โรคที่มีความสัมพันธ์กับอาหาร ของ The_China_Study

โรคภูมิต้านตนเอง

ผู้เขียนเสนอว่า ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ของเด็กทารก มีสหสัมพันธ์ในระดับสูงกับการบริโภคนมวัว[19] โรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านตนเอง (autoimmune diseases) เช่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1, multiple sclerosis, และโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ มีอาการคล้ายกันและอาจจะมีเหตุอย่างเดียวกันผู้เขียนกล่าวว่า โรคเกี่ยวกับภูมิต้านตนเองเกิดขึ้นมากกว่าในผู้ที่อาศัยอยู่ในระดับละติจูดที่เหนือกว่าและในผู้ที่บริโภคอาหารมีโปรตีนสัตว์สูงโดยเฉพาะนมวัวผู้เขียนเสนอว่า วิตามินดีอาจเกี่ยวข้องกับสหสัมพันธ์ที่กล่าวไปทั้งสองอย่างนี้เพราะว่า วิตามินดีมีความสำคัญในการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันและสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในระดับละติจูดที่เหนือกว่าการขาดการตากแดดอาจจะมีผลเป็นการสร้างวิตามินดีที่ไม่พอนอกจากนั้นแล้ว การบริโภคโปรตีนสัตว์ โดยเฉพาะเคซีนจากนมวัว อาจจะมีผลเป็นระดับแคลเซียมที่สูงขึ้นในเลือดซึ่งเข้าไปห้ามกระบวนการที่ร่างกายเปลี่ยนวิตามินดีในไตไปเป็น calcitriol ซึ่งเป็นรูปแบบของไวตามินดีที่ช่วยยับยั้งการการเกิดขึ้นของโรคภูมิต้านตนเอง[20]

โรคในสมอง

ผู้เขียนกล่าวว่าความบกพร่องทางประชาน (cognitive impairment) และภาวะสมองเสื่อม รวมทั้งโรคอัลไซเมอร์มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และความเสียหายที่มีเหล่านั้น มีเหตุจากอนุมูลอิสระ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สามารถควบคุมได้ด้วยอาหาร[21]

มะเร็ง

ผู้เขียนเชื่อมการเกิดขึ้นของมะเร็งเต้านมกับการมีฮอร์โมนเพศหญิงในระดับที่สูงเป็นระยะเวลายาวซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเริ่มมีระดูตั้งแต่เยาว์วัย การมีวัยหมดประจำเดือนที่ล่าช้า และระดับที่สูงขึ้นของคอเลสเตอรอลในเลือดผู้เขียนเสนอว่า องค์ความเสี่ยงเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับอาหารที่มีโปรตีนสัตว์สูง โดยเฉพาะเคซีนจากนมวัวคือ ผู้หญิงชาวจีนโดยเฉลี่ยมีระยะเวลาที่มีเอสโทรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) เพียงแค่ 35-40% ของผู้หญิงชาวอังกฤษและชาวอเมริกันและอัตราการเกิดขึ้นของมะเร็งเต้านมในหญิงชาวจีนก็มีค่าเพียงแค่ 1/5 ของอัตราของหญิงชาวตะวันตก[22] ผู้เขียนยังเสนออีกด้วยว่า อัตราการเกิดขึ้นที่ต่ำกว่าของเนื้องอกร้ายของลำไส้ใหญ่ (colorectal cancer) มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารจากพืชที่มีใยอาหารสูงเช่นพืชวงศ์ถั่ว ผักมีใบ และเมล็ดจากพืชวงศ์หญ้า (เช่นข้าว) ที่ไม่ขัดสี[18]

โรคเบาหวาน

ผู้เขียนพรรณนางานวิจัยเกี่ยวกับอาหารของนายแพทย์เจมส์ ดี. แอนเดอร์สัน กับคนไข้ 50 คนโดยที่ 25 คนเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 25 คนที่เหลือมีโรคเบาหวานชนิดที่ 2คนไข้ทั้งหมดใช้ยาอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้เขียนรายงานว่า หลังจากที่คนไข้เปลี่ยนอาหารสไตล์อเมริกันที่สมาคมโรคเบาหวานอเมริกัน (American Diabetes Association) แนะนำ ไปเป็นอาหารจากพืชที่มีใยอาหารสูง มีไขมันต่ำ คนไข้ประเภท 1 สามารถลดระดับการใช้อินซูลินโดยเฉลี่ยประมาณ 40% ภายใน 3 อาทิตย์หลังจากการเปลี่ยนอาหารและคนไข้ 24 คนใน 25 คนที่มีโรคเบาหวานประเภท 2 สามารถเลิกใช้อินซูลินโดยสิ้นเชิงภายในไม่กี่อาทิตย์[23]

โรคตา

ผู้เขียนเสนอว่า งานวิจัยหลายงานแสดงว่า อาหารที่มีสารแคโรทีนอยด์[24]ซึ่งพบในผักผลไม้ที่มีสีสรรจะช่วยป้องกันโรค macular degeneration[25] ได้ ซึ่งเป็นโรคตาที่เป็นเหตุแห่งความตาบอด และว่า อาหารที่มีสารอาหาร lutein ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักขม จะช่วยป้องกันต้อกระจกได้[26]

โรคหัวใจและโรคอ้วน

ผู้เขียนกล่าวว่า งานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า การบริโภคโปรตีนพืชมีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอลที่ดีกว่าการลดการบริโภคไขมันหรือคอเลสเตอรอลโดยตรง[21] ในช่วงเวลาที่ทำงานวิจัยในเมืองจีนนี้ อัตราความตายจากโรคหัวใจของชายชาวอเมริกันอยู่ที่ 17 เท่าของชายจีนชนบท[17] ผู้เขียนกล่าวว่า "การบริโภคแคลอรีโดยเฉลี่ยต่อน้ำหนักของชาวจีน ที่มีชีวิตแอ๊กถีฟน้อยที่สุด อยู่ที่ระดับ 30% สูงกว่าชาวอเมริกันโดยเฉลี่ย แต่ว่า น้ำหนักตัวกลับน้อยกว่าถึง 20%" (คือทานอาหารมีพลังงานมากกว่าแต่น้ำหนักตัวกลับน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ)

ผู้เขียนกล่าวเพิ่มขึ้นว่า "การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูงเปลี่ยนการใช้แคลอรีจากการทำความร้อนในร่างกาย ไปเป็นการเก็บเป็นไขมันในตัว (ยกเว้นในกรณีที่การอดอาหารนำไปสู่การลดน้ำหนักตัว)"ผู้เขียนเสนอว่า "การบริโภคอาหารอาจมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญแคลอรีแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงต่อน้ำหนักตัวที่มาก"และเพิ่มความเห็นว่า "การบริโภคอาหารอย่างเดียวกันนั่นแหละที่มีโปรตีนสัตว์น้อย มีไขมันต่ำ นอกจากจะช่วยป้องกันโรคอ้วนแล้ว ก็ยังให้แต่ละคนสามารถเติบโตขึ้นในระดับที่สูงสุดสำหรับบุคคลนั้น"[27]

นิ่วในไตและท่อไต

การบริโภคโปรตีนสัตว์มีความสัมพันธ์กับองค์ความเสี่ยงที่นำไปสู่โรคนิ่วในไตและท่อไตผู้เขียนกล่าวว่า ระดับแคลเซียมและ oxalate[28]ในเลือดที่สูงขึ้นอาจะมีผลเป็นนิ่วในไตและท่อไตและว่า งานวิจัยเร็ว ๆ นี้พบว่า นิ่วในไตและท่อไตอาจเริ่มเกิดขึ้นเนื่องจากอนุมูลอิสระ[29]

โรคกระดูกพรุน

ผู้เขียนแสดงว่า โรคกระดูกพรุนมีความสัมพันธ์กับการบริโภคโปรตีนสัตว์เพราะว่า โปรตีนสัตว์เพิ่มความเป็นกรดในเลือดและในเนื้อเยื่อ ซึ่งไม่เหมือนโปรตีนพืชผู้เขียนกล่าวเพิ่มว่า เพื่อที่จะลดความเป็นกรด ร่างกายก็จะนำแคลเซียม (ซึ่งเป็นสารด่างที่ได้ผลมาก) ออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกเหล่านั้นอ่อนแอลง และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการหักมากขึ้นผู้เขียนกล่าวเพิ่มอีกว่า "ในงานวิจัยในชนบทประเทศจีนของเรา ที่อัตราโปรตีนสัตว์ต่อโปรตีนพืชเป็น 1/10 อัตรากระดูกหักก็ลดลงเป็นเพียงแค่ 1/5 ของสหรัฐอเมริกา"[30]

แหล่งที่มา

WikiPedia: The_China_Study http://www.amazon.com/The-China-Study-Comprehensiv... http://www.cathletics.com/articles/downloads/prote... http://thechart.blogs.cnn.com/2011/08/25/becoming-... http://www.cnn.com/2011/HEALTH/08/18/bill.clinton.... http://books.google.com/books?id=KgRR12F0RPAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=KgRR12F0RPAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=KgRR12F0RPAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=KgRR12F0RPAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=KgRR12F0RPAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=KgRR12F0RPAC&pg=P...