ความคลาดประจำปี ของ ความคลาดทางดาราศาสตร์

การเลื่อนของตำแหน่งปรากฏบนท้องฟ้าของวัตถุที่ละติจูดสุริยวิถีต่างกัน

เนื่องจากอัตราเร็วของแสงสูงมาก ผู้สังเกตจึงต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วพอสมควรเพื่อตรวจจับความเบี่ยงเบนเนื่องจากความคลาดบนโลก การเคลื่อนที่ที่เร็วที่สุดของผู้สังเกตคือการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก และความคลาดทางดาราศาสตร์ที่เกิดจากสิ่งนี้เรียกว่าความ ความคลาดประจำปี (annual aberration) ความคลาดประจำปีนี้เองที่เจมส์ แบรดลีย์ได้ค้นพบ ซึ่งเป็นหลักฐานโดยตรงชิ้นแรกที่ว่าที่ว่าโลกกำลังเคลื่อนที่ ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แบรดลีย์เองตั้งเป้าที่จะสังเกตพารัลแลกซ์ดาวฤกษ์ด้วย แต่เขาไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้

ความเร็วในโคจรรอบโลกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 29.76 กิโลเมตร/วินาที การใช้สิ่งนี้กับสูตรด้านบนจะให้เวลาสูงสุด 20.49 วินาที วัตถุท้องฟ้าที่ตั้งฉากกับระนาบการโคจรจะเคลื่อนที่ไปเป็นวงกลมเล็ก ๆ บนทรงกลมท้องฟ้าโดยมีรัศมี 20.49 พิลิปดา วัตถุท้องฟ้าที่อยู่บนระนาบการโคจร หรือก็คือบนระนาบสุริยวิถีจะดูเหมือนว่าโคจรไปกลับในระยะทาง 40.98 พิลิปดา ดาวดวงอื่นเองก็จะเคลื่อนที่เป็นวงรีโดยมีแกนเอก 40.98 พิลิปดา และแกนโทขึ้นกับมุมจากระนาบวงโคจร

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต