นโยบายการต่างประเทศของสมเด็จพระนารายณ์ ของ การปฏิวัติสยาม_พ.ศ._2231

ภาพวาดสมเด็จพระนารายณ์แห่งสยามในทัศนะของชาวฝรั่งเศส

รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นช่วงที่มีการต้อนรับคณะทูตต่างประเทศและส่งคณะทูตไปยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยมีประเทศสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ และวาติกัน นอกจากนี้ยังมีการสานความสัมพันธ์ทางการทูตต่อเปอร์เซีย อินเดีย และจีน ตลอดจนบรรดาอาณาจักรรอบข้างอีกด้วย สิ่งสำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่ อิทธิพลของชาวต่างชาติภายในราชสำนักสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวขึ้นสู่อำนาจของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) นักผจญภัยชาวกรีกผู้ดำรงตำแหน่งว่าที่สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ซึ่งเทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยปัจจุบัน

สมเด็จพระนารายณ์ทรงพยายามเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรฝรั่งเศสมากเป็นพิเศษ เพื่อถ่วงดุลอำนาจของชาวโปรตุเกสและชาวฮอลันดาที่มีต่อราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี[2] ทั้งนี้ ปรากฏหลักฐานว่าทั้งสองฝ่ายมีการส่งคณะทูตแลกเปลี่ยนกันหลายครั้ง[3][4]

ใกล้เคียง