ความใส่ใจ ของ ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

มนุษย์มีเขตลานสายตาจำกัด ที่ต้องย้ายไปตามสิ่งเร้าที่ต้องการเห็นการใส่ใจเป็นกระบวนการทางประชานที่ทำหน้าที่นี้ให้สำเร็จ และอาจเป็นเหตุของปรากฏการณ์การเห็นตามความปรารถนาส่วนความคาดหวัง ความปรารถนา และความกลัว ล้วนแต่เป็นปัจจัยในการย้ายความใส่ใจ[10] และดังนั้น ความรู้สึกเหล่านี้ อาจมีอิทธิพลต่อประสบการณ์การรับรู้นอกจากนั้นแล้ว การใส่ใจจะช่วยในการวางแผนการเคลื่อนไหว เป็นกลไกที่สิ่งเร้าทางตาสามารถมีผลต่อพฤติกรรม[18]

ความบกพร่องของการใส่ใจ อาจนำไปสู่ประสบการณ์รับรู้ที่แปรไปInattentional blindness (ความบอดเพราะไม่ใส่ใจ) ที่เกิดขึ้นเมื่อเราไม่สังเกตเห็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวัง เป็นความบกพร่องเช่นนี้อย่างหนึ่ง[19] ในการทดลองหนึ่งที่ใช้ปรากฏการณ์ความบอดเพราะไม่ใส่ใจ นักวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองตรึงตราที่กากบาทตรงกลางจอคอมพ์แรกสุด จะมีตัวเลขที่แสดงว่าจะมีอักษรกี่ตัวมาปรากฏที่แขนของกากบาท ฉายที่กลางกากบาทแล้วอักษรก็จะปรากฏตรงแขนในการทดลองสี่ครั้ง ตัวเลขที่แสดงจะเท่ากับจำนวนอักษรที่ปรากฏแต่ในการทดลองที่ 5 ผู้ร่วมการทดลองครึ่งหนึ่งจะเห็นเลขน้อยกว่าที่ตัวอักษรจะปรากฏ และอีกครึ่งหนึ่งจะเห็นตัวเลขเท่ากับจำนวนอักษรแล้วอักษรก็จะปรากฏ แต่มาพร้อมกับสิ่งเร้าที่ไม่ได้คาดหวังอีกตัวหนึ่งและจะมีการถามผู้ร่วมการทดลองว่า มีอักษรอะไรที่ปรากฏ และเห็นสิ่งเร้าอื่น ๆ อีกหรือไม่ผู้ร่วมการทดลองที่คาดหวังว่าจะมีอักษรปรากฏน้อยกว่าความจริง จะเกิดความบอดเพราะไม่ใส่ใจมากกว่า และไม่สามารถตรวจจับสิ่งเร้าที่เพิ่มขึ้น บ่อยครั้งกว่าผู้ร่วมการทดลองที่คาดหวังว่าจะมีอักษรปรากฏตรงความจริงผลการทดลองนี้แสดงว่า การคาดหวังจะมีอิทธิพลต่อสมรรถภาพในการใส่ใจ[20] ซึ่งเป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการทางประชานต่าง ๆ ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างประสบการณ์การรับรู้

