การรักษา ของ กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน

chlordiazepoxide บางครั้งใช้แทนไดแอซิแพมเพื่อรักษาอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีนเหมือนกับไดแอซิแพม มันมีครึ่งชีวิตที่ยาว และมีเมแทบอไลต์ซึ่งมีฤทธิ์ระยะยาว[7][95]

การรักษาการติดเบ็นโซไดอาเซพีนจะพิจารณาอายุ โรคที่เป็นร่วมกัน และการทำงานทางเภสัชวิทยาของยา[96]นอกเหนือจากการค่อย ๆ ลดขนาดยา การรักษาทางจิตวิทยาอาจมีประโยชน์เล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญหลังจากหยุดยาและเมื่อติดตาม[97] การรักษาทางจิตวิทยาที่ได้ศึกษารวมทั้งการฝึกผ่อนคลาย การปรับความคิดและพฤติกรรมสำหรับโรคนอนไม่หลับ การตรวจสอบตนเองเรื่องการบริโภคและอาการ การตั้งเป้าหมาย การรักษาอาการขาดยา และการรับมือกับความวิตกกังวล[97]

ไม่มีวิธีการมาตรฐานเพื่อรักษาอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน[98]ถ้ามีแรงจูงใจพอและใช้วิธีที่สมควร เกือบทุกคนสามารถหยุดกินยาได้แต่การมีอาการเป็นระยะยาวและรุนแรงอาจทำให้การมีคู่ชีวิตหรือธุรกิจล้มเหลว อาจทำให้ล้มละลาย อาจต้องเข้า รพ. และผลร้ายแรงที่สุดก็คือการฆ่าตัวตาย[4]ดังนั้น ไม่ควรบังคับผู้ใช้ยาในระยะยาวให้เลิกยาโดยไม่ต้องการ[7]

การหยุดยาเร็วเกินไป การไม่อธิบาย การไม่ให้กำลังใจว่าเป็นอาการขาดยาที่ชั่วคราว อาจทำให้บางคนตื่นตระหนกหรือกลัวว่ากำลังเป็นบ้า โดยบางคนอาจเกิดอาการคล้ายกับความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)การค่อย ๆ ลดยาบวกกับการได้กำลังใจจากครอบครัว, เพื่อน และคนไข้อื่น ๆ ทำให้ได้ผลดีขึ้น[7][19]ตามงานทบทวนเป็นระบบแบบคอเคลนปี 2015 การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) กับการค่อย ๆ ลดยามีประสิทธิผลให้งดยาดีกว่าการค่อย ๆ ลดยาอย่างเดียวในระยะสั้น (ติดตามที่ 4 สัปดาห์และ 3 เดือนหลังรักษา) แต่ผลไม่คงยืนหลังจาก 6 เดือน[99]

ยา

แม้การให้ยาแทนดูเหมือนจะมีอนาคต แต่หลักฐานที่มีก็ไม่พอสนับสนุนให้ใช้[97]งานศึกษาบางงานพบว่า การแทนยาอย่างกะทันหันมีประสิทธิผลน้อยกว่าการค่อย ๆ ลดขนาดยา และมีงานศึกษาเพียง 3 งานที่พบประโยชน์ในการให้เมลาโทนิน[100],paroxetine (เป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSRI)[101],trazodone (เป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin antagonist and reuptake inhibitor) หรือ valproate (เป็นยาปกติเพื่อรักษาโรคชัก โรคอารมณ์สองขั้ว และเพื่อป้องกันไมเกรน)[102]บวกกับการค่อย ๆ ลดยา[97]

  • ยาระงับอาการทางจิตทั่วไปไร้ผลสำหรับอาการโรคจิตที่เนื่องกับการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[56][103] ควรเลี่ยงใช้ยาระงับอาการทางจิตเมื่อกำลังหยุดยาเพราะมักจะทำให้อาการขาดยาแย่ลง รวมทั้งการชัก[29][104][105][106] ยาระงับอาการทางจิตบางอย่างเสี่ยงสูงกว่าเมื่อกำหลังหยุดยาโดยเฉพาะ clozapine, olanzapine หรือยากลุ่ม phenothiazines (เช่น chlorpromazine) ที่มีฤทธิ์น้อย เพราะอาจทำให้ชักง่ายขึ้น (คือลดขีดเริ่มชัก) และทำให้อาการขาดยาแย่ลง ดังนั้นถ้าใช้ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง[107]
  • บาร์บิเชอริตอาจก่ออาการชินกับกันและกัน (cross tolerant) กับเบ็นโซไดอาเซพีนได้ จึงควรเลี่ยงโดยทั่ว ๆ ไป แต่ก็สามารถใช้บาร์บิเชอริตคือ เฟโนบาร์บิทอล (phenobarbital) ได้เพราะปลอดภัยโดยเปรียบเทียบ[108] ดูด้านล่าง
  • เบ็นโซไดอาเซพีนหรือยาที่ก่ออาการชินกับกันและกันควรหลีกเลี่ยงหลังจากเลิกใช้ยา ไม่เว้นแม้แต่การใช้เป็นครั้งเป็นคราว ซึ่งรวม Z-drugs ที่ไม่ใช่เบ็นโซไดอาเซพีน เพราะมีกลไกการทำงานเหมือนกัน ความชินกับเบ็นโซไดอาเซพีนพบว่ายังมีอยู่ใน 4 เดือนจนถึง 2 ปีหลังจากเลิกใช้ขึ้นอยู่กับสภาพชีวเคมีของบุคคล การได้เบ็นโซไดอาเซพีนอีกปกติจะมีผลให้ชินยาและเกิดอาการขาดยาอีก[109][110]
  • บูโพรพิออน ซึ่งใช้โดยหลักเป็นยาแก้ซึมเศร้าและช่วยงดสูบบุหรี่ ห้ามใช้ในบุคคลที่เกิดอาการขาดยาจากเบ็นโซไดอาเซพีนหรือสารระงับประสาท-สารทำให้นอนหลับอื่น ๆ (เช่น แอลกอฮอล์) เพราะเสี่ยงชักสูงขึ้น[111]
  • การให้เพิ่ม buspirone (ปกติเป็นยาแก้วิตกกังวล) ไม่พบว่าช่วยให้งดเบ็นโซไดอาเซพีนได้สำเร็จในอัตราสูงขึ้น[9]
  • กาเฟอีนอาจทำให้อาการขาดยาแย่ลงเพราะเป็นยากระตุ้น[7] งานศึกษาในสัตว์อย่างน้อยงานหนึ่งแสดงว่า การเฟอีนควบคุมจุดรับเบ็นโซไดอาเซพีนที่หน่วยรับโดยส่วนหนึ่ง และทำให้ชักง่ายขึ้น (ลดขีดเริ่มชัก)[112]
  • คาร์บามาเซพีนซึ่งเป็นยากันชักดูเหมือนจะมีผลเพื่อรักษาอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน แต่งานวิจัยก็จำกัด และดังนั้น ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญจึงยังไม่อาจแนะนำให้ใช้ในอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน[109]
  • เอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอลประเภทหลักในเครื่องดื่มมึนเมา แม้จะใช้ตั้งแต่เบา ๆ จนถึงปานกลาง พบว่าสามารถพยากรณ์การหยุดยาไม่ได้อย่างสำคัญ เพราะมันก่ออาการชินกับกันและกันกับเบ็นโซไดอาเซพีน[7][109][113]
  • ฟลูมาเซนิล (flumazenil) ซึ่งเป็นยากลุ่ม selective benzodiazepine receptor antagonist (สารปฏิปักษ์หน่วยรับเบ็นโซไดอาเซพีนอย่างเฉพาะเจาะจง) พบว่าช่วยกระตุ้นการคืนสภาพจากการชินยาแล้วทำให้หน่วยรับทำงานเป็นปกติ แต่ต้องวิจัยเป็นการทดลองแบบสุ่มเพื่อแสดงบทบาทในการรักษาอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน[114] เพราะฟลูมาเซนิลกระตุ้นการเพิ่มหน่วยรับและการคืนสภาพจากกระบวนการ uncoupling[upper-alpha 3] ของหน่วยรับเบ็นโซไดอาเซพีนจากหน่วยรับกาบาA และดังนั้น จึงกลับสภาพการชินยา ลดอาการขาดยา และลดอัตราการกลับไปติดยาอีก[115][116] แต่เพราะมีประสบการณ์และงานวิจัยที่จำกัดเทียบกับความเสี่ยง วิธีการรักษาด้วยฟลูมาเซนิลจึงยังสรุปไม่ได้และจะทำแต่ใน รพ. ที่หมอคอยดูแลอยู่เท่านั้น
ฟลูมาเซนิลพบว่าดีกว่ายาหลอกเพื่อลดความดุร้ายในคนไข้ที่เลิกยาเบ็นโซไดอาเซพีนเป็นเวลา 4-266 สัปดาห์แล้ว[117] ซึ่งแสดงนัยว่า ฟลูมาเซนิลอาจมีบทบาทในการรักษาอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีนแบบยืดเยื้อมีงานศึกษาปี 1992 ถึงผลของฟลูมาเซนิลต่ออาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีนที่ยืดเยื้อ ผู้ร่วมการทดลองเลิกใช้เบ็นโซไดอาเซพีนเป็นเวลาระหว่าง 1 เดือนถึง 5 ปี แต่ทั้งหมดรายงานว่ามีอาการขาดยาในระดับต่าง ๆ กันที่ยืดเยื้อ อาการรวมทั้งความคิดไม่แจ่มใส เหนื่อย อาการทางกล้ามเนื้อเช่นตึงคอ บุคลิกวิปลาส ตะคริว สั่น และปัญหาาการรับรู้ที่เฉพาะต่ออาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน คือ การรู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่ม ผิวไหม้ เจ็บ และความรู้สึกบิดเบือนเกี่ยวกับร่างกายที่เป็นอัตวิสัย การให้ฟลูมาเซนิลทางเส้นเลือดระหว่าง 0.2-2 ม.ก. พบว่าลดอาการเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้ยาหลอก นี่น่าสนใจเพราะสารปฏิปักษ์ต่อหน่วยรับเบ็นโซไดอาเซพีนเป็นยาที่ไม่มีผลทางคลินิก ผู้วิจัยเสนอว่า คำอธิบายที่เป็นไปได้มากสุด็คือการใช้เบ็นโซไดอาเซพีนในอดีตแล้วเกิดชินยา เป็นการล็อกโครงรูป (conformation) ของคอมเพล็กซ์หน่วยรับ GABA-BZD ให้อยู่ในรูปแบบ inverse agonist conformation และดังนั้นสารปฏิปักษ์คือฟลูมาเซนิลจึงแก้ให้หน่วยรับกลับมาเป็นเหมือนเดิม ในงานศึกษานี้ ฟลูมาเซนิลพบว่าเป็นวิธีการรักษาอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีนแบบยืดเยื้ออย่างมีประสิทธิผล แต่ก็ต้องทำงานวิจัยเพิ่มขึ้น[118] งานศึกษาปี 1997 ในประเทศสวีเดนพบผลเช่นกันในคนไข้ที่มีอาการขาดยาแบบยืดเยื้อ[39]ในปี 2007 บริษัทผลิตฟลูมาเซนิลคือฮอฟฟ์แมน-ลา โรชรับว่ามีกลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีนแบบยืดเยื้อ แต่ก็ไม่ได้แนะนำให้รักษาด้วยฟลูมาเซนิล[119]
  • ยาปฏิชีวนะ fluoroquinolone[120][121][122] พบว่าเพิ่มความชุกความเป็นพิษต่อระบบประสาทกลางจากร้อยละ 1 ในกลุ่มประชากรทั่วไปเป็นร้อยละ 4 ในกลุ่มประชากรที่ติดยาเบ็นโซไดอาเซพีนหรือที่กำลังเลิกยา นี่น่าจะเป็นเพราะฤทธิ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกาบาเพราะพบว่า มันเข้าไปแทนที่เบ็นโซไดอาเซพีนที่จุดยึดของเบ็นโซไดอาเซพีนกับหน่วยรับ ฤทธิ์ปฏิปักษ์เช่นนี้สามารถก่ออาการขาดยาอย่างรุนแรง ซึ่งคงยืนเป็นอาทิตย์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ ก่อนจะหายไป อาการรวมทั้งความซึมเศร้า, ความวิตกกังวล, อาการโรคจิต, หวาดระแวง, นอนไม่หลับอย่างรุนแรง, ความรู้สึกทางสัมผัสเพี้ยน[upper-alpha 1], มีเสียงในหู, ไวแสงและเสียง, สั่น, ชักแบบ status epilepticus[upper-alpha 4] ยาปฏิชีวนะแบบ fluoroquinolone ควรเป็นข้อห้ามใช้สำหรับคนที่ติดยาเบ็นโซไดอาเซพีนหรือกำลังเลิกยา[7][124][125][126][127] ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) มีฤทธิ์ปฏิปักษ์ต่อกาบาและงานวิจัยในสัตว์แสดงว่า อาจแทนที่เบ็นโซไดอาเซพีนที่จุดยึดของมันที่หน่วยรับ และการทานยา NSAID รวมกับ fluoroquinolone ก็เพิ่มฤทธิ์ปฏิปักษ์ต่อกาบา พิษของกาบา การชัก และผลไม่พึงประสงค์รุนแรงอื่น ๆ อย่างสำคัญ[128][129][130]
  • มีงานวิจัยทีใช้ยาแก้วิตกกังวล imidazenil (เป็นยาอนุพัทธ์ของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน) เพื่อรักษาอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ได้ใช้รักษา[131]
  • imipramine เป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant และพบว่าเพิ่มอัตราการเลิกยาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[9]
  • การเพิ่มเมลาโทนินพบว่า เพิ่มอัตราการเลิกยาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับคนที่นอนไม่หลับ[9]
  • เฟโนบาร์บิทอล (เป็นบาร์บิเชอริตประเภทหนึ่ง) ได้ใช้ใน "ศูนย์เลิกยา" หรือในแผนกคนไข้ภายในเพื่อป้องกันการชักเมื่อเลิกเบ็นโซไดอาเซพีนอย่างรวดเร็วหรืออย่างทันที คือจะให้เฟโนบาร์บิทอลแล้วหลังจากนั้นค่อย ๆ ลดเฟโนบาร์บิทอลในระยะ 1-2 อาทิตย์ โดยมักเลือกลดเฟโนบาร์บิทอลให้ช้ากว่านี้[24] ในงานศึกษาแบบเปรียบเทียบ การลดยาเบ็นโซไดอาเซพีนอย่างรวดเร็วพบว่าได้ผลดีกว่าการลดยาเฟโนบาร์บิทอลอย่างรวดเร็ว[132][133]
  • pregabalin (ปกติใช้รักษาโรคลมชัก ความเจ็บปวดเหตุโรคเส้นประสาท ไฟโบรไมอัลเจีย และโรควิตกกังวลแบบเป็นไปทั่ว) อาจช่วยลดความรุนแรงของอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[134] และลดความเสี่ยงการกลับไปติดยาอีก[135]
  • การให้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนพบว่า ไม่ได้ผลรักษาอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน[114]
  • โพรพาโนลอล (ซึ่งปกติใช้รักษาความดันโลหิตสูง) ไม่พบว่าเพิ่มอัตราการหยุดยาได้อย่างสำเร็จ[9]
  • ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSRI พบว่า มีประโยชน์น้อยมากเพื่อรักษาอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[136]
  • trazodone (ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม serotonin antagonist and reuptake inhibitor) ไม่พบว่าเพิ่มอัตราการหยุดยาได้อย่างสำเร็จ[9]

การรักษาใน รพ.

การเข้ารักษาในแผนกคนไข้ภายในในสถานพยาบาลเพื่อเลิกยาอาจไม่สมควรสำหรับคนที่ชินยาหรือติดยาเมื่อกินยาตามแพทย์สั่ง เทียบกับที่ใช้เป็นยาเสพติดเพราะการส่งต่อให้เป็นผู้ป่วยภายในเช่นนี้อาจก่อความบอบช้ำทางจิตใจสำหรับผู้ไม่ได้เสพเป็นยาเสพติด[24]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน http://thebrain.mcgill.ca/flash/a/a_01/a_01_m/a_01... http://us.gsk.com/products/assets/us_wellbutrinXL.... http://www.rocheusa.com/products/romazicon/pi.pdf http://archive.wikiwix.com/cache/20110915105636/ht... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10220122 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/103443 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10418790 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10512781 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10591888 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10623971