ลักษณะ ของ ความคิดแทรกซ้อน

คนจำนวนมากประสบกับความคิดไม่ดีหรือที่ไม่พึงประสงค์ คล้ายกับความคิดแทรกซอนที่สร้างปัญหา แต่โดยมากสามารถเลิกคิดได้[1]คือ สำหรับคนโดยมาก ความคิดเช่นนี้ เป็นเพียงเรื่องน่ารำคาญประเดี๋ยวเดียว[5]นักจิตวิทยาชาวแคนาดาคนหนึ่ง (Stanley Rachman) ใช้แบบสอบถามกับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ปกติแล้วพบว่า เกือบทุกคนกล่าวว่า คิดเช่นนี้เป็นครั้งคราวรวมทั้งความคิดเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ, การลงโทษทางเพศ, กิจกรรมทางเพศ "ที่ไม่เป็นธรรมชาติ", ปฏิบัติการทางเพศที่ทำให้เจ็บปวด, จินตภาพที่ดูหมิ่นศาสนาหรือลามก, ความคิดทำร้ายคนแก่หรือบุคคลใกล้ ๆ ตัว, ความรุนแรงต่อสัตว์หรือเด็ก ๆ, และการระเบิดพูดคำหยาบคายหรือคำมุทะลุ[6]ความคิดไม่ดีเช่นนี้เป็นเรื่องทั่วไปในมนุษย์ และ "แทบแน่นอนว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์มาตลอดกาล"[7]

แต่เมื่อความคิดแทรกซอนเกิดร่วมกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คนไข้สามารถไม่สนใจในความคิดที่ไม่น่าพอใจน้อยกว่า และอาจสนใจพวกมันอย่างไม่ควร เป็นเหตุให้เกิดความคิดบ่อยขึ้นและทำให้ทุกข์มากขึ้น[1]ความคิดอาจจะเกิดย้ำ ๆ เป็นเหตุให้ทำอะไรไม่ได้ เกิดรุนแรง และมีอยู่ตลอด โดยอาจเป็นความคิดเกี่ยวกับความรุนแรงหรือทางเพศ จนถึงความดูหมิ่นศาสนา[5]สิ่งที่ไม่เหมือนกับคนปกติก็คือ ความคิดแทรกซอนพร้อมกับ OCD จะสร้างความวิตกกังวล ระงับไม่ได้ และคงยืน[8]

การตอบสนองอาจเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อไรความคิดจะกลายเป็นเรื่องรุนแรง เกิดย้ำ ๆ หรือจำเป็นต้องรักษาความคิดแทรกซอนสามารถเกิดพร้อมหรือไม่ กับการกระทำย้ำ ๆแม้ว่าการทำย้ำ ๆ อาจช่วยลดความวิตกกังวล แต่ทุกครั้งที่เกิดก็จะทำให้รู้สึกว่าต้องทำมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งช่วยเสริมแรงความคิดแทรกซอน[1]ตามนักวิชาการ การห้ามความคิดก็จะมีผลแค่ทำให้มันแรงขึ้น และการยอมรับอย่างเข้าใจว่า ความคิดไม่ดีไม่ได้หมายความว่าตนเป็นคนชั่วจริง ๆ เป็นขั้นตอนหนึ่งในการเอาชนะมัน[9]

มีหลักฐานว่าการยอมรับมีผลช่วยระงับความคิดแทรกซอนคืองานศึกษาแสดงว่า คนที่บอกให้ห้ามความคิดแทรกซอนจะมีทุกข์มากกว่าหลังจากการห้าม ในขณะที่คนไข้ที่บอกให้ยอมรับความคิดไม่ดีจะอึดอัดไม่สบายน้อยลง[10]ผลอาจสัมพันธ์กับกระบวนการทางประชานที่เป็นมูลของ OCD[11]

การยอมรับความคิดอาจจะทำได้ยากกว่าสำหรับคนไข้ OCD ซึ่งเป็นโรคที่รู้จักในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 19 ว่า "โรคช่างสงสัย/ช่างระแวง (the doubting sickness)"[12]เพราะ "ความสงสัยแบบเป็นโรค" ที่มาพร้อมกับ OCD สามารถทำให้คนไข้แยกความคิดแทรกซอน "ปกติ" ดังที่ประสบโดยคนส่วนมากได้ยาก ทำให้ตน "เป็นทุกข์เงียบ ๆ รู้สึกอายหรือกังวลเกินควรว่าคนอื่นจะคิดว่าตนบ้า"[13]

