กลุ่มอาการสำรอก
กลุ่มอาการสำรอก

กลุ่มอาการสำรอก

กลุ่มอาการสำรอก[1](อังกฤษ: Rumination syndrome, Merycism)เป็นความผิดปกติทางการหดเกร็ง/การเคลื่อนไหวเอง (motility) ของกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังที่แพทย์ยังวินิจฉัยไม่ค่อยถูก มีอาการสำรอกอาหารออกโดยไม่ต้องพยายามเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบ ๆ ท้องอย่างไม่ได้ตั้งใจ[2]และจะไม่มีอาการเหมือนกับเมื่ออาเจียนรวมทั้งขย้อนแบบจะอาเจียน คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก มีกลิ่นโดยเฉพาะของอาเจียน และปวดท้อง โรคนี้ในอดีตได้บันทึกไว้ว่าเกิดเพียงแค่กับทารก เด็กเล็ก ๆ และคนที่มีปัญหาทางสติปัญญา/ประชาน (อาการมีความชุกสูงถึง 10% ในคนไข้โรคจิตที่อยู่ประจำในโรงพยาบาล)แต่ปัจจุบัน ก็เป็นอาการที่วินิจฉัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่นอกจากอาการนี้ก็ปกติดี ถึงกระนั้น ทั้งแพทย์ คนไข้ และสาธารณชนโดยทั่วไปก็ยังไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยเข้าใจว่ามีอาการเช่นนี้อาการนี้ปรากฏได้หลายอย่าง โดยอาจต่างกันมากระหว่างคนไข้ผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัญหาทางจิตกับทารกหรือเด็กที่มีปัญหาทางจิตเหมือนกับโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ อาการอาจมีผลลบต่อชีวิตและการเข้าสังคมของบุคคลเป็นอาการที่สัมพันธ์กับความซึมเศร้ามีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับอาการนี้ในบุคคลที่มีสุขภาพปกติโดยทั่วไปเพราะคนไข้โดยมากไม่เปิดเผยว่ามีอาการและบ่อยครั้งถูกวินิจฉัยผิดเพราะมีอาการต่าง ๆ กัน และมีความคล้ายคลึงกับโรคหลอดอาหารและกระเพาะอื่น ๆ เช่น อัมพฤษ์กระเพาะ (gastroparesis) และโรคกินแล้วขับออก (bulimia nervosa)อาการรวมทั้งแผลในหลอดอาหารและฟันกร่อน/ผุเนื่องจากกรดจากระเพาะอาหาร, ลมหายใจเหม็น, ทุพโภชนาการ, น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว และความอยากอาหารอย่างไม่เลิกบุคคลอาจขย้อนออกเพียงไม่กี่นาทีหลังจากการทานอาหาร โดยวงจรการทานและการขย้อนออกอาจเลียนสภาพของการทานอาหารอย่างรีบ ๆ แล้วขับออกเหมือนกับโรคกินแล้วขับออกการวินิจฉัยของอาการนี้ไม่ต้องอาศัยการตรวจที่เจ็บ เพราะจะขึ้นอยู่กับประวัติของคนไข้และการรักษาดูจะมีอนาคต เพราะคนไข้อาจถึง 85% ตอบสนองต่อการรักษา รวมทั้งทารกและผู้พิการทางจิต

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการสำรอก http://www.diseasesdatabase.com/ddb34255.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=307.... http://openurl.ingenta.com/content?genre=article&i... http://www.labmeeting.com/paper/8505339/fox-2006-a... http://emedicine.medscape.com/article/916297-overv... http://resources.metapress.com/pdf-preview.axd?cod... http://www.nature.com/ajg/journal/v101/n11/full/aj... http://www.webmd.com/mental-health/rumination-diso... http://jdc.jefferson.edu/cgi/viewcontent.cgi?artic... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1502216