กลุ่มอาการดาวน์
กลุ่มอาการดาวน์

กลุ่มอาการดาวน์

กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (อังกฤษ: Down syndrome) เป็นโรคพันธุกรรมที่ที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน[2] ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง[1] ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก[7]สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า แฝดสามของโครโมโซม (trisomy) 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า การสับเปลี่ยนของโครโมโซม (translocation) คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคน ๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า โมเซอิค (mosaic)ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งขณะตั้งครรภ์ผ่านการคัดกรองขณะตั้งครรภ์และตามด้วยการตรวจวินิจฉัยยืนยัน หรือวินิจฉัยได้หลังคลอดผ่านการตรวจร่างกายและการตรวจพันธุกรรม ในปัจจุบันเมื่อมีการตรวจคัดกรองแพร่หลาย ผู้ตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งเลือกยุติการตั้งครรภ์เมื่อตรวจพบภาวะนี้[11][12] ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ควรได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพเป็นระยะตลอดชีวิตผู้ป่วยสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ผ่านการศึกษาและการดูแลที่เหมาะสม[5] หลายคนสามารถเข้าโรงเรียนและเรียนในชั้นเรียนปกติได้ บางรายอาจต้องได้รับการศึกษาพิเศษ[6] บางรายจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย และจำนวนหนึ่งเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้[13] ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์วัยผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริการ้อยละ 20 ทำงานและมีรายได้ในระดับหนึ่ง[14] แม้หลายคนจะจำเป็นต้องได้รับการจัดสถานที่ทำงานเป็นพิเศษ[6] หลายรายจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินและทางกฎหมาย[8] อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ที่ 50-60 ปี ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม[7][8]กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในมนุษย์[7] โดยพบในทารกแรกเกิดมีชีวิตถึง 1 ใน 1000 คน[1] เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 36,000 ราย ใน ค.ศ. 2013 (ลดลงจาก 43,000 ราย เมื่อ ค.ศ. 1990)[15] ชื่อนี้ตั้งตาม จอห์น แลงดอน ดาวน์ แพทย์ชาวอังกฤษซึ่งได้บรรยายลักษณะของภาวะนี้เอาไว้เมื่อ ค.ศ. 1866[16] อย่างไรก็ดีรายละเอียดบางอย่างของภาวะนี้เคยได้รับการบรรยายไว้ก่อนแล้วเมื่อ ค.ศ. 1838 โดย Jean-Étienne Dominique Esquirol และเมื่อ ค.ศ. 1844 โดย Édouard Séguin[17] ในขณะที่สาเหตุทางพันธุกรรมของภาวะนี้ (การมีโครโมโซม 21 เกินมา) ได้รับการค้นพบโดยคณะนักวิจัยชาวฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1959[16]

กลุ่มอาการดาวน์

อาการ พัฒนาการล่าช้า, ใบหน้ามีลักษณะเฉพาะ, สติปัญญาบกพร่องเล็กน้อยถึงปานกลาง[1]
สาขาวิชา เวชพันธุศาสตร์, กุมารเวชศาสตร์
ความชุก 5.4 ล้านคน (0.1%)[1][9]
สาเหตุ การมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ชุด[2]
วิธีวินิจฉัย การตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์, การตรวจพันธุกรรม[4]
ปัจจัยเสี่ยง มารดามีอายุมาก[3]
การรักษา การสนับสนุนทางการศึกษา, การช่วยเหลือด้านอาชีพ[5][6], รักษาภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วม
การเสียชีวิต 26,500 (2015)[10]
ชื่ออื่น Down's syndrome, Down's, trisomy 21
พยากรณ์โรค อายุขัย 50 - 60 ปี (ในประเทศที่พัฒนาแล้ว)[7][8]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการดาวน์ http://books.google.ca/books?id=0Y20AQAAQBAJ&lpg=P... http://books.google.ca/books?id=47fckyBY2XwC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=6SzKSM1t9MYC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=7n-tu1Q7jBsC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=BJf2JgWbYoYC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=F_7QXO0ZBigC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=KSwLAAAAQBAJ&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=LlR5jdVkm8kC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=NudwnhxY8kYC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=WSUMZ5ECEbMC&pg=PA...