เหตุ ของ การทำให้เป็นประชาธิปไตย

มีเรื่องถกเถียงไม่ใช่น้อยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล โดยที่สุดที่จำกัดการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยปัจจัยมากมายรวมทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ล้วนอ้างว่ามีผลต่อกระบวนการโดยที่อ้างบ่อยมากที่สุดจะกล่าวในหัวข้อต่อ ๆ ไป

ความร่ำรวย

การมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อประชากรที่สูงกว่า สัมพันธ์กับประชาธิปไตย โดยบางคนอ้างว่า รัฐประชาธิปไตยซึ่งรวยที่สุดไม่เคยปรากฏว่าตกอยู่ใต้ลัทธิอำนาจนิยม[2]แต่การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์และพรรคนาซีในสาธารณรัฐไวมาร์ ก็เป็นตัวอย่างคัดค้านที่ชัดเจน แม้ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 เยอรมนีจะมีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า แต่ในเวลาที่ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ ประเทศก็กำลังเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งได้แย่ลงเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ยังมีข้อสังเกตทั่วไปว่า ประชาธิปไตยเกิดก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมน้อยมากงานวิจัยเชิงหลักฐานจึงทำให้นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจถ้าไม่เพิ่มโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิไปตย ก็จะช่วยประชาธิปไตยที่เกิดใหม่ให้มั่นคงยิ่งขึ้น[2][3]

งานศึกษาหนึ่งพบว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจจะกระตุ้นให้เปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยแต่ต้องเป็นระยะเวลาปานกลาง คือ 10-20 ปีเพราะแม้พัฒนาการอาจสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้นำที่อยู่ในอำนาจ แต่การจะให้ลูกหรือคนเชื่อใจอื่นสืบทอดอำนาจต่อไปก็เป็นเรื่องยาก[4]

ถึงกระนั้น การถกเถียงว่า ประชาธิปไตยเป็นผลของความร่ำรวย เป็นเหตุ หรือไม่สัมพันธ์กัน ก็ยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ[5]งานศึกษาอีกงานหนึ่งแสดงว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศเพื่อจะมีผลโปรโหมตประชาธิปไตยได้[6]

นักวิชาการกลุ่มหนึ่งอธิบายว่า ไม่ใช่การเพิ่มความร่ำรวยในประเทศเองที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดจากความร่ำรวยโดยมีนักวิชาการอื่น ๆ ที่อ้างว่า ความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเป็นเหตุหลัก ๆ ที่ประเทศยุโรปกลายเป็นประชาธิปไตย

เมื่อโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เพราะความก้าวหน้าทำให้เกษตรกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อใช้ในการผลิตและการบริการยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอังกฤษ สมาชิกของพวกผู้ดีได้ลงทุนในกิจการค้ามากขึ้น ทำให้พวกตนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศมากขึ้นกิจกรรมเยี่ยงนี้จะมาพร้อมกับอำนาจทางเศรษฐกิจ เพราะทรัพย์สมบัตินับได้ยากขึ้น ดังนั้น รัฐจึงหักภาษีได้ยากขึ้นเพราะเหตุนี้ การปล้นสะดมทรัพย์ตรง ๆ จึงเป็นไปไม่ได้ และดังนั้น รัฐจึงต้องต่อรองกับอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจรุ่นใหม่เพื่อจะหารายได้ข้อตกลงแบบยั่งยืนกลายเป็นเรื่องจำเป็น เพราะรัฐต้องอาศัยประชาชนที่ยังคงความจงรักภักดี ดังนั้น ประชาชนจึงได้อำนาจแสดงเสียงในกระบวนการตัดสินใจของประเทศ[7]

ความเท่าเทียมกันทางสังคม

นักวิชาการคู่หนึ่งอ้างว่า ความสัมพันธ์ของความเท่าเทียมกันทางสังคมกับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องซับซ้อน ประชาชนจะมีแรงจูงใจเพื่อกบฏน้อยกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยก็จะมีโอกาสน้อยกว่าเทียบกับสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันแบบสุดโต่ง (เช่น แอฟริกาใต้ภายใต้ระบบการถือผิว) การจัดสรรปันส่วนของทั้งความมั่งคั่งและอำนาจภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจะเป็นผลร้ายต่ออภิสิทธิชน พวกเขาจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนในประเทศที่อยู่ตรงกลาง ๆ ที่ไม่สุดโต่ง การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะมีโอกาสสูงกว่า โดยอภิสิทธิชนจะยอมให้เพราะ (1) พิจารณาว่าการกบฏอาจเป็นไปได้ (2) ราคาของการยินยอมไม่สูงเกินไป[8]ความคาดหวังเช่นนี้เข้ากับหลักฐานการทดลองที่แสดงว่า ประชาธิปไตยจะเสถียรภาพกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน[2]

วัฒนธรรม

มีผู้ที่อ้างว่า วัฒนธรรมบางอย่างเข้ากับค่านิยมประชาธิปไตยได้มากกว่าซึ่งอาจเป็นมุมมองแบบชาติพันธุ์นิยมเพราะปกติแล้ว จะอ้างว่าวัฒนธรรมตะวันตก "เข้าได้ดีที่สุด" กับประชาธิปไตย และอ้างวัฒนธรรมอื่นว่า มีค่านิยมที่ทำให้ประชาธิปไตยเป็นเรื่องยากหรือเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาเป็นข้ออ้างที่บางครั้งใช้โดยระบอบการปกครองอื่น ๆ เพื่อแก้ต่างความล้มเหลวในการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยแต่ในปัจจุบัน มีรัฐประชาธิปไตยที่ไม่ใช่คนตะวันตกมากมายรวมทั้งอินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย นามิเบีย บอตสวานา ไต้หวัน และเกาหลีใต้มีงานวิจัยที่พบว่า "ผู้นำที่ได้การศึกษาในประเทศตะวันตกจะเพิ่มโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยอย่างสำคัญ"[9]

ค่านิยมของสังคม

มีนักวิชาการที่อ้างว่า มีลักษณะบางอย่างที่ทำให้สังคมมีโอกาสมีวัฒนธรรมการทำงานเพื่อส่วนรวมมากกว่า และทำให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมสูงกว่าคือชุมชนที่มีเครือข่ายองค์กรพลเมืองที่ช่วยปรับปรุงดูแลละแวกบ้าน ที่มีโครงสร้างเป็น "แนวนอน" คือมีสมาชิกมีฐานะ/อิทธิพลเท่าเทียมกัน จะช่วยสร้าง "ความเชื่อใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง" ได้ดีกว่า ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย และจะเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเทียบกับเครือข่ายที่มีโครงสร้างเป็นแนวตั้ง คือมีการจัดตำแหน่งการงานเป็นชั้น ๆ หรือที่มีความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์-ผู้พึ่งพา ซึ่งก็จะมีโอกาสสร้างวัฒนกรรมการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่จำเป็นในการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า[10]

กลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

นักวิชาการอีกคนหนึ่งคาดว่า การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นเมื่ออภิสิทธิชนไม่สามารถคืนรูประบอบอัตตาธิปไตยได้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีกลุ่มอำนาจต่าง ๆ อยู่ร่วมกันในเขตภูมิภาคหนึ่ง ๆ อันทำให้อภิสิทธิชนจำเป็นต้องสร้างสถาบันประชาธิปไตยและสถาบันตัวแทนเพื่อควบคุมเขตนั้น และเพื่อจำกัดอิทธิพลของกลุ่มอภิสิทธิชนผู้เป็นคู่แข่ง[11]

การแทรกแซงจากประเทศอื่น

ประชาธิปไตยบางครั้งเกิดเพราะการแทรกแซงทางทหารของประเทศอื่น ดังที่เกิดในญี่ปุ่นและเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2[12][13]อิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมบางครั้งก็อำนวยให้ก่อตั้งประชาธิปไตย ที่ต่อมาไม่นานก็ถูกแทนที่ด้วยระบอบอำนาจนิยมตัวอย่างเช่น ซีเรียหลังจากได้อิสรภาพจากอาณัติของฝรั่งเศสเมื่อต้นสงครามเย็น ไม่ได้ทำประชาธิปไตยให้มั่นคงแล้วในที่สุดก็ล้มและถูกแทนที่ด้วยระบอบเผด็จการของพรรคบะอัธ[14]

การศึกษา

มีทฤษฎีมานานแล้วว่า การศึกษาจะช่วยโปรโหมตสังคมประชาธิปไตยที่มั่นคง[15]งานวิจัยแสดงว่า การศึกษาทำให้ยอมรับความแตกต่างทางการเมืองได้มากกว่า เพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วม และลดความไม่เท่าเทียมกัน[16]งานวิจัยหนึ่งพบว่า "การเพิ่มระดับการศึกษาจะเพิ่มระดับประชาธิปไตย โดยผลของการศึกษาต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะมีพลังยิ่งกว่าในประเทศยากจน"[16]

การค้าขายระหว่างประเทศ

งานศึกษาปี 2559 พบว่า ความตกลงค้าขายแบบบุริมสิทธิ (PTA)"กระตุ้นให้ประเทศเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะถ้าคู่ความตกลงก็เป็นรัฐประชาธิปไตยเองด้วย"[17]

การร่วมมือระหว่างประเทศ

งานศึกษาปี 2545 พบว่า การเป็นสมาชิกในองค์กรนานาชาติ "สัมพันธ์กับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในช่วงปี 2493-2535"[18]

รูปแบบระบอบเผด็จการ

ระบอบเผด็จการสามอย่าง คือ ราชาธิปไตย เผด็จการพลเรือน และเผด็จการทหาร จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยโดยต่างกันเพราะมีเป้าหมายต่างกันเผด็จการของพระราชาและพลเรือนต้องการอยู่ในอำนาจอย่างไม่มีกำหนด ผ่านการสืบทอดพระราชวงศ์สำหรับพระราชาและการกดขี่ศัตรูสำหรับเผด็จการพลเรือนส่วนเผด็จการทหารจะยึดอำนาจแล้วปฏิบัติการเป็นรัฐบาลรักษาการ เพื่อทดแทนรัฐบาลพลเรือนที่พิจารณาว่าบกพร่องเผด็จการทหารมีโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากกว่า เพราะตั้งแต่เริ่มก็หมายเป็นแค่การแก้ปัญหาชั่วคราวในขณะที่กำลังตั้งรัฐบาลที่ยอมรับได้ใหม่[19][20][21]

การประท้วงเพื่อประชาธิปไตย

การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยสัมพันธ์กับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยงานวิจัยปี 2559 พบว่า กรณี 1 ใน 4 ของการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยระหว่างปี 2532-2554 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย[22]

ภัยสงครามเมือง

งานวิจัยแสดงว่า ภัยสงครามเมืองกระตุ้นให้ผู้ปกครองยอมเปลี่ยนแปลงไปในทางประชาธิปไตยงานศึกษาปี 2559 พบว่า การจลาจลเหตุความแห้งแล้งในแอฟริกาใต้สะฮาราทำให้ผู้ปกครองเกรงสงครามการเมือง แล้วยอมรับความเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย[23]

การก่อสงคราม

ในบทความที่ได้รับความยกย่องชื่อว่า "สงครามและสภาพในแอฟริกา (War and the state in Africa)" นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันอธิบายว่า ประเทศในยุโรปเกิดขึ้นอาศัยการทำสงครามซึ่งเป็นเหตุที่ไม่มีอย่างหนึ่งในแอฟริกาปัจจุบันคือสงครามเป็นเหตุให้รัฐต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเก็บรายได้ บังคับให้ผู้นำต้องจัดระบบการบริหารปกครองให้ดีขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมที่ประชาชนจะรู้สึกสามัคคีกันดังที่พบในรัฐยุโรปที่เสี่ยงต่อการถูกรุกรานหรือเกิดสงครามอย่างฉับพลันกับประเทศเพื่อนบ้าน

การบังคับให้ระวังระไวเช่นนี้ทำให้เกิดพัฒนาการเก็บภาษีที่ดีขึ้น เพราะรัฐที่ไม่มีรายได้พอทำสงครามก็จะสูญเสียเอกราชสงครามยังสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันที่มีพลังระหว่างรัฐกับประชาชน เพราะประชาชนก็จะรู้สึกถึงภัยเหมือนกับรัฐ และต้องอาศัยประเทศเพื่อที่จะเจริญรุ่งเรืองได้การทำสงครามทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นส่วนของรัฐมากขึ้น[24]

การเปลี่ยนเป็นชุมชนเมือง

มีงานวิจัยที่แสดงว่า การเปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองมากขึ้นโดยวิธีต่าง ๆ ช่วยการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย[25]

ทรัพยากรธรรมชาติ

คำอธิบายหนึ่งสำหรับการกลับไปเป็นประชาธิปไตยของประเทศเอกวาดอร์ อันเป็นเหตุการณ์ที่ค้านความเห็นทั่วไปว่า รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติมักกระตุ้นให้เกิดรัฐบาลเผด็จการก็คือ มีสถานการณ์บางอย่างที่รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่นจากน้ำมัน จะลดความเสี่ยงที่นโยบายทางสังคมจะมีต่ออภิสิทธิชน เพราะรัฐมีรายได้อื่นเพื่อเป็นงบประมาณดำเนินการนโยบายสังคมโดยไม่เกี่ยวพันกับความมั่งคั่งหรือรายได้ของอภิสิทธิชน[26]และในประเทศที่มากไปด้วยความไม่เท่าเทียมกัน เช่นเอกวาดอร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ผลก็คือโอกาสการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะเพิ่มขึ้น[27]

รัฐประหารของทหารในเอกวาดอร์ปี 2515 มีเหตุโดยมากจากความเกรงกลัวของอภิสิทธิชนว่า จะมีการปรับกระจายรายได้[28]แต่ในปีเดียวกัน น้ำมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นของประเทศ[28]แม้รายได้ในช่วงแรกนั้นจะใช้เพื่องบประมาณทางทหาร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2522 ต่อมาได้ดำเนินขนานกับการเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของประเทศอีก[28]นักวิชาการจึงอ้างว่า การเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของเอกวาดอร์ มีเหตุจากการเพิ่มรายได้จากน้ำมันอย่างสำคัญ ซึ่งไม่เพียงเพิ่มงบประมาณของรัฐ แต่ยังลดความกลัวของอภิสิทธิชนว่า รายได้/ความมั่งคั่งของตนจะถูกปรับกระจายไปใช้เป็นงบประมาณของรัฐ[28]การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทำให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายเกี่ยวกับราคาสินค้าและสินจ้าง ที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยที่อภิสิทธิชนไม่มีผลกระทบ แล้วจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของสถาบันประชาธิปไตยต่าง ๆ[28]

ผู้ครองอำนาจเผด็จการ

การเสียชีวิตของผู้เผด็จการ น้อยครั้งที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยนักวิเคราะห์รายหนึ่งพบว่า "ในบรรดาผู้เผด็จการ 79 ท่านที่ได้เสียชีวิตในอำนาจ (พ.ศ. 2489-2557)ในกรณีโดยมาก (92%) ระบอบการปกครองก็ดำเนินต่อไปหลังจากการเสียชีวิต"[29]

ใกล้เคียง

การทำให้เป็นประชาธิปไตย การทำลายเขื่อนกาคอว์กา การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ การทำฝนเทียม การทำแผนที่ การทำให้ไว การทำฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง การทำเครื่องหมายกางเขน การทำลายล้างวัตถุระเบิด การทำลายป่า

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทำให้เป็นประชาธิปไตย http://www.amazon.com/Dawn-Brancati/e/B002FYDWAE/r... http://mocoloco.com/the-democratization-of-design/ http://jcr.sagepub.com/content/60/1/164 http://jcr.sagepub.com/content/60/4/694 http://jcr.sagepub.com/content/early/2015/07/29/00... http://rap.sagepub.com/content/2/4/205316801561336... http://ssrn.com/abstract=1319792 http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/ajps.12... http://www.uni-bielefeld.de/cias/wiki/d_Democratiz... http://projects.iq.harvard.edu/files/pegroup/files...