ศิลปินและขบวนการ ของ คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น

ฟัน โคค - ภาพเหมือนของ Père Tanguy ตัวอย่างของงานที่มีอิทธิพลจากภาพอุกิโยะฟัน โคค - "La courtisane" (ตามแบบไอเซน), ค.ศ. 1887

ศิลปินญี่ปุ่นผู้มีอิทธิพลก็ได้แก่อุตามาโระ (Utamaro) และโฮะกุไซ แต่สิ่งที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นคือขณะที่ศิลปะญี่ปุ่นไปมีอิทธิพลต่อศิลปินตะวันตก แต่ในญี่ปุ่น bunmeikaika (文明開化, "ความเป็นตะวันตก") ก็นำไปสู่การลดความนิยมการสร้างงานพิมพ์ภาพในญี่ปุ่นเอง

ศิลปินผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะญี่ปุ่นก็รวมทั้งอาร์เธอร์ เวสลีย์ ดาว (Arthur Wesley Dow), ปีแยร์ บอนาร์, อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, แมรี คัสซาตต์, แอดการ์ เดอกา, ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์, เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์, โกลด มอแน, ฟินเซนต์ ฟัน โคค, กามีย์ ปีซาโร, ปอล โกแก็ง, เบอร์ธา ลัม (Bertha Lum), วิลล์ เบรดลีย์ (Will Bradley), ออบรีย์ เบียร์ดสลีย์ (Aubrey Beardsley), อัลฟอนส์ มูคา (Alphons Mucha), กุสตาฟ คลิมต์ และรวมทั้งสถาปนิก แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์, ชาร์ลส์ เรนนี แม็คคินทอช (Charles Rennie Mackintosh) และสแตนฟอร์ด ไวต์ (Stanford White) ศิลปินบางคนถึงกับย้ายไปตั้งหลักแหล่งในญี่ปุ่นเช่นฌอร์ฌ แฟร์ดีน็อง บีโก (Georges Ferdinand Bigot)

แม้ว่างานศิลปะสาขาต่างๆ จะได้รับอิทธิพลญี่ปุ่น งานพิมพ์เป็นงานที่นิยมกันมากที่สุด งานพิมพ์และงานโปสเตอร์ของอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็กแทบจะไม่อาจจะเป็นงานที่สร้างขึ้นมาได้โดยปราศจากอิทธิพลของศิลปะญี่ปุ่น แต่งานภาพพิมพ์แกะไม้ก็มิได้มีการทำกันมาจนกระทั่งถึงเฟลิกซ์ วาลอตง (Félix Vallotton) และปอล โกแก็ง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นภาพขาวดำ

สตรีผู้ดีตรวจชมฉากญี่ปุ่นโดยเจมส์ ทิสโซต์ ราว ค.ศ. 1869-1870

วิสต์เลอร์มีบทบาทสำคัญในการนำศิลปะญี่ปุ่นเข้ามาในอังกฤษ ปารีสเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นศูนย์กลางของงานศิลปะญี่ปุ่น วิสต์เลอร์ก็สะสมงานเป็นจำนวนมากเมื่อพักอยู่ที่นั่น

งานของฟัน โคคหลายชิ้นก็เป็นงานที่เลียนแบบลักษณะและการวางองค์ประกอบของศิลปะ ภาพอุกิโยะ เช่นภาพ Le Père Tanguy ซึ่งเป็นภาพเหมือนของเจ้าของร้านขายอุปกรณ์ศิลปะ เป็นภาพที่มีงานภาพอุกิโยะหกชิ้นในฉากหลัง ฟัน โคคเขียน "La courtisane" ในปี ค.ศ. 1887 1887 หลังจากที่ได้เห็นงานภาพอุกิโยะโดย Kesai Eisen บนหน้าปกนิตยสาร Paris Illustré ในปี ค.ศ. 1886 ในขณะนั้นที่แอนต์เวิร์ป ฟัน โคคก็เริ่มสะสมภาพพิมพ์ญี่ปุ่นแล้ว

ในด้านดนตรีก็กล่าวได้ว่าจาโกโม ปุชชีนีได้รับอิทธิพลญี่ปุ่นในการเขียนอุปรากร Madama Butterfly กิลเบิร์ตและซัลลิแวนเขียนจุลอุปรากร The Mikado ที่ได้รับอิทธิพลจากงานแสดงนิทรรศการ "Japanese village" ในลอนดอน[2]

ลักษณะของศิลปะญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลต่อศิลปินตะวันตก ก็ได้แก่ความไม่สมมาตร การจัดวางองค์ประกอบของหัวใจของภาพจะไม่อยู่ที่ศูนย์กลาง (off center) และการไม่ใช้ทัศนมิติ การใช้แสงที่ไม่มีเงา และการใช้สีที่สดใส ลักษณะที่ว่านี้ตรงกันข้ามกับศิลปะโรมัน-กรีกที่นิยมกันในบรรดาศิลปินในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้เชื่อว่าตนเองสามารถปลดปล่อยศิลปะให้เป็นอิสระจากศิลปะสถาบัน

การใช้เส้นโค้ง พื้นผิวที่เป็นลาย และความตัดกันของช่องว่าง และความราบของภาพก็มีอิทธิพลต่อนวศิลป์ เส้นและลายเหล่านี้กลายมาเป็นเส้นและลายของงานกราฟิกที่พบในงานของศิลปินทั่วโลก ลักษณะรูปทรง ราบ และสีกลายมาเป็นสิ่งที่ต่อมาเป็นศิลปะนามธรรมของศิลปะสมัยใหม่

ลักษณะของศิลปะญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อศิลปะประยุกต์ที่รวมทั้งเครื่องเรือน ผ้าทอ เครื่องประดับ และการออกแบบกราฟิก

ใกล้เคียง

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย คตินิยมสิทธิสตรี คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น คตินิยมนักวิชาการ คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ คตินิยมเชื้อชาติ คตินิยมสรรผสาน คตินิยมเส้นกั้นสี คตินิยมแบบโบลิบาร์ คตินิยมเปลี่ยนแนว