โรคที่สัมพันธ์กัน ของ ความคิดแทรกซ้อน

ความคิดแทรกซอนสัมพันธ์กับโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive personality disorder)[29]แต่ก็สามารถเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ได้ด้วย[3]เช่น ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)[30]โรคซึมเศร้า (MDD)[31]ความซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)[8]และความวิตกกังวล[32][33]อาการเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง[34]มักจะมีในบุคคลที่ความคิดแทรกซอนได้ถึงระดับรุนแรงที่ควรรักษา (clinical level) [35]

งานศึกษาขนาดใหญ่ปี 2548 พบว่า ความหมกมุ่นที่ก้าวร้าว เรื่องทางเพศ หรือเรื่องศาสนา สัมพันธ์อย่างกว้าง ๆ กับ โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าที่เกิดร่วมกัน (comorbid)[36]ส่วนความคิดแทรกซอนที่เกิดในคราวกำเริบของโรคจิตเภท จะต่างจากความคิดหมกมุ่นที่เกิดกับ OCD หรือโรคซึมเศร้า เพราะว่าความคิดของคนไข้โรคจิตเภทไม่ใช่เรื่องจริงหรือเป็นความเชื่อที่หลงผิด(คือ คนไข้คิดว่าเป็นเรื่องจริงโดยไม่สงสัย ซึ่งไม่เหมือนความคิดแทรกซอนทั่วไป)[37]

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ

ความแตกต่างสำคัญระหว่าง OCD และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ก็คือความคิดแทรกซอนของ PTSD อาจเป็นเหตุการณ์ที่ได้เกิดกับตนจริง ๆ เทียบกับคนไข้ OCD ที่เป็นเพียงแค่ความคิดแบบจินตนาการโดยที่คนไข้ PTSD ต้องแยกความคิดแทรกซอนเรื่องความรุนแรง เรื่องทางเพศ และเรื่องดูหมิ่นศาสนาจากการระลึกถึงเหตุการ์ณสะเทือนใจจริง ๆ[38]และถ้าคนไข้ที่คิดแทรกซอนไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจจะต้องพิจารณาว่า ได้มีทารุณกรรมทางกาย ทางอารมณ์ หรือทางเพศเกิดขึ้นในอดีตหรือไม่[39]

โรคซึมเศร้า

คนที่มีโรคซึมเศร้าอาจประสบกับความคิดแทรกซอนที่แรงกว่า และมองความคิดว่าเป็นหลักฐานแสดงว่าตนไม่มีค่าหรือเป็นบาปแต่ความคิดฆ่าตัวตายที่สามัญในโรคซึมเศร้าต้องแยกจากความคิดแทรกซอน เพราะว่าความคิดฆ่าตัวตาย โดยไม่เหมือนกับความคิดทางเพศ ก้าวร้าว หรือทางศาสนา อาจเป็นอันตราย[40]

ความซึมเศร้าหลังคลอดและ OCD

ความคิดไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับการทำอันตรายต่อลูกที่เกิดใหม่ เป็นเรื่องสามัญในความซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) [41]งานศึกษาปี 2542 ในหญิง 65 คนที่มีความซึมเศร้าหลังคลอดพบว่า ความคิดก้าวร้าวบ่อยที่สุดเป็นเรื่องทำอันตรายต่อทารกที่เกิดใหม่ของตน[42]งานวิจัยในแม่ใหม่ 85 คนพบว่า 89% มีจินตภาพแทรกซอน เช่น เกี่ยวกับทารกหายใจไม่ออก มีอุบัติเหตุ ถูกทำอันตราย หรือถูกลักพาตัว[8][43]

หญิงบางคนอาจมีอาการ OCD ระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังคลอด[8][44]OCD หลังคลอดโดยหลักเกิดในหญิงที่อาจมี OCD อยู่แล้ว น่าจะในรูปแบบเบา ๆ หรือที่ตรวจยังไม่พบความซึมเศร้าหลังคลอดและ OCD อาจเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกัน (comorbid)และแม้ว่า แพทย์อาจจะให้ความสำคัญต่ออาการซึมเศร้ามากกว่า แต่งานศึกษาหนึ่งก็พบว่า ความคิดแทรกซอนเกิดกับความซึมเศร้าหลังคลอดในแม่ใหม่ 57%[8]

งานปี 2542 พบความย้ำคิดในเรื่องทำอันตรายต่อทารกเกิดใหม่ในแม่ที่ประสบกับความซึมเศร้าหลังคลอด รวมทั้งจินตภาพที่เห็นเด็กนอนตายอยู่ในโลงหรือกำลังถูกกินโดยปลาฉลาม การแทงเด็ก โยนเด็กลงจากบันได กดเด็กจมน้ำในอ่างอาบ โยนเด็กเข้ากองไฟ หรือใส่เด็กในเตาอบไมโครเวฟ[42]นักวิชาการประเมินว่า แม่ใหม่ถึง 200,000 คนในสหรัฐอเมริกาที่ซึมเศร้าหลังคลอดแต่ละปี อาจคิดหมกมุ่นเช่นนี้เกี่ยวกับทารกของตน[45]และเพราะว่าตนอาจจะไม่ค่อยอยากบอกความคิดเช่นนี้กับแพทย์หรือสมาชิกครอบครัว หรือเป็นทุกข์อย่างเงียบ ๆ โดยคิดว่าตน "บ้า" ความซึมเศร้าก็อาจแย่ลง[46]

ความกลัวแทรกซอนเรื่องทำอันตรายต่อเด็กเกิดใหม่ อาจจะคงยืนไปจนถึงหลังพักคลอดการศึกษาในหญิงซึมเศร้า 100 คนพบว่า 41% หมกมุ่นกลัวว่าตนอาจทำร้ายลูกของตน โดยบางคนกลัวจนไม่กล้าเลี้ยงดูลูกส่วนในหญิงปกติ แม่ 7% จะมีความคิดทำร้ายลูกของตน[47]ซึ่งเพิ่มแม่ที่ไม่มีโรคซึมเศร้าอีก 280,000 คนในสหรัฐ ที่คิดแทรกซอนเรื่องทำร้ายลูกตนเอง[48]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต