ระเบียบวิธีที่ใช้ทดสอบ ของ ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

การศึกษาเรื่องการคิดตามความปรารถนาในสาขาจิตวิทยา มักจะใช้รูปภาพที่ไม่ชัดเจน (ambiguous image) เพราะมีสมมุติฐานว่า เมื่อมีสิ่งเร้าที่ไม่ชัดเจน ผู้ร่วมการทดลองจะตีความสิ่งเร้าตามวิธีที่ขึ้นกับพื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อมที่ได้ประสบ หรือกับ priming ที่ได้งานศึกษาในปี ค.ศ. 2013 ตรวจสอบการคิดตามความปรารถนาโดยการทดลองสองงาน งานหนึ่งใช้รูปคลุมเครือ 2 รูป รูปแรกอาจเห็นเป็นตัวอักษรอังกฤษ “B” หรือเลข “13” ก็ได้ และอีกรูปหนึ่งอาจจะเป็นม้าหรือาจจะเป็นแมวน้ำก็ได้การทดลองงานที่สองทดสอบโดยการแข่งขันระหว่างสองตา ที่แสดงสิ่งเร้าสองอย่างที่ตาแต่ละข้างพร้อม ๆ กัน คืออักษร “H” และเลข “4”ในการทดลองทั้งสอง นักวิจัยได้ให้ค่าสิ่งเร้าอันหนึ่งโดยเป็นผลที่น่าปรารถนา และสิ่งเร้าอีกอันหนึ่งว่าไม่น่าปรารถนา คือ ในการทดลองแรก อักษร “B” มีค่าเป็นน้ำส้มคั้นสด และเลข “13” เป็นสมูททีสุขภาพที่ไม่น่ารับประทาน และในการทดลองที่สอง อักษรมีค่าเป็นการได้ทรัพย์ และตัวเลขมีค่าเป็นการเสียทรัพย์[3] ผลงานทดลองแสดงว่า เรามีโอกาสที่จะเห็นสิ่งเร้าที่มีผลบวก มากกว่าสิ่งเร้าที่มีผลลบ[3] สหสัมพันธ์ที่มีกำลังระหว่างการรับรู้กับสิ่งเร้าเชิงบวก เทียบกับสิ่งเร้าเชิงลบ แสดงว่า เรามักจะเห็นความเป็นจริงในโลกตามความปรารถนาของเราการเห็นตามความปรารถนา บอกเป็นนัยว่า การรับรู้ของเราจะขึ้นอยู่กับแรงจูงใจ (motivation-based)[3]

มีงานศึกษามากมายที่อ้างว่า สิ่งที่มนุษย์รับรู้หรือเห็น ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจและเป้าหมายภายใน แต่ว่า ก็ยังสำคัญที่จะพิจารณาว่า สถานการณ์ที่ใช้เป็น priming ในงานศึกษาบางงาน หรือว่าแม้แต่ มุมมองภายในของผู้ร่วมการทดลอง อาจจะมีผลต่อการตีความสิ่งเร้า[3] ดังนั้น จึงมีงานศึกษาหนึ่งในปี ค.ศ. 2007 ที่แบ่งนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยคอร์เนลออกเป็นสามกลุ่ม แล้วให้นักศึกษาจินตนาการให้ละเอียดที่สุดในเรื่องสามเรื่อง คือ ให้มองขึ้น (ให้จิตนาการเงยหน้าดูตึกขนาดใหญ่) ให้มองลง (ก้มหน้าดูหุบเขาลึก) และให้มองตรง ๆ (มองตรงดูสนามที่ราบเรียบ)แล้วก็แสดงลูกบาศก์เนกเกอร์ที่ตีความได้หลายแบบบนจอคอมพิวเตอร์ แล้วให้กดปุ่มเมาส์ที่เส้นสีน้ำเงินที่ดูใกล้กว่าเส้นที่ผู้ร่วมการทดลองเลือก จะขึ้นอยู่กับว่า ผู้ร่วมการทดลองเห็นว่า ลูกบาศก์มีก้นขึ้นหรือมีก้นลง[27] ผลงานศึกษานี้แสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองที่มองขึ้นโดยมากจะเห็นลูกบาศก์ว่ามีก้นขึ้น ที่มองลงโดยมากจะเห็นว่ามีก้นลง และที่มองตรง ๆ จะเห็นว่ามีก้นขึ้นก้นลงแบ่งเท่า ๆ กัน[27] ซึ่งแสดงว่า การใช้ภาษาในช่วง priming จะมีผลต่อการรู้จำวัตถุ (object identification)[27]