แม้ว่าความใส่ใจจะช่วยการประมวลผลเพื่อการรับรู้ แต่ว่า การไม่ใส่ใจสิ่งเร้า กลับทำให้รู้สึกว่า สิ่งเร้าปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นได้[21] ในการทดลองหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองจะได้ตัวชี้ล่วงหน้าว่า ควรจะใส่ใจที่แนวทแยงมุมไหน (ในสองแนว)จากนั้นก็จะมีการแสดงสิ่งเร้า ซึ่งเป็นตะแกรงรูปกลมที่มีลายต่าง ๆ กันแล้วก็จะแสดงตัวชี้แนวทแยงมุม (ที่อาจไม่เหมือนตัวชี้ล่วงหน้า) ที่ผู้ร่วมการทดลองต้องตัดสินการรับรู้ของตนในกรณี 70% ตัวชี้ที่แสดงก่อน จะเหมือนกับตัวชี้จริง ๆ และในกรณี 30% จะไม่เหมือนหลังจากนั้น ก็จะให้ผู้ร่วมการทดลอง บอกลายของตะแกรงในแนวทแยงมุม ที่ตัวชี้จริง ๆ บอก แล้วรายงานความชัดเจนของเขตนั้นด้วยวิธีการเช่นนี้ จึงสามารถเปรียบเทียบสิ่งเร้าที่ใส่ใจ (คือที่ชี้บอกล่วงหน้า) และที่ไม่ใส่ใจ (ที่ชี้บอกไม่ตรงการทดสอบจริง ๆ)[21] ผู้ร่วมการทดลองกลับรายงานว่า เขตที่ไม่ได้ใส่ใจเห็นชัดเจนกว่าดังนั้น การไม่ใส่ใจ อาจทำให้ประเมินค่าความชัดเจนของการรับรู้สูงเกินจริง[21] งานศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า ความเอนเอียงโดยการใส่ใจซึ่งเป็นกลไกของการคิดตามความปรารถนา ไม่ได้อาศัยสิ่งที่เราจ้องดูอยู่เป็นปัจจัยเท่านั้น แต่ต้องอาศัยสิ่งเร้าที่ไม่ได้ใส่ใจด้วย

การประเมินอารมณ์ความรู้สึก

เราตัดสินใจว่าคนอื่นมีอารมณ์เป็นอย่างไร อาศัยสีหน้า อากัปกิริยา และพื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อม[22] แต่ว่า พื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อม และพื้นฐานทางวัฒนธรรม ปรากฏว่ามีอิทธิพลต่อการรับรู้และการตีความ[22][23] ความแตกต่างที่พบในวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเรื่องความบอดการเปลี่ยนแปลง (change blindness) สัมพันธ์กับการใส่ใจกับสิ่งที่เห็นโดยเป็นแบบเฉพาะ[24] ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมของชาวตะวันออก มักจะเน้นสิ่งที่แวดล้อมวัตถุ ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตก จะโฟกัสที่วัตถุหลัก[24] ดังนั้น วัฒนธรรมสามารถมีอิทธิพลต่อข้อมูลที่ได้จากใบหน้า เหมือนกับที่มีต่อการสังเกตดูวัตถุหนึ่ง ๆ ในสิ่งแวดล้อมยกตัวอย่างเช่น คนผิวขาวมักจะสนใจที่ตา จมูก และปาก ในขณะที่คนเอเชีย มักจะโฟกัสอยู่ที่ตา[23] มีการทดลองที่ให้ผู้ร่วมการทดลองจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ดูรูปใบหน้า แล้วให้จัดกลุ่มตามอารมณ์ที่แสดงบนใบหน้าดังนั้น ความต่าง ๆ กันของส่วนต่าง ๆ บนใบหน้า จะทำให้เกิดการตีความอารมณ์ต่าง ๆ กัน[23] การโฟกัสที่ตาของคนเอเชีย อาจทำให้เห็นใบหน้าที่สะดุ้งตกใจ ว่าเป็นความประหลาดใจ มากกว่าจะเป็นความกลัว[23] ดังนั้น พื้นเพของบุคคล อาจจะทำให้ตีความอารมณ์ต่าง ๆ กันความแตกต่างในการรับรู้อารมณ์ทางตา ดูเหมือนจะบอกเป็นนัยว่า ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ เป็นกลไกของการเห็นตามความปรารถนาเพราะว่า มีการใส่ใจบางส่วนของใบหน้า (เช่น จมูกและตา) และมีบางส่วนที่ไม่ได้รับการใส่ใจ (เช่น ปาก)

การมองในแง่ดี

การเห็นตามความปรารถนา อาจสัมพันธ์กับความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) ที่เรามักจะหวังผลที่ดีจากเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่า ความหวังเช่นนั้นอาจจะไม่เข้ากับความเป็นจริงในงานทดลองเพื่อกำหนดวงจรประสาทที่สัมพันธ์กับความเอนเอียงนี้ มีการใช้ fMRI เพื่อสร้างภาพสมองของบุคคลที่กำลังระลึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต (autobiographical memory) แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนความทรงจำเหล่านั้นโดยค่าลักษณะต่าง ๆคะแนนที่ให้แสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองเห็นเหตุการณ์เชิงบวกในอนาคต ว่ามีค่าบวกสูงกว่าเหตุการณ์บวกในอดีต และเหตุการณ์เชิงลบว่าอยู่ห่างไกลกว่าตามกาลเวลาเกินความจริงส่วนเขตในสมองที่ทำงานก็คือ anterior cingulate cortex ด้านหน้า (rostral ACC ตัวย่อ rACC) และอะมิกดะลา ในสมองซีกขวาและจะทำงานน้อยกว่าเมื่อระลึกถึงเหตุการณ์เชิงลบในอนาคตรู้กันมาก่อนแล้วว่า rACC มีส่วนในการประเมินข้อมูลเชิงอารมณ์ และเชื่อมต่อกับอะมิกดะลาในระดับสูงมีการเสนอว่า rACC ควบคุมการทำงานในเขตสมอง ที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำอาศัยเหตุการณ์ (autobiographical memory)จึงทำให้สามารถเกิดความรู้สึกเชิงบวกกับเหตุการณ์ในอนาคตได้[25]

เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณา การเคลื่อนไหวของตาและการทำงานในสมอง ว่าสัมพันธ์กับการคิดและการเห็นตามความปรารถนา และการมองในแง่ดี (optimism) อย่างไรงานวิจัยในปี ค.ศ. 2006 ตรวจสอบการมอง (gaze) ที่ประกอบด้วยแรงจูงใจ ซึ่งนักวิจัยอ้างว่า มีสหสัมพันธ์ระดับสูง กับความสนใจและบุคลิกภาพของคนมอง[26] คือมีการให้ผู้ร่วมการทดลองที่แจ้งเองว่า ตนเองเป็นคนมองโลกในแง่ดีในระดับต่าง ๆ ดูรูปมะเร็งผิวหนัง ลายวาดที่คล้ายกับมะเร็งผิวหนัง และใบหน้าที่มีสีหน้าเฉย ๆ[26] โดยใช้ระบบติดตามลูกตา ที่วัดการย้ายที่การมองนักวิจัยพบว่า คนหนุ่มสาวที่มองโลกในแง่ดีมากกว่า จะดูรูปมะเร็งน้อยกว่าหนุ่มสาวที่มองโลกในร้าย[26] ผลงานทดลองนี้ทำซ้ำได้ในงานศึกษาต่อมา ที่ตรวจสอบความเสี่ยงทางพันธุกรรมของผู้ร่วมการทดลอง ต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังคือพบว่า แม้ว่าผู้ร่วมการทดลองบางส่วนจะมีความเสี่ยงสูงกว่า การมองโลกในแง่ดีมากกว่า ก็ยังสัมพันธ์กับการมองรูปมะเร็งผิวหนังน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่รูปควรจะเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับผู้มีความเสี่ยงสูง[26]

ใกล้เคียง

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล ความปลอดภัยของไฮโดรเจน ความปั่นป่วน ความประมาทเลินเล่อ ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น ความปวด ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟน ความปราถนาทางเพศกับวัตถุ ความประสงค์สุดท้ายและพินัยกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ความปลอดภัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล http://ejournals.ebsco.com/direct.asp?ArticleID=41... http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11817755 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1451413 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17014288 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17201572 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17410379 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17564203 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17960136 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18045917