ประวัติ ของ การให้เหตุผลแบบจารนัย

การนำเสนอและการพัฒนาโดยเพิร์ซ

ภาพรวม

นักปรัชญาชาวอเมริกัน ชารลส์ แซนเดอรส์ เพิร์ซ เป็นผู้นำเสนอการจารนัยเข้าสู่ตรรกศาสตร์สมัยใหม่ ในช่วงเวลาหลายปีเขาเรียกการอนุมานแบบนี้เป็น hypothesis "สมมติฐาน", abduction "การจารนัย", presumption "การสันนิษฐาน", และ retroduction "การเสนอใหม่" เขานับมันเป็นหัวข้อหนึ่งในวิชาตรรกศาสตร์ที่เป็นสาขาเชิงบรรทัดฐานในวิชาปรัชญา ไม่ใช่ในตรรกศาสตร์เชิงคณิตหรือรูปนัยแบบบริสุทธิ์ และในที่สุดก็เป็นหัวข้อในเศรษฐศาสตร์ของการวิจัย

นอกจากการเป็นด่านสองด่านของการพัฒนา การขยาย ฯลฯ ของสมมติฐานในการสอบสวน (inquiry) ทางคณิตศาสตร์แล้ว การจารนัยและก็การอุปนัยมักจะถูกยุบรวมเป็นมโนภาพเดียวที่ครอบคลุมทั้งสอง — สมมติฐาน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมในระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ที่รู้จากกาลิเลโอและเบคอนขั้นตอนเชิงจารนัยของการตั้งสมมติฐานถึงถูกเรียกจำกัดกรอบความคิดเป็นการอุปนัย ดังนั้นการยุบรวมกันนี้ถูกเสริมในคริสศตวรรษที่ยี่สิบโดยตัวแบบสมมติฐาน-นิรนัย (Hypothetico-deductive model) ของคาร์ล ป็อบเปอร์ (Karl Popper) ที่ซึ่งสมมติฐานถูกนับว่าเป็นเพียง "การเดา"[14] (ในจิตวิญญาณของเพิร์ซ) แต่ทว่าเมื่อการก่อสมมติฐานได้รับการพิจารณาเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการหนึ่ง ก็เห็นได้ชัดว่า "การเดา" นี้ผ่านการทดสอบและทำให้ทนทานในความคิดแล้วและเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการที่จะถือว่ามีสถานะเป็นสมมติฐานได้ ซึ่งแน่นอน การจารนัยหลายครั้งถูกปฏิเสธหรือแก้ไขอย่างหนักหน่วงโดยการจารนัยตามลำดับก่อนที่จะได้มาถึงขั้นตอนนี้

ก่อนปี ค.ศ. 1900 เพิร์ซปฏิบัติต่อการจารนัยเป็นการใช้กฎที่รู้เพื่ออธิบายการสังเกตการณ์หนึ่ง กรณีเช่น: เป็นกฎที่รู้กันดีว่าถ้าฝนตกหญ้าจะเปียก ดังนั้นเพื่ออธิบายข้อเท็จจริงที่หญ้าบนสนามนี้เปียก เราจารนัยได้ว่าฝนพึ่งตกไป การจารนัยสามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นเป็นเท็จถ้ากฎอื่น ๆ ที่อาจอธิบายการสังเกตการณ์ได้เช่นเดียวกันไม่ถูกนำมาพิจารณาด้วย — เช่นหญ้าอาจเปียกเพราะน้ำค้าง (dew) นี่ยังคงเป็นนิยามสามัญที่ใช้กันของคำว่า "การจารนัย" ในวิชาสังคมศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์.

เพิร์ซบรรยายคุณลักษณะของมันอย่างสม่ำเสมอว่าเป็นชนิดของการอนุมานที่ให้กำเนิดสมมติฐานโดยการสรุปในคำอธิบายของการสังเกตการณ์ที่น่าสงสัยหรือน่าประหลาดใจ (ผิดปรกติ) ที่ถูกกล่าวไว้ในข้อตั้งแม้คำอธิบายจะไม่ถูกรับประกันว่าใช่ เขาเขียนเก่าสุดในปี ค.ศ. 1865 ว่าการสร้างมโนคติทั้งหมดของเหตุและแรงจะสัมฤทธิ์ผ่านการอนุมานสมมติฐาน ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเขียนว่าเนื้อหาการอธิบายทั้งหมดของทฤษฎีจะสัมฤทธิ์ด้วยการจารนัย ในแง่อื่น ๆ เพิร์ซได้แก้ไขทัศนะต่อการจารนัยของเขาเมื่อแต่ละปีผ่านไป[15]

ในปีต่อ ๆ มาทัศนะของเขาได้กลายเป็น:

  • การจารนัยคือการเดา[16] มัน "ถูกกีดขวางเล็กน้อย" โดยกฎของตรรกศาสตร์[17] แม้แต่การเดาของสติปัญญาที่เตรียมตัวมาอย่างดีก็ยังผิดถี่กว่าถูก[18] แต่ความสำเร็จของการเดาของเรานั้นเกินไปกว่าคำว่าดวงสุ่ม ๆ และดูเหมือนจะเกิดจากการเข้ากับธรรมชาติโดยอัชฌัตติกญาณ[19] (บางคนก็เรียกว่า การรู้เองเชิงตรรกะ (logical intuition) ในบริบทเช่นนั้น[20])
  • การจารนัยคาดเดาแนวคิดใหม่หรือนอกเหนือจากเดิมเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนหรือน่าประหลาดใจในวิธีที่เป็นไปได้ ตามสัญชาตญาณ และประหยัด ซึ่งนั่นเป็นเป้าหมายโดยประมาณของมัน[19]
  • เป้าหมายที่ยาวกว่าคือเพื่อทำให้การสอบสวน (inquiry) นั้นประหยัดขึ้น เหตุผลของมันนั้นเป็นอุปนัย: มันใช้ได้บ่อยพอ เป็นแหล่งกำเนิดเดียวของแนวคิดใหม่ และไม่มีตัวแทนในการกระตุ้นการค้นพบความจริงใหม่ ๆ[21] เหตุผลของมันรวมโดยเฉพาะหน้าที่ของมันในการประสานงานกับวิธีการอนุมานอื่น ๆ ในการสอบสวน มันเป้นการอนุมานสู่สมมติฐานการอธิบายสำหรับการเลือกวิธีที่ดีที่สุดที่จะลองใช้
  • ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เป็นตรรกะของการจารนัย ในกระบวนการสร้างคำอธิบาย (ซึ่งเขาได้ถือว่าถูกนำโดยสัญชาตญาณ) คติบทเชิงปฏิบัติ (pragmatic maxim) ให้กฏทางตรรกศาสตร์ที่จำเป็นและพอเพียงสำหรับการจารนัยโดยทั่วไป สมมติฐานนั้นซึ่งสั่นคลอนจำเป็นต้องมีนัยยะที่เป็นไปได้[22]สำหรับการปฏิบัติที่มีข้อมูล เพื่อให้ทดสอบได้[23][24] และด้วยการทดลองจึงกระตุ้นและมัธยัสถ์การสอบสวน เศรษฐกิจของการวิจัยนั้นเองเป็นสิ่งที่เรียกหาการจารนัยและเป็นตัวควบคุมศิลปะของมัน[25]

เพิร์ซเขียนไว้ในปี ค.ศ. 1910 และยอมรับว่า "ในทุกสิ่งที่ผมพิมพ์ไปก่อนศตวรรษนี้เริ่มต้นขึ้นผมก็ได้สับสนคำว่าสมมติฐานกับการอุปนัย"[26] และเขาได้ตามรอยความสับสนของนักตรรกวิทยาระหว่างการให้เหตุผลสองรูปแบบนี้ว่าเกิดจาก "การเข้าใจการอนุมานในแบบที่แคบและเป็นรูปนัย โดยคือเป็นการที่ได้ทำการตัดสินไปแล้วจากข้อตั้งของมัน" [27]

เริ่มต้นในช่วงปี ค.ศ. 1860s เขาได้ปฏิบัติต่อการอนุมานเชิงสมมติฐานในวิธีหลากหลายซึ่งก็ได้ค่อย ๆ ถูกเลือกออกที่ละวิธีตามความไม่จำเป็นหรือการเข้าใจผิดในบางกรณี:

  • เป็นการอนุมานการมีอยู่ของลักษณะหนึ่ง (หรือคุณสมบัติใด ๆ) จากการสังเกตการณ์การมีอยู่รวมกันของลักษณะที่หลากหลายซึ่งจำเป็นต้องมีการมีอยู่ของลักษณะนั้นรวมด้วย[28] ตัวอย่างช่นหากการมีอยู่ใด ๆ ของ A นั้นถูกรู้กันว่าจำเป็นต้องต่อด้วยการมีอยู่ของ B, C, D, E แล้วโดยเป็นตัวอย่าง การสังเกตพบ B, C, D, E ก็ชี้แนะการมีอยู่ของ A (แต่พอในปี ค.ศ. 1878 เขาก็ไม่ได้ถือว่าความหลากหลายนี้เป็นสามัญกับการอนุมานเชิงสมมติฐานทุกอันแล้ว[29]วิกิซอร์ซ)
  • เป็นการมุ่งหาสมมติฐานที่น่าจะเป็นไม่ว่ามากหรือน้อย (ในปี ค.ศ. 1867 และ 1883 แต่ไม่ในปี 1878 อย่างไรก็ดีพอในปี ค.ศ. 1900 การให้เหตุผลนั้นไม่ใช่ความน่าจะเป็นแต่เป็นการไม่มีอยู่ของทางเลือกแทนการคาดเดาและข้อเท็จจริงที่ว่าการเดานั้นให้ผลที่ดี[30] จนในปี ค.ศ. 1903 เขาพูดคำว่า "likely" หรือควรจะเป็นในความหมายของการเข้าใกล้ความจริงแบบ "ไม่ได้จำกัดความไว้แน่นอน"[31] ในปี ค.ศ. 1908 เขาถกคำว่า plausibility หรือความเป็นไปได้เป็นการดึงดูดตามสัญชาตญาณ[19]) ในกระดาษที่ให้วันที่โดยบรรณาธิการไว้ ประมาณ ปี ค.ศ. 1901 เขาอภิปรายคำว่า "instinct" หรือสัญชาตญาณกับ "naturalness" หรือความเป็นธรรมชาติ ตามไปกับชนิดของการพิจารณา (ราคาของการทดสอบ ความระมัดระวังทางตรรกะ ความกว้าง และความไม่ซับซ้อน) ซึ่งในภายหลังเขาได้เรียกมันว่า methodeutical หรือเมโธดิวติก [32]
  • เป็นการอุปนัยจากลักษณะต่าง ๆ (แต่อย่างน้อยในปี ค.ศ. 1900 เขาบรรยายลักษณะการจารนัยเป็นการเดา[30])
  • เป็นการอ้างอิงกฎที่รู้อยู่ในข้อตั้งมากกว่าการสมมติฐานกฎหนึ่งขึ้นมาในข้อสรุป (แต่ในปี ค.ศ. 1903 เขาอนุญาตได้ทั้งสองวิธี[17][33])
  • โดยพื้นฐานเป็นการเปลี่ยนรูปของตรรกบทเด็ดขาดแบบนิรนัย[29] (แต่ในปี ค.ศ. 1903 เขาเสนอเภทของ กฎการแจงผลตามเหตุ แทน[17] และในปี ค.ศ. 1911 เขาไม่มั่นใจว่ารูปแบบใด ๆ จะครอบคลุมการอนุมานเชิงสมมติฐานได้ทั้งหมด[34]).

The Natural Classification of Arguments (1867)

ใน "The Natural Classification of Arguments" ของเพิร์ซ (การจำแนกตามธรรมชาติของการอ้างเหตุผล) ปี ค.ศ. 1867[28] การอนุมานเชิงสมมติฐานจัดการกับกลุ่มของลักษณะเสมอ (เรียกเป็น P′, P′′, P′′′, ฯลฯ) ซึ่งถูกรู้ว่ามีอยู่อย่างน้อยเมื่อใดที่ลักษณะหนึ่ง (M) มีอยู่ หมายเหตุว่าตามเดิมแล้วตรรกบทเด็ดขาดมีองค์ประกอบที่เรียกว่าตัวกลาง (middles) ภาคแสดง (predicates) และประธาน (subjects) ตัวอย่างเช่น: "มนุษย์ [ตัวกลาง] ทุกคนเป็น มัตตัย [ภาคแสดง]; โสกราตีส [ประธาน] เป็น มนุษย์ [ตัวกลาง]; เพราะฉะนั้น โสกราตีส [ประธาน] เป็น มัตตัย [ภาคแสดง]" ข้างใต้ 'M' หมายถึงตัวกลาง 'P' เป็นภาคแสดง และ 'S' เป็นประธาน เพิร์ซถือว่าการนิรนัยทุกอันสามารถถูกจัดอยู่ในรูปแบบของตรรกบทเด็ดขาด Barbara (AAA-1) (Syllogism Modus Barbara)

[การนิรนัย]

M [ใด ๆ] เป็น P
S [ใด ๆ] เป็น M
∴ {\displaystyle \therefore } S [ใด ๆ] เป็น P

การอุปนัย

S′, S′′, S′′′, ฯลฯ ถูกสุ่มเป็น M;
S′, S′′, S′′′, ฯลฯ เป็น P:
∴ {\displaystyle \therefore } M ใด ๆ น่าจะเป็น P

สมมติฐาน

M ใด ๆ เป็น ตัวอย่างเช่น P′, P′′, P′′′, ฯลฯ;
S เป็น P′, P′′, P′′′, ฯลฯ:
∴ {\displaystyle \therefore } S น่าจะเป็น M.

Deduction, Induction, and Hypothesis (1878)

ใน "Deduction, Induction, and Hypothesis" ของเพิร์ซ (การนิรนัย การอุปนัย และสมมติฐาน) ปี ค.ศ. 1878[29] การอนุมานไม่จำเป็นต้องมีลักษณะหรือภาคแสดงหลายอันเพื่อเป็นสมมติฐานแล้วแต่ถ้ามีก็เป็นประโยชน์ มากกว่านั้นเพิร์ซไม่ทำการอนุมานเชิงสมมติฐานเป็นการสรุปในสมมติฐาน น่าจะเป็น อีกแล้ว มันไม่ได้ชัดเจนในรูปของตัวมันเองแต่ก็เข้าใจกันว่าการอุปนัยมีการเลือกสุ่มและการอนุมานเชิงสมมติฐานมีการตอบสนองต่อ "พฤติการณ์ที่น่าประหลาดใจมาก" เพียงแต่รูปของมันเน้นว่าวิธีการการอนุมานเป็นการจัดเรียงใหม่ของประพจน์ของการอนุมานแต่ละรูปแบบ (โดยไม่มีคำใบ้ในวงเล็บด้านล่าง)

การนิรนัย

กฎ: ถั่วจากถุงนี้ทุกเม็ดมีสีขาว
กรณี: ถั่วกองนี้มาจากถุงนี้
∴ {\displaystyle \therefore } ผลลัพธ์: ถั่วกองนี้สีขาว

การอุปนัย

กฎ: ถั่วถูก [สุ่ม] เลือกจากถุงนี้
กรณี: ถั่วกองนี้สีขาว
∴ {\displaystyle \therefore } ผลลัพธ์: ถั่วจากถุงนี้ทุกเม็ดมีสีขาว

สมมติฐาน

กฎ: ถั่วจากถุงนี้ทุกเม็ดมีสีขาว
ผลลัพธ์: ถั่วกองนี้สีขาว [ประหลาด]
∴ {\displaystyle \therefore } กรณี: ถั่วมาจากถุงนี้

A Theory of Probable Inference (1883)

เพิร์ซปฏิบัติต่อการจารนัยเป็นการอุปนัยจากลักษณะต่าง ๆ (ซึ่งมีการถ่วงน้ำหนัก ไม่ได้นับเหมือนวัตถุ) อย่างชัดเจนใน "A Theory of Probable Inference" ปี ค.ศ. 1883 ที่ทรงอิทธิพลของเขา (ทฤษฎีของการอนุมานที่น่าจะเป็น) ที่ซึ่งเขากลับมารวมความน่าจะเป็นไว้ในของสรุปเชิงสมมติฐาน[35] หนังสือเล่นนี้ได้มีคนอ่านจำนวนมากเหมือน "Deduction, Induction, and Hypothesis" ในปี ค.ศ. 1878 (ดูหนังสือประวัติศาสตร์เรื่องสถิติศาสตร์โดยสตีเฟน สติกเลอร์ (Stephen Stigler)) ไม่เหมือนการแก้ไขความคิดเกี่ยวกับการจารนัยอันต่อมาของเขา ปัจจุบันการจารนัยยังคงเข้าใจกันอย่างทั่วไปว่าเป็นการอุปนัยจากลักษณะและการขยายกฎที่รู้อยู่ไปครอบคลุมพฤติการณ์ที่ยังไม่ถูกอธิบาย

เชอร์ล็อก โฮมส์ ใช้วิธีการให้เหตุผลนี้ในเรื่องของอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ถึงแม้โฮมส์จะเรียกมันว่า "การให้เหตุผลแบบนิรนัย"[36][37][38]

Minute Logic (1902) และหลังจากนั้น

ในปี ค.ศ. 1902 เพิร์ซได้เขียนไว้ว่าตอนนี้เขาถือรูปทางตรรกบทและหลักของการขยายและความเข้าใจ (นั่นคือ วัตถุและลักษณะอย่างที่ถูกอ้างอิงโดยพจน์ต่าง ๆ) ว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นรากฐานมากเท่าที่เคยคิด[39] ในปี ค.ศ. 1903 เขาเสนอรูปของการจารนัยดังต่อไปนี้:[17]

ข้อเท็จจริงที่น่าประหลาดใจ C ถูกสังเกต;

แต่หาก A เป็นจริง C ก็ย่อมเกิดเป็นเรื่องปกติ,ดังนั้น ไม่มีเหตุผลที่จะสงสัยเลยว่า A เป็นจริง

สมมติฐานถูกร่างขึ้นมาแต่ไม่ได้ถูกยืนยันในข้อตั้ง แล้วจึงถูกยืนยันว่าน่าสงสัยอย่างมีเหตุผลในข้อสรุป ดังนั้นอย่างในรูปของตรรกบทเด็ดขาดก่อนหน้า ข้อสรุปถูกกำหนดจากข้อตั้งบางข้อ แต่กระนั้นสมมติฐานประกอบด้วยมโนคติที่ใหม่หรืออยู่นอกสิ่งที่รู้หรือสังเกตเห็นอย่างชัดเจนมากกว่าที่เคย การอุปนัยในแง่หนึ่งไปไกลเกินการสังเกตการณ์ที่ได้ประกาศไว้แล้วในข้อตั้ง แต่เพียงขยายมโนคติที่รู้อยู่แล้วว่าแสดงเหตุการณ์หรือทดสอบมโนคติหนึ่งที่ถูกจัดเตรียมโดยสมมติฐาน ทางใดก็ตามก็ต้องการการจารนัยก่อนหน้าเพื่อที่จะให้ได้มโนคติแบบนั้นมาตั้งแต่แรก การอุปนัยตามหาข้อเท็จจริงเพื่อทดสอบสมมติฐาน การจารนัยตามหาสมมติฐานเพื่ออธิบายข้อเท็จจริง

โปรดทราบว่าสมมติฐาน ("A") อาจเป็นกฏ และไม่จำเป็นแม้แต่จะต้องเป็นกฏที่บังคับการสังเกตการณ์ที่น่าประหลาดใจ ("C") ซึ่งจำเป็นที่จะตามมาแค่เป็น "เรื่องปกติ" หรือความ "ปกติ" เองนั้นอาจเปรียบเสมือนกฏที่รู้จัก ถูกพาดพิงถึงเท่านั้น และก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกฎเพราะความจำเป็นอย่างเดียว ในปีเดียวกันเพิร์ซเขียนว่าการไปถึงสมมติฐานอาจมีส่วนของการวางการสังเกตการณ์ที่น่าประหลาดใจไว้ภายใต้กฎที่สมมติฐานขึ้นมาอย่างใหม่หรือการรวมกันที่ถูกสมมติฐานของกฎที่รู้จักต่าง ๆ กับสถานะแปลก ๆ ของข้อเท็จจริง เพื่อให้ปรากฏการณ์ไม่ได้น่าประหลาดใจแต่เป็นนัยอย่างจำเป็นหรืออย่างน้อยควรจะเป็นแทน[33]

เพิร์ซยังคงไม่ได้ถูกโน้มน้าวมากนักสำหรับรูปใด ๆ เช่นนั้นว่าเป็นรูปของตรรกบทเด็ดขาดหรือรูปของปี ค.ศ. 1903 ในปี ค.ศ. 1911 เขาเขียนว่า "ณ ปัจจุบัน ผมไม่ได้รู้สึกโน้มน้าวใจเท่าใดนักว่ารูปตรรกะใด ๆ สามารถถูกมอบหมายที่จะครอบคลุม 'Retroductions' (การจารนัย) ทุกอัน เพราะสิ่งที่ผมหมายถึง retroduction เป็นอย่างง่าย ๆ คือข้อความคาดการณ์ที่เกิดขึ้นมาในจิต"[34][40]

ปฏิบัตินิยม

ในปี ค.ศ. 1901 เพิร์ซเขียนว่า "มันจะไม่มีตรรกะในการกำหนดกฎขึ้นและในการบอกว่ากฎเหล่านั้นควรจะถูกทำตาม จนกว่าจะเข้าใจว่าจุดประสงค์ของสมมติฐานต้องการมัน"[41] ในปี ค.ศ. 1903 เพิร์ซเรียกปฏิบัตินิยม (pragmatism) ว่า "the logic of abduction" (ตรรกะของการจารนัย) และบอกว่าคติบทปฏิบัตินิยม (pragmatic maxim) ให้กฏตรรกะที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการจารนัยโดยทั่วไป[24] คติบทปฏิบัตินิยมคือ:

พิจารณาผลกระทบที่อาจมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นไปได้ใด ๆ ที่เราเข้าใจว่าวัตถุในมโนภาพของเรามี แล้วมโนภาพของผลกระทบเหล่านี้ของเราเป็นมโนภาพของวัตถุนั้นทั้งหมดของเรา[42]

เป็นวิธีการเพื่อทำให้มโนภาพกระจ่างอย่างเป็นผลโดยเทียบความหมายของมโนภาพนั้นกับนัยยะทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ของผลกระทบที่วัตถุนั้นมี เพิร์ซถือว่ามันเข้ากับจุดประสงค์ของการจารนัยในการสอบสวนอย่างแม่นยำ คือการสร้างมโนคติที่อาจก่อร่างการปฏิบัติอย่างมีความรู้อย่างเป็นไปได้ ในงานเขียนหลากหลายในช่วงปี ค.ศ. 1900s[25][43] เขาพูดว่าการปฏิบัติการจารนัย (หรือ retroduction) ถูกควบคุมโดยการพิจารณาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่เป็นของเศรษฐศาสตร์ของการวิจัย เขาถือเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน ซึ่งส่วนวิเคราะห์ของมันอาจเป็นส่วนหนึ่งของเมโธดิวติกเชิงตรรกะ (นั่นคือ ทฤษฎีของการสอบสวน)[44]

ตรรกะด้านการจารนัยสามระดับ

ระหว่างเวลาที่แล้วมา เพิร์ซแบ่งตรรกะ (เชิงปรัชญา) (Classification of the sciences (Peirce)) เป็นสามแผนก:

  1. สเตคิโอโลจี (Stechiology) หรือไวยากรณ์สเป็กคูเลทีฟ เป็นเรื่องของเงื่อนไขสำหรับความหมาย และการจำแนกประเภทของสัญญะ (รูปลักษณ์ เครื่องแสดง สัญลักษณ์ ฯลฯ) และการรวมกันของพวกมัน (ตลอดจนวัตถุและความแปลของพวกมัน (interpretant))
  2. คริติกเชิงตรรกะ (Logical critic) หรือตรรกะแท้ (logic proper) เป็นเรื่องของความสมเหตุสมผลหรือความอ้างเหตุผลได้ของการอนุมาน หรือเงื่อนไขสำหรับการแทนจริง และบทวิจารณ์ของการอ้างเหตุผลในวิธีต่าง ๆ (แบบนิรนัย อุปนัย และจารนัย)
  3. เมโธดิวติก (Methodeutic) หรือวาทศาสตร์สเป็กคูเลทีฟ (speculative rhetoric) เป้นเรื่องของเงื่อนไขเพื่อพิจารณากำหนดการแปลความหมาย และระเบียบวิธีของการสอบสวนในปฏิกิริยากันและกันของวิธีต่าง ๆ ของมัน

ตั้งแต่เริ่ม เพิร์ซได้เห็นวิธีของการอนุมานถูกประสานเข้ากันในการสอบสวนทางวิทยาศาสตร์ และภายในช่วงปี ค.ศ. 1900s เขาถือว่าการอนุมานเชิงสมมติฐานโดยเฉพาะนั้นไม่ถูกปฏิบัติต่อในระดับของบทวิจารณ์ของการอ้างเหตุผลอย่างเหมาะสม[23][24] เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในข้อสรุปเชิงสมมติฐาน จะต้องนิรนัยว่าพบเจอนัยยะเกี่ยวกับหลักฐาน นั่นคือการคาดการณ์ซึ่งการอุปนัยสามารถทดสอบการสังเกตการณ์เพื่อประเมินผลสมมติฐานนั้น นี่คือสังเขปความระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ของการสอบสวนของเพิร์ซ (Charles Sanders Peirce) อย่างที่ครอบคลุมไว้ในระเบียบวิธีการสอบสวนของเขาซึ่งรวมปฏิบัตินิยม หรืออย่างที่เขาเรียกทีหลังว่าแพรกแมติสิซึม (pragmaticism) คือคำอธิบายของมโนคติในด้านของนัยยะที่เป็นไปได้ของการปฏิบัติอย่างมีความรู้

การจำแนกประเภทของสัญญะ

ภายในปี ค.ศ. 1866[45] เพิร์ซถือว่า:

  1. สมมติฐาน (การอนุมานแบบจารนัย) เป็นการอนุมานผ่าน สัญรูป (icon) (ก็เรียกว่า likeness หรือความเหมือนกับ).
  2. การอุปนัยเป็นการอนุมานผ่าน ดรรชนี (index) (สัญญะโดยการเชื่อมโยงกับข้อเท็จจริง) ตัวอย่างเป็นดรรชนีของจำนวนทั้งหมดที่เลือกมาจาก
  3. การนิรนัยเป็นการอนุมานผ่าน สัญลักษณ์ (symbol) (สัญญะโดยการตีความโดยไม่คำนึงถึงความคล้ายคลึงหรือการเชื่อมโยงกับวัตถุ).

ในปี ค.ศ. 1902 เพิร์ซเขียนว่าในการจารนัย: "เป็นที่รู้จักว่าปรากฏการณ์นั้น เหมือนกับ หรือประกอบเป็นสัญรูปของสำเนาของมโนภาพทั่วไป หรือสัญลักษณ์" [46]

บทวิจารณ์ของการอ้างเหตุผล

ในระดับคริติก เพิร์ซตรวจสอบรูปของการอ้างเหตุผลแบบจารนัย (แบบที่อภิปรายไปด้านบน) และได้กลายมาถือว่าสมมติฐานควรอธิบายความฟังขึ้นอย่างประหยัดในด้านของความเป็นไปได้และความเป็นธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1908 เพิร์ซพรรณนาความเป็นไปได้ (plausibility) นี้ในรายละเอียด[19] ความเป็นไปได้ที่อยู่บนการสังเกตการณ์ไม่ได้มีส่วนด้วย (ซึ่งจะกลายเป็นการประเมินผลแบบอุปนัยของสมมติฐานแทน) แต่เป็นความเรียบง่ายเหมาะที่สุดในความหมายของความ "ง่าย และเป็นธรรมชาติ" แทน เช่นแบบแสงแห่งเหตุผลธรรมชาติ (natural light of reason) ของกาลิเลโอ และต่างจาก "ความเรียบง่ายเชิงตรรกะ" (logical simplicity) (เพิร์ซไม่ได้มองข้ามความเรียบง่ายเชิงตรรกะทั้งหมดแต่มองว่ามีหน้าที่ที่เป็นรอง หากนำมาใช้อย่างสุดโต่งก็เป็นการสนับสนุนให้ไม่ต้องหาคำอธิบายของการสังเกตการณ์เลย) แม้แต่การเดาของสติปัญญาที่เตรียมตัวมาอย่างดีก็ยังผิดถี่กว่าถูก แต่ความสำเร็จที่จะหาความจริงหรืออย่างน้อยเดินหน้าการสอบสวนของการเดาของเรานั้นเกินไปกว่าคำว่าดวงสุ่ม ๆ และนั่นชี้ให้เพิร์ซเห็นว่าการเดาเหล่านั้นอยู่บนการเข้ากับธรรมชาติโดยอัชฌัตติกญาณ หรือความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกระบวนการในจิตและกระบวนการในความเป็นจริงซึ่งจะเป็นเหตุผลอย่างน่าดึงดูดว่าทำไมการเดา "โดยธรรมชาติ" จะเป็นอันที่สำเร็จบ่อย (หรือไม่บ่อย) ที่สุด และเพิร์ซจึงได้อ้างเหตุผลว่าควรชอบการเดาแบบนั้นมากกว่าเพราะเมื่อไม่มี "a natural bent like nature's" (ความเอนเอียงตามธรรมชาติอย่างที่ธรรมชาติมี) ก็จะไม่มีความหวังใดในการที่ผู้คนจะเข้าใจธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1910 เพิร์ซได้แยกแยะเป็นสามทางระหว่างความน่าจะเป็น (probability) ความละม้ายจริง (verisimilitude) และความเป็นไปได้ (plausibility) และนิยามคำว่าความเป็นไปได้ด้วยคำว่า "ought" (ควรจะ): "คำว่าความเป็นไปได้นี้ ผมหมายถึงระดับที่ทฤษฎีหนึ่งควรจะแนะนำตัวเองสู่ความเชื่อของเราโดยปราศจากหลักฐานใด ๆ นอกจากสัญชาตญาณตัวเองที่ผลักดันให้เราสนับสนุนมัน"[47] สำหรับเพิร์ซ ความเป็นไปได้ (plausibility) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความถี่ที่สังเกตเห็นหรือความน่าจะเป็น หรือความละม้ายจริง หรือแม้แต่ความทดสอบได้ (testability) ซึ่งไม่ใช่เรื่องของบทวิจารณ์ว่าการอนุมานเชิงสมมติฐานเป็นการอนุมาน แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของสมมติฐานต่อกระบวนการสอบสวน

