ประวัติ ของ คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น

ระหว่างสมัยKaei era (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1854) เรือของพ่อค้าชาวต่างประเทศเริ่มเข้ามาค้าขายในญี่ปุ่น หลังจากการการฟื้นฟูราชวงศ์เมจิ ในปี ค.ศ. 1868 แล้วญี่ปุ่นก็เริ่มการเปิดประเทศรับสิ่งต่างๆ จากตะวันตกที่รวมทั้งภาพถ่าย และเทคนิคการพิมพ์ ขณะเดียวกับที่ภาพพิมพ์แกะไม้และงานเซรามิคภาพอุกิโยะ ที่ตามด้วยผ้าทอ งานสัมริด เอ็นนาเมลคลัวซอนเน (cloisonné enamel) และศิลปะสาขาอื่นของญี่ปุ่นเข้าไปเป็นที่นิยมกันในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ผู้นิยมญี่ปุ่นก็เริ่มสะสมงานศิลปะของญี่ปุ่นกันอย่างขนานใหญ่ โดยเฉพาะงานพิมพ์ศิลปะภาพอุกิโยะ ที่จะเห็นได้จากตัวอย่างแรกๆ ในปารีส ราว ค.ศ. 1856 ศิลปินชาวฝรั่งเศสเฟลีซ บราเคอมงด์ (Félix Bracquemond) พบงานก็อปปีของภาพร่างเป็นครั้งแรกของหนังสือ งานร่างของโฮะกุไซ (Hokusai Manga) ในห้องพิมพ์ของช่างพิมพ์ของตนเอง ซึ่งเป็นกระดาษที่ใช้ห่อสินค้าพอร์ซีเลน ในปี ค.ศ. 1860 และ ค.ศ. 1861 ก็เริ่มมีการพิมพ์งานขาวดำของภาพอุกิโยะในหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่น

ชาร์ลส์ โบเดอแลร์ (Charles Baudelaire) เขียนในจดหมายในปี ค.ศ. 1861 ว่า "สักชั่วระยะเวลาหนึ่ง ผมได้รับห่อ "ของญี่ปุ่น" (japonneries) ผมก็เลยแบ่งกับเพื่อน...." และปีต่อมา "La Porte Chinoise" ร้านขายสินค้าจากญี่ปุ่นก็ขายสินค้าที่รวมทั้งภาพพิมพ์ก็เปิดขึ้นที่ถนนริโวลีในปารีสซึ่งเป็นถนนสายที่เป็นที่นิยมสำหรับการซื้อของ[1] ในปี ค.ศ. 1871 ชาร์ล กามีย์ แซง-ซองส์ก็เขียนอุปรากรองค์เดียวชื่อ La princesse jaune โดยมีหลุยส์ กาเลต์เป็นผู้เขียนบทร้อง ซึ่งเป็นเรื่องราวของเด็กหญิงชาวดัตช์ผู้อิจฉาเพื่อนศิลปินผู้มีหลงงานภาพพิมพ์แกะไม้ภาพอุกิโยะอย่างหัวปักหัวปำ

The Blooming Plum Tree (ต้นพลัมบาน) ฟินเซนต์ ฟัน โคค (จากฮิโระชิเงะ), ค.ศ. 1887

ในระยะแรกแม้ว่าบราเคอมงด์จะติดต่อหางานพิมพ์ด้วยตนเอง แต่งานพิมพ์แกะไม้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาทางตะวันตกเป็นงานของจิตรกรญี่ปุ่นร่วมสมัยของระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1860 ถึง 1870 จากนั้นก็เป็นเวลานานกว่าที่ทางตะวันตกจะได้เริ่มเห็นงานคลาสสิกของศิลปินชั้นครูรุ่นก่อนหน้านั้น

ขณะเดียวกันกลุ่มปัญญาชนอเมริกันก็ยังยืนกรานว่างานพิมพ์เอะโดะเป็นศิลปะที่หยาบ (vulgar art) ที่มีเอกลักษณ์ของสมัยที่แตกต่างจากงานที่มีลักษณะที่งดงาม เอียงไปทางศาสนา และ มีลักษณะของความเป็นญี่ปุ่นที่เรียกว่ายามาโตะ (大和絵) ภาพจากสมัยยามาโตะก็ได้แก่ภาพเขียนโดยศิลปินเซนชั้นครูเช่น Sesshū Tōyō และ Tenshō Shūbun

นักสะสมศิลปะ นักเขียน และนักวิพากษ์ศิลป์ชาวฝรั่งเศสต่างก็เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1860 ถึง 1880 ที่นำไปสู่การพิมพ์บทความต่างๆ เกี่ยวกับความงามของศิลปะญี่ปุ่นและการเผยแพร่งานภาพพิมพ์จากยุคเอะโดะมากขึ้นในยุโรป โดยเฉพาะในฝรั่งเศส ในบรรดาผู้เดินทางไปญี่ปุ่นก็ได้แก่นักเศรษฐศาสตร์ Henri Cernuschi นักวิพากษ์ศิลป์ ทีโอดอร์ ดูเรต์ และนักสะสมศิลปะชาวอังกฤษวิลเลียม แอนเดอร์สันผู้ใช้เวลาอยู่หลายปีในเอะโดะและสอนการแพทย์ (งานสะสมของแอนเดอร์สันต่อมาซื้อโดยพิพิธภัณฑ์บริติช) นักค้าศิลปะญี่ปุ่นหลายคนต่อมาก็มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในปารีสปารีส เช่นTadamasa Hayashi และ Iijima Hanjuro นอกจากนั้นระหว่างงานนิทรรศการนานาชาติ ค.ศ. 1878 (Exposition Universelle) ที่จัดขึ้นที่ปารีสก็มีการแสดงงานจากญี่ปุ่นหลายชิ้น

ใกล้เคียง

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย คตินิยมสิทธิสตรี คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น คตินิยมนักวิชาการ คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ คตินิยมเชื้อชาติ คตินิยมสรรผสาน คตินิยมเส้นกั้นสี คตินิยมแบบโบลิบาร์ คตินิยมเปลี่ยนแนว