บทนำ ของ การค้าเครื่องเทศ

การค้าขายเครื่องเทศจากอินเดียเป็นที่ดึงดูดของราชวงศ์ทอเลมีและต่อมาจักรวรรดิโรมัน

เครื่องเทศ เช่น อบเชย, ขี้เหล็ก, กระวาน, ขิง และขมิ้น เป็นที่รู้จักและใช้เป็นสินค้าในตะวันออกมาตั้งแต่ยุคโบราณ[1] เครื่องเทศเหล่านี้ได้รับการนำเข้าไปยังตะวันออกกลางตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช และแหล่งที่มาของเครื่องเทศก็เป็นเรื่องที่ปกปิดกันอย่างลึกลับในบรรดาหมู่พ่อค้า ผสมผเสด้วยเรื่องราวตำนานต่าง ๆ อันมหัศจรรย์อันเหลือเชื่อ[1] ชาวอียิปต์โบราณค้าขายในทะเลแดงโดยการซื้อเครื่องเทศจาก “ดินแดนแห่งชนพันท์” และจากคาบสมุทรอาหรับ[7] และสินค้าฟุ่มเฟือยตามเส้นทางการค้าเครื่องหอมรวมทั้งเครื่องเทศจากอินเดีย, ตะโก, ไหม และ ผ้าเนื้อดี[2]

การค้าขายเครื่องเทศมีความเกี่ยวข้องกับเส้นทางการค้าทางบกข้ามทวีปมาเป็นเวลานานก่อนที่เปลี่ยนมาเป็นการขนส่งทางทะเลที่เป็นการช่วยทำให้การค้าขายยิ่งขยายตัวออกไปมากยิ่งขึ้น[1] ราชวงศ์ทอเลมีก่อตั้งระบบการค้ากับอียิปต์โดยใช้เมืองท่าในทะเลแดง[8] หลังจากราชวงศ์ทอเลมีสิ้นอำนาจลง และเมื่อโรมันก่อตั้งโรมันอียิปต์ขึ้นเป็นจังหวัดของจักรวรรดิโรมันแล้ว โรมันก็เริ่มพัฒนาเส้นทางการค้าขายของสิ้นค้าที่ซื้อขายกันอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม[8] เริ่มตั้งแต่ปี 80 ก่อนคริสต์ศักราชอเล็กซานเดรียก็กลายมาเป็นศูนย์กลางที่มีอิทธิพลทางการค้าในการค้าเครื่องเทศจากอินเดียที่เข้ามายังโลกกรีก-โรมัน[1] โดยมีเรือสินค้าเทียวระหว่างอินเดียกับอียิปต์ การควบคุมเส้นทางการค้าไปยังเอเชียใต้มิได้อยู่ในมือของชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะ[9] แต่เป็นการควบคุมโดยระบบหลายระบบในการนำเครื่องเทศมายังเมืองท่าสำคัญของอินเดียที่คาลิคัต

“ประวัติศาสตร์แอฟริกาฉบับเคมบริดจ์” (ค.ศ. 1975) กล่าวว่า:[3]

การค้าขายเครื่องหอมและเครื่องเทศกับอาหรับและอินเดียกลายมามีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และกรีกก็เริ่มติดต่อค้าขายโดยตรงเป็นครั้งแรกกับอินเดีย การพบและการกลับมาพบของเส้นทางการค้าโดยตรงไปยังอินเดียเชื่อว่าพบโดยยูโดซัสแห่งไซซิคัส (Eudoxus of Cyzicus) ผู้ที่ถูกส่งตัวไปในการนี้โดยเฉพาะในรัชสมัยของทอเลมีที่ 8 ฟิสคอน (Ptolemy VIII Physcon) ยูโดซัสเดินทางไปอินเดียสองครั้ง แต่ต่อมาหลังจากที่เกิดความขัดแย้งกับเจ้านายทอเลมีแล้วยูโดซัสก็พยายามที่จะเปิดเส้นทางทางทะเลใหม่ไปยังอินเดียโดยการเดินทางรอบแอฟริกาเพื่อจะเลี่ยงการเดินทางที่จะต้องผ่านบริเวณที่ควบคุมโดยราชวงศ์ทอเลมีแต่มาเสียชีวิตเสียก่อน การติดต่อค้าขายโดยตรงระหว่างอียิปต์และอินเดียอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อำนาจของอาหรับอ่อนแอลงในช่วงระยะเวลานี้ ที่เห็นได้จากการล่มสลายของราชอาณาจักรชนซาเบอัน (Sabaean) ของอาหรับตะวันตกเฉียงใต้ ที่มาแทนด้วยราชอาณาจักรฮิมไมยาริท (Himyarite Kingdom) ราว 115 ปีก่อนคริสต์ศักราช การส่งอบเชยและเครื่องเทศอื่น ๆ เช่นพริกจากอียิปต์ทวีจำนวนขึ้นอย่างมหาศาล แต่การค้าขายโดยทางมหาสมุทรอินเดียก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเรือจากอียิปต์เพียงไม่เกินยี่สิบลำที่เดินทางไปจากทะเลแดงต่อปี

การค้าขายระหว่างอิเดียและกรีก-โรมันทวีตัวขึ้นเรื่อย ๆ[10] โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องเทศที่นำเข้าจากอินเดียไปยังโลกตะวันตก[11] และสูงกว่าสินค้าอื่นเช่นไหมและสินค้าอื่น ๆ[12]

ในเกาะชวาและเกาะบอร์เนียววัฒนธรรมอินเดียที่เผยแพร่เข้ามาก็ช่วยเพิ่มความต้องการสินค้าประเภทเครื่องหอมกันมากขึ้น[13] จุดค้าขายเหล่านี้ต่อมาก็กลายเป็นตลาดของจีนและอาหรับด้วย[13] เอกสารของกรีก “บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน“ (Periplus Maris Erythraei) ของคริสต์ศตวรรษที่ 1 บันทึกชื่อเมืองท่าอินเดียหลายเมืองที่เรือใหญ่เดินทางไปยังตะวันออกไปยัง “Khruse“[14]

พ่อค้ามักกะหฺก่อนสมัยอิสลามก็ใช้เส้นทางการค้าเครื่องหอมในการขนสิ้นค้าประเภทฟุ่มเฟือยที่เป็นที่ต้องการของโรมัน[15] การค้าขายของพ่อค้ามักกะหฺเป็นการส่งออกของสินค้าเช่นกำยานจากอาหรับ, งาช้างและทองจากแอฟริกาตะวันออก, เครื่องเทศจากอินเดีย และไหมจากเมืองจีน[15]

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้นหาแบบทวิภาค การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก