือนบางหลังจะมีชานโล่งประกอบ