คนไข้โดยมากที่เป็นทุกข์เพราะความคิดแทรกซอน มีโอกาสปฏิบัติตามความคิดนั้นน้อยคนไข้ที่รู้สึกผิด วิตกกังวล อาย และวุ่นวายใจอย่างรุนแรงเพราะความคิดเหล่านั้น ต่างจากคนปฏิบัติตามความคิดจริง ๆ เพราะว่า ตามประวัติแล้ว อาชญากรรมรุนแรงมักจะทำโดยบุคคลที่ไม่รู้สึกผิดหรือเสียใจความจริงเองว่า คนนั้นรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับความคิดแทรกซอนและไม่เคยประพฤติตามความคิดมาก่อน เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าตนจะไม่ปฏิบัติตามความคิดในอนาคตคนไข้ที่ไม่เดือดร้อนหรืออายเพราะความคิด หรือไม่รังเกียจความคิด หรือเคยปฏิบัติตามความคิดจริง ๆ อาจจะต้องตรวจดูว่ามีโรครุนแรงกว่า เช่น โรคจิต (psychosis) หรือพฤติกรรมอาชญากรรม หรือเปล่า[14]

ตามนักวิชาการ คนไข้ควรเป็นห่วงว่าความคิดแทรกซอนอาจเป็นอันตราย ถ้าไม่รู้สึกวุ่นวายเพราะความคิดเหล่านั้น แต่กลับรู้สึกดี หรือเคยปฏิบัติตามความคิดหรือแรงกระตุ้นให้ทำความรุนแรงหรือการทางเพศ หรือได้ยินเสียงหรือเห็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น หรือโกรธอย่างควบคุมไม่ได้ อย่างอดกลั้นไม่ได้[15]

ความคิดก้าวร้าว

ความคิดแทรกซอนอาจเป็นการย้ำคิดแบบรุนแรงเรื่องทำร้ายคนอื่นหรือตนเอง[16]ซึ่งอาจสัมพันธ์กับโรคย้ำคิดย้ำทำโดยย้ำคิดเป็นหลัก (primarily obsessional obsessive compulsive disorder) และอาจรวมการทำร้ายเด็กที่ไม่มีความผิดอะไร การกระโดดจากสะพาน จากภูเขา หรือจากตึกสูง อาจรวมแรงกระตุ้นให้กระโดดให้รถไฟหรือรถยนต์ชน หรือให้ผลักคนอื่นให้ถูกชน[4]

งานสำรวจของนักจิตวิทยาชาวแคนาดา (Rachman) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ปกติ พบว่า นักศึกษาเกือบทั้งหมดมีความคิดแทรกซอนเป็นครั้งคราว ความคิดรวมทั้ง[6]

  • ทำร้ายคนชรา
  • จินตนาการหรืออธิษฐานให้คนใกล้ตัวเป็นอันตราย
  • ความรู้สึกพลันแล่นที่จะโจมตี ตี ทำร้าย หรือฆ่าคน เด็กเล็ก หรือสัตว์ อย่างรุนแรง
  • ความรู้สึกพลันแล่นที่จะตะโกนใส่หรือด่าบางคน หรือโจมตีและทำโทษบางคนอย่างรุนแรง หรือกล่าวสิ่งที่หยาบ ไม่สมควร น่ารังเกียจ และรุนแรงต่อบางคน

ความคิดเช่นนี้เป็นส่วนของการเป็นมนุษย์ และไม่จำเป็นต้องทำลายคุณภาพชีวิต[17]ถ้าความคิดสัมพันธ์กับ OCD และเกิดอย่างคงยืน รุนแรง หรือเป็นทุกข์ ก็สามารถรักษาได้

ความคิดทางเพศ

การย้ำคิดทางเพศรวมทั้งความคิดแทรกซอนหรือจินตภาพเพื่อ "จูบ จับ ลูบไล้เคล้าคลึง การร่วมเพศทางปาก การร่วมเพศทางทวารหนัก และการข่มขืน"กับคนต่าง ๆ รวมทั้ง "คนแปลกหน้า คนคุ้นเคย พ่อแม่ เด็ก สมาชิกครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน สัตว์ และบุคคลในศาสนา" โดยเป็น "เรื่องรักต่างเพศ หรือรักร่วมเพศ" กับคนอายุเท่าไรก็ได้[18]เหมือนกับความคิดหรือจินตภาพแทรกซอนที่ไม่ต้องการอื่น ๆ ทุกคนมีความคิดทางเพศที่ไม่สมควรเป็นครั้งคราว แต่คนไข้ OCD อาจให้ความสำคัญต่อความคิดทางเพศที่ไม่ต้องการ แล้วเกิดวิตกกังวลและความทุกข์ความกังขาที่มากับ OCD ทำให้รู้สึกไม่แน่ใจว่า ตนจะปฏิบัติตามความคิดแทรกซอนนั้นหรือไม่ ทำให้ตำหนิหรือเกลียดตัวเอง[18]

ความคิดแทรกซอนทางเพศที่ค่อนข้างสามัญอย่างหนึ่งคือความสงสัยในเอกลักษณ์ทางเพศ (sexual identity) ของคนย้ำคิดในกรณีการย้ำคิดทางเพศ คนไข้อาจรู้สึกอายแล้วจึงใช้ชีวิตตัวคนเดียว โดยพบว่ายากที่จะพูดถึงความกลัว ความสงสัย และความกังวลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางเพศของตน[12]คนที่มีความคิดแทรกซอนทางเพศอาจรู้สึกอาย"กระดากใจ รู้สึกผิด ทุกข์ทรมาน กลัวว่าจะปฏิบัติตามความคิดหรือแรงกระตุ้นที่มี และสงสัยว่า ตนได้ประพฤติเช่นนั้นแล้วหรือไม่"ความซึมเศร้าอาจเป็นผลของการเกลียดตนเอง โดยขึ้นอยู่ว่า OCD รบกวนชีวิตประจำวันหรือทำให้ทุกข์มากแค่ไหน[18]

ความกังวลเกี่ยวกับความคิดเช่นนี้อาจทำให้ตรวจดูสรีระของตนเพื่อกำหนดว่าความคิดทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศหรือไม่แต่ว่า แม้แต่การใส่ใจที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็อาจมีผลเป็นความรู้สึกที่ตรงนั้น ดังนั้น การทำเช่นนั้นสามารถลดความมั่นใจและเพิ่มความกลัวเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งของการรักษาความคิดแทรกซอนทางเพศก็คือช่วยคนไข้ให้ยอมรับความคิดและหยุดพยายามสร้างความมั่นใจโดยการเช็คสรีระร่างกาย[19]

ความคิดทางศาสนา

ความคิดดูหมิ่นศาสนาเป็นองค์ประกอบสามัญของ OCD โดยปรากฏตลอดประวัติศาสตร์คนสำคัญทางศาสนารวมทั้งมาร์ติน ลูเทอร์ และอิกเนเชียสแห่งโลโยลา รู้กันว่า ได้ทนทุกข์ทรมานกับความคิดแทรกซอนและแรงกระตุ้นให้ดูหมิ่นศาสนา[20]เช่น ลูเทอร์รู้สึกแรงกระตุ้นให้สาปแช่งพระเป็นเจ้าและพระเยซู และหมกมุ่นในจินตภาพเกี่ยวกับ "ก้นของซาตาน"[20][21]ส่วนอิกเนเชียสมีความหมกมุ่นหลายอย่าง รวมทั้งกลัวเหยียบฟางที่วางเป็นรูปกางเขนเพราะเป็นการไม่เคารพต่อพระเยซู[20][22]

งานศึกษาคนไข้ 50 คนที่วินิจฉัยว่ามี OCD พบว่า 40% มีความคิดทางศาสนาหรือดูหมิ่นศาสนาและความสงสัยในตัวเองซึ่งสูงกว่า 38% ที่หมกมุ่นกับความสกปรกและความเปื้อนที่สัมพันธ์กับ OCD อย่างสามัญกว่า แม้อัตราที่มากกว่าจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ[23]งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เรื่องที่คิดอาจต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม และความคิดดูหมิ่นศาสนาอาจจะสามัญในชายมากกว่าหญิง[24]

ตามนักจิตวิทยาชาวนิวยอร์กคนหนึ่ง (Fred Penzel) ความคิดหมกมุ่นหรือความคิดแทรกซอนสามัญเกี่ยวกับศาสนาก็คือ[13]

  • ความคิดทางเพศเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า นักบุญ และคนสำคัญทางศาสนาอื่น ๆ
  • ความคิดหรือจินตภาพที่ไม่ดีเมื่อสวดมนต์หรือทำสมาธิ
  • ความคิดว่าถูกซาตานเข้าสิง
  • ความกลัวการทำบาป ทำลายกฎศาสนา หรือทำพิธีกรรมได้ไม่ถูกต้อง
  • ความกลัวว่าจะข้ามบทสวด หรือท่องได้ไม่ถูกต้อง
  • ความคิดดูหมิ่นศาสนาซ้ำ ๆ หรือแทรกซอน
  • แรงกระตุ้นหรือความหุนหันพลันแล่นให้กล่าวคำดูหมิ่นศาสนา หรือประพฤติดูหมิ่นศาสนาในระหว่างพิธีศาสนา

คนไข้อาจทุกข์มากกว่า รักษายากกว่า เมื่อมีความคิดแทรกซอนเกี่ยวกับศาสนา[20]เพราะอาจเชื่อว่า ความคิดมาจากซาตาน[25]และอาจกลัวการลงโทษของพระเป็นเจ้า หรืออายเพิ่มขึ้นเพราะมองตัวเองว่าเป็นบาป[26]คนไข้ที่มุ่งมั่นหรือมีความเชื่อทางศาสนาอย่างเต็มเปี่ยม อาจทุกข์มากกว่า[13]

นักวิชาการเชื่อว่า ความคิดดูหมิ่นศาสนาจะสามัญในคนคริสตังและคริสเตียนมากกว่า เทียบกับชาวยิวและชาวมุสลิมที่มักคิดหมกมุ่นเรื่องทำตามกฎและพิธีกรรมทางศาสนา และต้องทำพิธีกรรมให้สมบูรณ์[27]โดยมีสมมติฐานว่า สิ่งที่พิจารณาว่าไม่สมควรต่างกันระหว่างวัฒนธรรมและศาสนา และคนไข้จะเป็นทุกข์กับความคิดที่ไม่สมควรมากที่สุดในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ[28]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต