การประยุกต์ใช้ ของ การให้เหตุผลแบบจารนัย

ปัญญาประดิษฐ์

การประยุกต์ใช้ในปัญญาประดิษฐ์มีการวินิจฉัยความผิดพร่อง (Diagnosis (artificial intelligence)) การปรับปรุงความเชื่อ (belief revision) และการวางแผนของเครื่อง (automated planning) การประยุกต์ใช้โดยตรงที่สุดของการจารนัยคือการตรวจจับความผิดพร่องโดยอัตโนมัติในระบบ: เมื่อมีทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างความผิดพร่องกับผลกระทบและชุดผลกระทบที่สังเกตเห็น จะสามารถจารนัยหาชุดความผิดพร่องที่อาจจะเป็นสาเหตุของปัญหา

แพทยศาสตร์

ในแพทยศาสตร์ สามารถมองการจารนัยเป็นส่วนประกอบในการประเมินผลและการตัดสินใจทางคลินิก[50][51]

การวางแผนของเครื่อง

การจารนัยสามารถนำมาใช้โมเดลการวางแผนของเครื่องได้[52] หากมีทฤษฎีของตรรกะที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ของการกระทำและผลของมัน (ตัวอย่างเช่น สูตรของแคลคูลัสเหตุการณ์ (event calculus)) ก็จะสามารถโมเดลปัญหาของการหาแผนการสำหรับการไปถึงสภาวะหนึ่งให้เป็นปัญหาของการจารนัยหาชุดของสัญพจน์ (literal) ที่แสดงนัยว่าสภาวะสุดท้ายเป็นสภาวะเป้าหมาย (goal state)

การวิเคราะห์ข่าวกรอง

มีการใช้การให้เหตุผลแบบจารนัยเชิงความน่าจะเป็นในการวิเคราะห์ข่าวกรอง (intelligence analysis), การวิเคราะห์สมมติฐานคู่แข่ง (analysis of competing hypotheses) และ เครือข่ายแบบเบย์ (Bayesian network) อย่างกว้างขวาง การวินิจฉัยทางการแพทย์และการให้เหตุผลทางกฎหมายก็มีใช้วิธีการนี้เช่นเดียวกัน แต่มีหลายตัวอย่างของข้อผิดพลาดโดยเฉพาะพวกที่เกิดจากเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐานและเหตุผลวิบัติของพนักงานอัยการ (prosecutor's fallacy)

ปรัชญาวิทยาศาสตร์

ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ (philosophy of science) การจารนัยเป็นวิธีการอนุมานที่สำคัญที่สนับสนุนมุมมองสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ (scientific realism) และการถกเถียงของสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าการจารนัยเป็นวิธีการอนุมานที่ยอมรับได้หรือไม่[53]

ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ

ในภาษาศาสตร์เชิงประวัติ การจารนัยในระหว่างการรู้ภาษา (language acquisition) มักถูกถือว่าเป็นส่วนที่จำเป็นในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงภาษา ดังเช่นการวิเคราะห์ใหม่ (folk etymology) และแนวเทียบ[54] (analogy)

ภาษาศาสตร์ประยุกต์

ในการวิจัยภาษาศาสตร์ประยุกต์ (applied linguistics) การให้เหตุผลแบบจารนัยกำลังถูกเริ่มใช้เป็นคำอธิบายทางเลือกแทนการให้เหตุผลแบบอุปนัยในการรู้จำผลลัพธ์ที่คาดไว้ของการสอบสวนเชิงคุณภาพ ทำให้มีส่วนในกำหนดทิศทางของการวิเคราะห์ มันถูกนิยามเป็น "การใช้ข้อตั้งที่ไม่ชัดเจนจากการสังเกตการณ์ และไล่ตามทฤษฎีต่าง ๆ เพื่ออธิบายมัน"("The use of an unclear premise based on observations, pursuing theories to try to explain it" (Rose et al., 2020, p. 258))[55][56]

มานุษยวิทยา

ในสาขามานุษยวิทยา อัลเฟรด เกลล์ (Alfred Gell) นิยามการจารนัย (ต่อจากเอโก[57]) ในหนังสือทรงอิทธิพลของเขาชื่อ Art and Agency (ศิลปะและผู้กระทำการ) ว่าเป็น "หนึ่งกรณีของการอนุมานเชิงสังเคราะห์ 'ที่ซึ่งเราพบพฤติการณ์ที่น่าฉงนซึ่งจะสามารถอธิบายได้ด้วยข้อสมมุติว่ามันเป็นหนึ่งกรณีของกฎทั่วไปกฎหนึ่ง และเหตุฉะนั้นจึงนำข้อสมมุตินั้นมาใช้'" ("a case of synthetic inference 'where we find some very curious circumstances, which would be explained by the supposition that it was a case of some general rule, and thereupon adopt that supposition'")[58] เกลล์วิจารณ์งานศึกษา "ทางมานุษยวิทยา" เรื่องศิลปะ ณ ตอนนั้นว่าหมกมุ่นกับคุณค่าทางสุนทรียภาพ และหมกมุ่นกับภาระหลักของมานุษยวิทยาในการเปิดเผย "ความสัมพันธ์ทางสังคม" ไม่พอ โดยเฉพาะบริบททางสังคมที่งานศิลปะได้ถูกสร้างสรรค์ หมุนเวียน และรับ[59] การจารนัยถูกใช้เป็นกลไกในการเคลื่อนจากศิลปะเป็นผู้กระทำการ นั่นคือการจารนัยสามารถอธิบายวิธีที่ศิลปะสามารถดล สามัญสำนึก (sensus communis) ขึ้นมา ซึ่งคือมุมมองที่มีร่วมกันระหว่างสมาชิกของสังคมหนึ่ง ซึ่งแสดงลักษณะ (characterize) ของสังคมนั้น ๆ[60]

คำถามที่เกลล์ถามในหนังสือคือ "มัน 'บอก' อะไรกับคนในตอนแรก?" ("how does it initially 'speak' to people?") เขาตอบว่า "ไม่มีคนมีเหตุผลคนไหนจะนึกไม่ได้ว่าความสัมพันธ์แบบศิลปะระหว่างผู้คนและสิ่งของจะมีการสร้างความหมาย (semiosis) เป็นอย่างน้อย" ("No reasonable person could suppose that art-like relations between people and things do not involve at least some form of semiosis.")[58] แต่ทว่าเขาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาที่บอกว่าการสร้างความหมายสามารถมองเป็นภาษาได้ เพราะเช่นนั้นแล้วเขาจำต้องยอมรับการมีอยู่ของ "สามัญสำนึก" ที่มีมาอยู่ก่อนแล้วซึ่งเขาต้องการบอกว่ามันเกิดขึ้นต่อมาทีหลังจากศิลปะเท่านั้น การจารนัยเป็นคำตอบต่อปริศนานี้เพราะธรรมชาติความเป็นคร่าว ๆ ของแนวคิดการจารนัย (ที่เพิร์ซเปรียบเหมือนกับการเดา) แปลว่านอกจากจะใช้งานนอกโครงข่ายที่มีอยู่ก่อนได้แล้ว แต่มากกว่านั้นยังสามารถประกาศการมีอยู่ของโครงข่ายหนึ่งได้ด้วย อย่างที่เกลล์ให้เหตุผลไว้ในการวิเคราะห์ของเขา การมีอยู่ทางกายภาพของงานศิลปะนั้นเองที่กระตุ้นให้ผู้ชมกระทำการจารนัยและใส่เจตนารมณ์ของงานศิลปะเข้าไปเอง ตัวอย่างเช่นรูปปั้นเทพธิดา ในแง่หนึ่งก็ได้กลายเป็นเทพธิดาของจริงในสมองของผู้ชม และไม่ได้เป็นแค่ตัวแทนรูปของเทพองค์หนึ่งเท่านั้นแต่ยังแสดงถึงเจตนาของเธอด้วย (ซึ่งถูกจารนัยจากความรู้สึกถึงการมีอยู่ของเธอ) เพราะฉะนั้นเกลล์อ้างว่าศิลปะสามารถมีความเป็นผู้กระทำ (agency) ในชนิดที่เหมือนกับเมล็ดพันธุ์ที่หยั่งรากและเติบโตไปเป็นตำนานทางวัฒนธรรม พลังของความเป็นผู้กระทำเป็นพลังที่จะผลักดันการกระทำต่าง ๆ และท้ายที่สุดก็ดลใจให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะของสังคม[60]

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ในวิธีการรูปนัย (formal methods) ตรรกะถูกใช้ระบุและตรวจสอบคุณสมบัติของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจารนัยถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์ให้เหตุผลกล (mechanized reasoning tool) เพื่อเพิ่มระดับอัตโนมัติกรรม (automation) ของกิจกรรมการตรวจสอบ

เทคนิคหนึ่งเรียกว่า bi-abduction ซึ่งรวมการจารนัยและปัญหากรอบ (frame problem) ถูกใช้ขยายเทคนิคการให้เหตุผลของคุณสมบัติความจำให้สามารถให้เหตุผลเป็นรหัสหรือโค้ดหลายล้านบรรทัด[61] การจารนัยที่อยู่บนตรรกศาสตร์ถูกใช้เพื่ออนุมานเงื่อนไขก่อน (precondition) ของฟังก์ชันแต่ละอันในโปรแกรมหนึ่งและลดภาระที่มนุษย์ต้องทำ นี่ทำให้เกิดบริษัทสตาร์ทอัพที่รับตรวจสอบโปรแกรมซึ่งถูกซื้อไปโดยเฟสบุ๊ก[62] และอุปกรณ์วิเคราะห์โปรแกรม Infer ซึ่งได้ป้องกันฐานรหัส (Codebase) อุตสาหกรรมจากจุดบกพร่องหลายพันจุด[63]

นอกจากการจารนัยหาเงื่อนไขก่อนของฟังก์ชันแล้ว การจารนัยยังถูกใช้เพื่อทำการอนุมานตัวยืนยง (invariant) ของลูปโปรแกรม (program loop) [64] การอนุมานข้อกำหนดของโค้ดที่ไม่รู้จัก[65] และการสังเคราะห์ตัวโปรแกรมเอง ให้เป็นอัตโนมัติ[66]

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การให้เหตุผลแบบจารนัย http://www.pucsp.br/~lbraga/epap_peir1.htm http://www.creative-wisdom.com/pub/Peirce/Logic_of... http://www.cspeirce.com/menu/library/bycsp/l75/ver... http://www.cspeirce.com/menu/library/bycsp/l75/ver... http://www.degruyter.com/view/j/semi.2005.2005.iss... http://www.karger.com/Article/Pdf/337968 http://social.techcrunch.com/2013/07/18/facebook-m... http://www.textlog.de/7663.html http://www.textlog.de/7664-2.html http://arthistory.berkeley.edu/davis/Gell.pdf