พยาธิสรีรวิทยา ของ กลุ่มอาการสำรอก

กลุ่มอาการนี้เป็นความผิดปกติที่มีความเข้าใจน้อยมาก แต่ก็มีทฤษฎีจำนวนหนึ่งที่ได้สันนิษฐานกลไกของอาการขย้อนที่จำเพาะต่อความผิดปกตินี้[4]แม้จะยังไม่มีความเห็นพ้องในทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง แต่ก็มีทฤษฎีบางทฤษฎีที่ได้รับความสนใจและกล่าวถึงในวรรณกรรมมากกว่าเพื่อน[3]กลไกที่กล่าวถึงมากที่สุดก็คือการทานอาหารทำให้กระเพาะอาหารขยายออก ซึ่งตามมาด้วยการบีบกดท้องและการคลายตัวของหูรูหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) พร้อม ๆ กันซึ่งก็จะทำให้อาหารวิ่งเข้าไปในช่องว่าง ๆ ระหว่างกระเพาะกับคอหอยหลังช่องปากจนกลับไปถึงปากโดยมีคำอธิบายหลายอย่างว่าทำไมหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างจึงคลายตัว[10]

คำอธิบายอย่างหนึ่งก็คือเป็นการคลายตัวอย่างตั้งใจที่ได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องสามัญของคนไข้ที่เป็นหรือเคยเป็นโรคทานแล้วขับออกแม้การคลายตัวนี้จะเป็นเรื่องตั้งใจ แต่กระบวนการขย้อนออกโดยรวม ๆ ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจการคลายตัวเนื่องจากแรงดันภายในท้องเป็นคำอธิบายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดการบีบอัดในท้องเป็นกลไกหลักกลไกที่เสนออย่างที่สามเป็นเรื่องเกี่ยวกับรีเฟล็กซ์การเรอ นี่เป็นกลไกที่กล่าวถึงในวรรณกรรมมากที่สุดคือ การกลืนอากาศเข้าไปก่อนหน้าที่จะขย้อนออก ก่อรีเฟล็กซ์การเรอซึ่งจุดชนวนการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหาร คนไข้บ่อยครั้งกล่าวถึงความรู้สึกเหมือนกับจะเรอก่อนจะขย้อนอาหารออก[3]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการสำรอก http://www.diseasesdatabase.com/ddb34255.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=307.... http://openurl.ingenta.com/content?genre=article&i... http://www.labmeeting.com/paper/8505339/fox-2006-a... http://emedicine.medscape.com/article/916297-overv... http://resources.metapress.com/pdf-preview.axd?cod... http://www.nature.com/ajg/journal/v101/n11/full/aj... http://www.webmd.com/mental-health/rumination-diso... http://jdc.jefferson.edu/cgi/viewcontent.cgi?artic... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1502216