ยุคกลาง ของ การค้าเครื่องเทศ

ภาพคาลิคัตในอินเดียจาก “แผนที่เมือง” (Civitates orbis terrarum) ที่เขียนโดยจอร์จ บราวน์ และฟรันส โฮเกนแบร์กจากปี ค.ศ. 1572

การติดต่อค้าขายของอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับพ่อค้าอาหรับและเปอร์เซีย‎ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8[13]อับบาซียะห์ใช้อเล็กซานเดรีย, ดามิยัตตา, เอเดน และซิราฟ ในการเป็นเมืองท่าไปยังอินเดียและจีน[16] พ่อค้าที่มาจากอินเดียยังเมืองท่าเอเดนต้องจ่ายบรรณาการด้วยชะมด, การบูร, อำพันทะเลและไม้จันทน์แก่อุบัยด-อัลลอฮ์ อิบุน ซิยัด ( عبيد الله بن زياد‎ - Ubayd-Allah ibn Ziyad) สุลต่านแห่งเยเมน[16]

สินค้าจากโมลุกกะได้รับการขนส่งข้ามเมืองท่าของอาหรับไปยังตะวันออกไกล้โดยผ่านทางเมืองท่าของอินเดียและศรีลังกา[17] เมื่อเครื่องเทศมาถึงเมืองท่าในอินเดียหรือศรีลังกา บางครั้งก็ได้รับการส่งต่อไปยังแอฟริกาตะวันออกเพื่อใช้ในจุดประสงค์หลายอย่างที่รวมทั้งประเพณีการทำศพ[17]

เครื่องเทศที่เป็นสินค้าขาออกของอินเดียได้รับการกล่าวถึงในงานเขียนของอิบุน คูร์ดาห์เบห์ (Ibn Khurdadhbeh) (ค.ศ. 850), อัล-กาฟิคิ (ค.ศ. 1150), อิสหัค บิน อิมาราน (Ishak bin Imaran) (ค.ศ. 907) และ อัล คาลคาชานดิ (คริสต์ศตวรรษที่ 14)[17] พระภิกษุนักเดินทางชาวจีนพระถังซัมจั๋งกล่าวถึงเมืองพูรี (Puri) ว่าเป็นเมืองที่ “พ่อค้าเดินทางไปยังบ้านเมืองต่าง ๆ ที่ไกลออกไป”[18]

ชื่อหมู่เกาะโมลุกกะปรากฏในเอกสารหลายฉบับในชื่อ “Meluza” บ้าง “Melucha” บ้าง ที่เขียนโดยสมาชิกของกลุ่มผู้สำรวจบราซิล-อินเดียภายใต้การนำของเปดรู อัลวารึช กาบรัล,[19] อเมริโก เวสปุชชีกล่าวถึง “Meluche” ในจดหมายถึงลอเรนโซ เดอ เมดิชิ (ค.ศ. ]1501),[19] พงศาวดารชวาที่เขียนในปี ค.ศ. 1365 กล่าวถึงโมลุกกะ และ “Maloko”,[20] และงานบันทึกการเดินเรือของคริสต์ศตวรรษที่ 14 และคริสต์ศตวรรษที่ 15 กล่าวถึงข้ออ้างอิงของหมู่เกาะโมลุกกะของอาหรับอย่างแน่นอน[20] สุลัยมา อัล-มาห์รเขียน: “ทางตะวันออกของติมอร์ที่เป็นที่พบไม้จันทน์เป็นที่ตั้งของ “หมู่เกาะบันดัม” ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่เป็นแหล่งของลูกจันทน์เทศและดอกจันทน์เทศ หมู่เกาะที่มีกานพลูเรียกว่า “Maluku”.....”[20]

โรมมีบทบาทในการค้าขายเครื่องเทศอยู่ระยะหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 5 แต่ไม่นานเช่นอาหรับที่ดำเนินต่อมาจนถึงยุคกลาง[1] สาธารณรัฐเวนิสกลายมามีบทบาทสำคัญอย่างไม่มีผู้ใดเทียบได้และกุญแจสำคัญของการค้าขายเครื่องเทศกับทางตะวันออก[1] มหาอำนาจอื่น ๆ พยายามลดความสำคัญของเวนิสในเอกสิทธิ์นี้โดยการเริ่มสร้างเสริมอำนาจทางทะเล[1]

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้นหาแบบทวิภาค การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก