การยึดติดหน้าที่

การยึดติดหน้าที่ (อังกฤษ: functional fixedness) เป็นความลำเอียงการรู้ (cognitive bias) อย่างหนึ่งซึ่งจำกัดบุคคลให้ใช้วัตถุเฉพาะในวิถีที่ใช้กันแต่เดิม มโนทัศน์การยึดติดหน้าที่กำเนิดในจิตวิทยาเกสทัลท์ ขบวนการในวิชาจิตวิทยาซึ่งเน้นการประมวลลัทธิองค์รวม คาร์ล ดุนค์เคอร์นิยามการยึดติดหน้าที่ว่าเป็น "สิ่งขัดขวางจิตต่อการใช้วัตถุในวิถีใหม่ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขปัญหา" ซึ่ง "สิ่งขัดขวาง" นี้จำกัดความสามารถของปัจเจกบุคคลในการใช้องค์ประกอบที่กำหนดให้เพื่อทำงานให้ลุล่วง เพราะไม่สามารถก้าวข้ามความมุ่งหมายดั้งเดิมขององค์ประกอบเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้หนึ่งต้องการที่ทับกระดาษ แต่เขามีเพียงค้อน เขาอาจไม่เห็นว่าค้อนสามารถใช้เป็นที่ทับกระดาษได้อย่างไร การยึดติดหน้าที่เป็นความไร้สามารถเห็นการใช้ค้อนเป็นอื่นนอกเหนือจากตอกตะปูนี้เอง คือ บุคคลไม่สามารถคิดใช้ค้อนในวิถีอื่นนอกจากหน้าที่ดั้งเดิมของมันเมื่อทดสอบ เด็กวัย 5 ขวบไม่มีสัญญาณของการยึดติดหน้าที่ มีการแย้งว่าเป็นเพราะเมื่ออายุ 5 ขวบ ทุกเป้าหมายที่บรรลุด้วยวัตถุเทียบเท่ากับเป้าหมายอื่นทั้งหมด ทว่า เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เด็กได้รับแนวโน้มถือความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้เดิมของวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดครองเยอรมนีของสยาม การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์