การยึดครอง ของ การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น

ธงชาติของรัฐพม่า พ.ศ. 2486 - 2488

กองทัพพม่าอิสระได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลในบางพื้นที่ของประเทศใน พ.ศ. 2485 แต่นโยบายของญี่ปุ่นต่อพม่ามีความแตกต่างกัน นายพลซูซูกิ ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล แต่ผู้นำระดับสูงของกองทัพญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยและสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลของ ดร.บามอว์ ระหว่างสงครามใน พ.ศ. 2485 กองทัพพม่าอิสระได้เติบโตขึ้นโดยไม่มีการควบคุม ต่อมา ญี่ปุ่นได้ให้กองทัพนี้จัดตั้งเป็นองค์กรใหม่ในชื่อกองทัพป้องกันพม่าโดยมีอองซานเป็นผู้นำ กองทัพใหม่นี้ได้รับการฝึกฝนจากญี่ปุ่น เมื่อ ดร.บามอว์ประกาศตั้งรัฐบาลอองซานได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม หลังจากประกาศเอกราชในนามรัฐพม่า กองทัพป้องกันพม่าได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองทพแห่งชาติพม่า[1]

ในช่วงที่กระแสของสงครามเริ่มเปลี่ยนแปลง ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้มากขึ้น อองซานได้หารือกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ทะขิ่นทันตุนและทะขิ่นโส และกลุ่มผู้นำพรรคสังคมนิยมคือบะส่วยและจอเย่งในการจัดตั้งองค์กรต่อต้านฟาสซิสต์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 ในการประชุมลับระว่างผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์พม่า พรรคประชาชนปฏิวัติและกองทัพแห่งชาติพม่าที่พะโค ต่อมาองค์กรนี้เปลี่ยนชื่อเป็นสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น[2]

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดครองเยอรมนีของสยาม การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์