วลีว่า "การอนุมานสู่คำอธิบายที่ดีที่สุด" (ซึ่งเพิร์ซไม่ใช้แต่มักจะถูกนำมาใช้เรียกการอนุมานเชิงสมมติฐาน) ไม่ได้ถูกเข้าใจว่าหมายถึงสมมติฐานที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติที่สุดเสมอ (ดังเช่นพวกที่มีข้อสมมติฐานน้อยที่สุด) อย่างไรก็ตาม ความหมายอื่น ๆ ของคำว่า "ดีที่สุด" เช่น "ผ่านการทดสอบได้ดีที่สุด" ก็ยากที่จะรู้ว่าจะสร้างคำอธิบายไหนดีที่สุดในเมื่อมันยังไม่ได้ถูกทดสอบ สำหรับเพิร์ซแล้ว การให้เหตุผลการอนุมานแบบจารนัยใด ๆ ว่าดียังคงไม่สมบูรณ์แค่เพราะถูกสร้างเป็นการอ้างเหตุผล (ต่างจากการอุปนัยและการนิรนัย) และขึ้นอยู่กับหน้าที่ในระเบียบวิธีและความมั่นสัญญาว่าจะดำเนินหน้าการสอบสวน (เช่นความทดสอบได้) แทน[23][24][48]

ระเบียบวิธีของการสอบสวน

ในระดับเมโธดิวติก เพิร์ซถือว่าสมมติฐานจะได้รับเลือกและถูกตัดสินไปทดสอบ[23]ก็เพราะมันเสนอที่จะเร่งและทำให้กระบวนการสอบสวนประหยัด (inquiry) ในการหาความจริงด้วยการทดสอบมัน อย่างแรกเลยคือด้วยการทดสอบได้ และก็ด้วยเรื่องเศรษฐกิจเพิ่มเติม[25] ไม่ว่าในด้านราคา (cost) มูลค่า (value) และความสัมพันธ์ท่ามกลางการเดาต่าง ๆ (สมมติฐาน) การพิจารณาดังเช่นความน่าจะเป็นซึ่งไม่มีในการปฏิบัติของการจารนัยในระดับคริติกก็จะมีส่วนร่วมในระดับนี้ ตัวอย่างเช่น:

  • ราคา (cost) : ถ้าการเดาที่เรียบง่ายและเป็นไปได้สูงนั้นมีราคาในการทดสอบความเท็จที่ต่ำก็อาจเป็นอันแรก ๆ ที่เอามาทดสอบเพื่อเบิกทางก่อน ถ้ามันผ่านการทดสอบอย่างน่าประหลาดใจ มันก็คุ้มที่จะรู้ตั้งแต่แรกเริ่มในการสอบสวน ไม่อย่างนั้นอาจจะต้องเสียเวลานานไปกับแนวทางที่ดูเป็นไปได้มากกว่าแต่ความจริงแล้วผิด
  • มูลค่า (value) : การเดาหนึ่งนั้นคุ้มค่าที่จะทดสอบในตัวมันเองถ้ามีความเป็นไปได้โดยสัญชาตญาณหรือความน่าจะเป็นอย่างรูปธรรมที่มีเหตุผล ในขณะที่ความควรจะเป็นอัตวิสัยไม่น่าไว้วางใจแม้จะมีเหตุผล
  • อันตรสัมพันธภาพ (interrelationships) : สามารถเลือกการเดามาทดลองอย่างมีกลยุทธ์ได้ด้วยสิ่งเหล่านี้
    • ความรอบคอบ (caution) ตัวอย่างที่เพิร์ซให้คือเกมยี่สิบคำถาม (Twenty Questions)
    • ความกว้าง (breadth) ของการนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ๋ได้หลากหลาย และ
    • ความไม่ซับซ้อน (incomplexity) ของสมมติฐานที่ดูเรียบง่ายและเมื่อทดสอบแล้วจะปูทางไปสู่การไล่ตามสมมติฐานที่หลากหลายและขัดแย้งกันและเรียบง่ายน้อยกว่า[49]

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การให้เหตุผลแบบจารนัย http://www.pucsp.br/~lbraga/epap_peir1.htm http://www.creative-wisdom.com/pub/Peirce/Logic_of... http://www.cspeirce.com/menu/library/bycsp/l75/ver... http://www.cspeirce.com/menu/library/bycsp/l75/ver... http://www.degruyter.com/view/j/semi.2005.2005.iss... http://www.karger.com/Article/Pdf/337968 http://social.techcrunch.com/2013/07/18/facebook-m... http://www.textlog.de/7663.html http://www.textlog.de/7664-2.html http://arthistory.berkeley.edu/davis/Gell.pdf