กะหล่ำดอกเจดีย์
กะหล่ำดอกเจดีย์

กะหล่ำดอกเจดีย์

กะหล่ำดอกเจดีย์ หรือ กะหล่ำเจดีย์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica oleracea var. Botrytis) คือกะหล่ำดอกอิตาลีพันธุ์หนึ่ง (ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่ว่าเป็นลูกผสมระหว่างกะหล่ำดอกกับบรอกโคลี) เมื่อเทียบกับกะหล่ำดอกแบบดั้งเดิม กะหล่ำพันธุ์นี้จะมีเนื้อสัมผัสแน่นกว่าและมีรสชาติละเอียดอ่อนกว่า แม้จะมีกะหล่ำดอกสีม่วงและสีเหลือง แต่ก็ไม่มีกะหล่ำดอกพันธุ์ใดที่มีรูปทรงเฉพาะตัวอย่างกะหล่ำดอกเจดีย์[1]เริ่มมีการเพาะปลูกกะหล่ำดอกเจดีย์ในยุโรปอย่างน้อยตั้งแต่สมัยใหม่ตอนปลายซึ่งอาจจะเป็นที่อิตาลีในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อ ค.ศ. 1834 จูเซปเป โจอากีโน เบลลี กวีชาวอิตาลี กล่าวถึงผักชนิดนี้ในบทกวีบทหนึ่งเป็นภาษาอิตาลีถิ่นโรม (คนละภาษากับภาษาอิตาลีมาตรฐาน) จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกกะหล่ำพันธุ์นี้ว่า กะหล่ำดอกโรม หรือ บรอกโคลีโรม (อิตาลี: broccolo romanesco)[2]เช่นเดียวกับผักชนิดอื่น ๆ ในวงศ์ผักกาด กะหล่ำดอกเจดีย์อุดมไปด้วยใยอาหารชนิดละลายน้ำและสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามินซี วิตามินเค โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส กรดโฟลิก แคโรทีนอยด์ เป็นต้น[3] นิยมนำมารับประทานโดยต้มหรือนึ่งจนสุก แต่อาจรับประทานเป็นผักสดก็ได้[1]ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของกะหล่ำดอกเจดีย์คือกระจุกดอกที่แตกตัวออกเป็นสาทิสรูป (แฟร็กทัล) จำนวนตาดอกที่ประกอบกันเป็นช่อดอกนั้นเป็นจำนวนฟีโบนัชชี[4] ผลการศึกษาล่าสุดชิ้นหนึ่งได้อธิบายถึงต้นกำเนิดทางพันธุกรรมของกะหล่ำพันธุ์นี้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่ารูปลักษณ์และคุณสมบัติสาทิสรูปดังกล่าวน่าจะเกิดจากการถูกรบกวนภายในเครือข่ายควบคุมการแสดงออกของยีนที่รับผิดชอบการออกดอก ทำให้เนื้อเยื่อเจริญพัฒนาไปเป็นดอกไม่สำเร็จ แต่ก็ยังพยายามแตกตัวเป็นดอกต่อไปเรื่อย ๆ ในรูปแบบคล้ายตนเอง[5][6]

กะหล่ำดอกเจดีย์

กลุ่มพันธุ์ปลูก Botrytis
ชนิด Brassica oleracea

แหล่งที่มา

WikiPedia: กะหล่ำดอกเจดีย์ http://theconversation.com/why-do-cauliflowers-loo... http://www.laregion.es/articulo/la-revista/romanes... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34244409 //doi.org/10.1126%2Fscience.abg5999 //www.worldcat.org/issn/0036-8075 http://www.maths.surrey.ac.uk/hosted-sites/R.Knott... https://sites.tufts.edu/nutrition/winter-2016/tuft... https://www.eldiariomontanes.es/planes/201704/02/r... https://web.archive.org/web/20181128225921/http://... https://science.sciencemag.org/content/373/6551/19...