การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ_แอมีนี
การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ_แอมีนี

การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ_แอมีนี

สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านการประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี (เปอร์เซีย: مهسا امینی) เป็นชุดการประท้วงและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศอิหร่านตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022 หลังการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี ระหว่างที่เธอถูกตำรวจคุมขัง กล่าวกันว่าเธอถูกสายตรวจศีลธรรมของอิหร่านทุบตีหลังจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดรูปแบบการสวมฮิญาบมาตรฐานตามกฎหมายในที่สาธารณะ[5] การประท้วงเริ่มต้นในเมืองใหญ่อย่างแซกเกซ, แซแนนแดจ, ดีวอนแดร์เร, บอเน และบีจอร์ในจังหวัดเคอร์ดิสถาน ต่อมาจึงได้กระจายไปตามเมืองใหญ่อื่น ๆ ในประเทศอิหร่าน รวมทั้งมีการชุมนุมชาวอิหร่านในอาศัยในต่างประเทศเช่น ทวีปยุโรป แคนาดา สหรัฐฯ ตุรกี รวมถึงในประเทศกรุงเตหะราน[6][7]ข้อมูลเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2022 (2022 -09-22)[update] มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 31 รายที่เสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ชุมนุม ถือเป็นการประท้วงที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019–2020 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1,500 ราย[1]นอกจากจะพยายามสลายการชุมนุมแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังจำกัดการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างอินสตาแกรมและวอตแซปส์ ไปจนถึงการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การจัดการประท้วงเป็นไปอย่างยากลำบาก ถือเป็นการจำกัดอินเทอร์เน็ตครั้งที่หนักที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019 ที่ตัดขาดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์[8]การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายสถานที่ราชการ, ฐานทัพของรัฐบาล, ศูนย์ศาสนา, เผารถตำรวจ ยังมีการฉีกทำลายป้ายโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอเมริกา, โปสเตอร์และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี โดยการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเตหะรานและมีการชุมนุมนักศึกษาในสถานศึกษาทั่วในประเทศเพื่อต้องการความยุติธรรม ต่อมาตำรวจควบุมฝูงชนได้เอาแก๊สน้ำตา รถควบคุมฝูงชน หนังสติ๊กยิง ทำให้กลุ่มผู้ชุนนุมได้รับบาดเจ็บกลุ่มสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยโดยอ้างเอกสารของทางการอิหร่านที่หลุดออกมาว่า อิหร่านมีคำสั่งให้กองกำลัง “จัดการอย่างรุนแรง” กับผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ออกมาประท้วงการเสียชีวิตของ มาห์ซา อะมินี ในระหว่างการถูกควบคุมตัวโดยตำรวจศีลธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานว่า กองกำลังของอิหร่านได้ใช้กำลังจนทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 52 คน ตั้งแต่เกิดการชุมนุมประท้วงเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการยิงกระสุนจริงเข้าใส่ฝูงชนและการทุบตีผู้ชุมนุมด้วยกระบองกองกำลังอิหร่านยังได้ทุบตีและถึงเนื้อถึงตัวผู้ชุมนุมที่เป็นผู้หญิง ที่ออกมาประท้วงโดยการถอดผ้าคลุมฮิญาบเพื่อประท้วงการปฏิบัติต่อสตรีของระบบการปกครองเทวาธิปไตยการเสียชีวิตของมาห์ซา อะมินี หลังจากที่เธอถูกควบคุมตัวด้วยข้อหาว่าเธอสวมใส่ฮิญาบที่หลวมเกินไปนั้น ได้ทำให้ชาวอิหร่านออกมาแสดงความโกรธแค้นอย่างมากต่อกลุ่มผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ครอบครัวของอะมินีเปิดเผยว่า พวกเขาได้รับแจ้งว่าอะมินีถูกทำร้ายจนเสียชีวิตในระหว่างการถูกควบคุมตัว แต่ตำรวจกล่าวว่าอะมินีในวัย 22 ปีเสียชีวิตเพราะอาการหัวใจวาย และปฏิเสธว่าไม่มีการทำร้ายร่างกายของเธอ ในขณะที่เจ้าหน้าที่อิหร่านกล่าวว่ากำลังสืบสวนสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงสาวผู้นี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าได้รับสำเนาเอกสารของรัฐบาลที่มีการเผยแพร่ออกมาแผยแพร่อย่างลับ ๆ โดยกล่าวว่า สำนักงานใหญ่ของกองกำลังอิหร่านได้ออกคำสั่งในวันที่ 21 กันยายน ให้ผู้บังคับบัญชา “จัดการอย่างรุนแรงกับพวกที่สร้างปัญหาและผู้ที่ต่อต้านการปฏิวัติอิหร่าน กลุ่มสิทธิมนุษยชนดังกล่าวยังระบุว่า เอกสารดังกล่าวทำให้มีการใช้กำลังจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในเย็นวันนั้น และทำให้มีผู้เสียชีวิตในคืนนั้นเพียงคืนเดียวอย่างน้อย 34 คน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังกล่าวด้วยว่า เอกสารทางการที่หลุดออกมาอีกฉบับหนึ่งยังแสดงให้เห็นว่า เพียง 2 วันถัดมาผู้บังคับบัญชาในเมือง มาซานดราน ยังได้สั่งให้กองกำลัง “จัดการกับผู้ชุมนุมอย่างไม่ต้องปราณี และสามารถเอาให้ถึงตาย โดยเฉพาะกับผู้ที่ก่อการจลาจลและผู้ที่ต่อต้านการปฏิวัติอิหร่าน” ซึ่งหมายถึงชาวอิหร่านที่ต่อต้านการปฏิวัติอิสลามใน ค.ศ. 1979 ที่ทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ นายแอกเนส คาลลามาร์ด เลขาธิการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ทางการอิหร่านตัดสินใจทำร้ายและฆ่าประชาชนที่ออกมาแสดงความโกรธเกรี้ยวจากการถูกกดขี่ข่มเหง และหมดความทนอยู่ภายใต้ความอยุติธรรมมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ” ก่อนหน้านี้ ผู้นำของอิหร่านกล่าวหาว่ามีหน่วยงานหรือองค์กรของต่างชาติที่มุ่งร้ายต่ออิหร่าน ที่ฉวยโอกาสนี้เพื่อสร้างความปั่นป่วนภายในประเทศ และกล่าวว่าผู้ที่ออกมาชุมนุมนั้นเป็นพวกก่อการจลาจล โดยกล่าวว่ากองกำลังของอิหร่านก็เสียชีวิตเช่นกัน[9]การประท้วงซึ่งแพร่กระจายไปยังหลายเมืองส่วนใหญ่ใน 31 จังหวัดของอิหร่าน สะท้อนถึงท่าทีผู้ชุมนุมที่ไม่หวาดกลัวคำเตือนจากทางการ โดยก่อนหน้านี้อิบราฮิม ไรซี ประธานาธิบดีอิหร่าน ประกาศจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มผู้ประท้วง ในขณะที่โกลัมฮอสเซน โมเซนี เอเจอี หัวหน้าฝ่ายตุลาการ ประกาศย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเด็ดขาดโดยไม่ผ่อนปรนกับผู้ยุยงให้เกิดการจลาจล ด้านสหภาพครูอิหร่านออกแถลงการณ์ผ่านโซเชียลมีเดีย เรียกร้องให้ครูและนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศหยุดการเรียนการสอนเพื่อประท้วง โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (26 กันยายน) ไปถึงวันพุธ (28 กันยายน) พร้อมเรียกร้องประชาชน สหภาพการค้า นักกีฬา ทหาร ทหารผ่านศึก ตำรวจ และเหล่าศิลปิน ร่วมการประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมทั้งนี้ รัฐบาลเตหะรานยังแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีของชาติตะวันตกและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่แทรกแซงและสนับสนุนการประท้วงในอิหร่าน ฮอสเซน อามีร์อับดุลลาฮีอาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน วิจารณ์สหรัฐฯ ว่าให้การสนับสนุนผู้ก่อจลาจล และพยายามบั่นทอนเสถียรภาพของอิหร่าน ซึ่งถือเป็นจุดยืนที่ขัดแย้งกับท่าทีของสหรัฐฯ ที่พยายามเรียกร้องเสถียรภาพในภูมิภาค และฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้เรียกเอกอัครราชทูตอังกฤษเข้าพบ เพื่อประท้วงการรายงานข่าวในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรของสื่อภาษาเปอร์เซียในลอนดอน ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษยืนยันว่าพวกเขาปกป้องเสรีภาพสื่อ และประณาม ‘การปราบปรามผู้ประท้วง นักศึกษา นักข่าว และเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตของอิหร่าน’ เช่นเดียวกับเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ที่ถูกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านเรียกพบ เพื่อขอคำอธิบายต่อท่าทีในการแทรกแซงสถานการณ์ของ มาซูด การัคนี ประธานรัฐสภานอร์เวย์ ที่มีเชื้อสายอิหร่านและเกิดในเตหะราน หลังจากที่เขาออกมาแสดงความเห็นและสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงผ่านทางทวิตเตอร์[10][11]ส่วนกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยและสถานศึกษาทั่วประเทศในอิหร่านมีการนัดหยุดเรียนประท้วง เช่น ผ้า คลุมผมออกมาโบกไปมา พร้อมกับที่มีเสียงตะโกนว่า “อย่ากลัว เราอยู่เคียงข้างกัน” “ผู้หญิง ชีวิต เสรีภาพ” และมีการปรบมือ มีกลุ่มนักศึกษาผู้หญิงการชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด ปลดรูปภาพและมีการฉีกรูปภาพผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี[12]

การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ_แอมีนี

วิธีการ การประท้วง, การเดินขบวน, การจลาจล, การปิดถนน, การตั้งสิ่งกีดขวาง, การนัดหยุดงาน, การนัดหยุดเรียน และการดื้อแพ่งต่อกฎหมายสวมฮิญาบในที่สาธารณะ
สถานที่ ประเทศอิหร่าน
บาดเจ็บ 898 คน [4]
สาเหตุ
สถานะ ดำเนินอยู่
เป้าหมาย
วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022 – ปัจจุบัน
เสียชีวิต มากกว่า 42 คน[1][2][3]

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การปรับอากาศรถยนต์ การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประมาณราคา การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกันภัย การประกวดเพลงยูโรวิชัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ_แอมีนี http://iranhr.net/fa/articles/5496/ https://thestandard.co/iran-mahsa-amini-protest/ https://www.engadget.com/iran-restricts-internet-a... https://www.euronews.com/2022/09/20/mahsa-amini-eu... https://www.ndtv.com/world-news/31-killed-in-iran-... https://www.pptvhd36.com https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E... https://www.reuters.com/world/middle-east/tehran-g... https://www.theguardian.com/global-development/202... https://www.voathai.com/a/6770926.html