ผลงานคล้าย ๆ กันก็มีในงานศึกษาในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งศึกษาการคิดตามความปรารถนาและการรู้จำวัตถุแบบมีเป้าหมาย (goal-oriented object identification)โดยตรวจสอบระดับความกระหายน้ำของผู้ร่วมการทดลอง สัมพันธ์กับความโน้มเอียงในการชี้บอกสิ่งเร้าที่มีความใสไม่ชัดเจน ว่าใส (นักวิจัยกล่าวว่า ความใสเป็นคุณสมบัติที่ไม่ชัดแจ้งเกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งปกติเป็นสารที่ใส)[28] งานวิจัยแสดงความโน้มเอียงที่ชัดเจนของผู้ร่วมการทดลองที่หิวน้ำ (โดยให้รับประทานมันฝรั่งทอดก่อนการทดลอง) ที่จะตีความสิ่งเร้าที่คลุมเครือว่าใส[28] และผู้ร่วมการทดลองที่ไม่หิวน้ำ (โดยให้ทานน้ำจนกระทั่งบอกเองว่า ไม่หิวน้ำแล้ว) มีโอกาสน้อยกว่าที่จะตีความสิ่งเร้าคลุมเครือว่าใส[28] งานวิจัยสรุปว่า การเปลี่ยนสภาวะทางชีวภาพ ในกรณีนี้คือความหิวน้ำ ที่สามารถมีอิทธิพลต่อการคิดตามความปรารถนา สามารถมีผลโดยตรงกับการเห็นสิ่งเร้า[28]

งานศึกษาปี ค.ศ. 2011 แสดงผลของการคิดตามความปรารถนา โดยแสดงผลงานวิจัยที่กุขึ้นสองงานกับพ่อแม่ เกี่ยวกับผลของการเลี้ยงลูก โดยส่งไปสถานรับเลี้ยงเด็ก เทียบกับเลี้ยงอยู่ที่บ้านพ่อแม่ที่สบสน (คือตั้งใจจะส่งลูกไปที่เลี้ยงเด็กแม้ว่าจะเชื่อว่า เลี้ยงอยู่ที่บ้านดีกว่า) ให้คะแนนดีกว่ากับงานวิจัยที่บอกว่า เลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็กดีกว่า และให้คะแนนแย่กว่ากับงานวิจัยที่บอกว่า เลี้ยงอยู่ที่บ้านดีกว่าส่วนพ่อแม่ที่ไม่สับสน (ที่คิดว่าเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านดีกว่า และตั้งใจจะเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านเท่านั้น) ให้คะแนนดีกว่ากับงานวิจัยที่บอกว่า เลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านดีกว่าดังนั้น พ่อแม่ล้วนแต่ให้คะแนนกับงานวิจัย ที่เข้ากับความตั้งใจในการเลี้ยงลูกของตน ว่าดีกว่าแม้ว่า (ในกรณีของพ่อแม่ที่สับสน) งานวิจัยจะแสดงผลตรงกับข้าม กับความเชื่อเบื้องต้นของตน[2] ในการตรวจสอบหลังการทดลอง พ่อแม่ที่สับสน จะเปลี่ยนความเชื่อเบื้องต้นของตน แล้วอ้างว่า ตนเชื่อว่า การเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านไม่ได้ดีกว่าเลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็กส่วนพ่อแม่ที่ไม่สับสน ก็ยังอ้างต่อไปว่า การเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านดีกว่า แม้ว่าจะลดระดับลง[2]

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2012 ใช้ความคลุมเครือตามธรรมชาติในการตัดสินระยะทาง เพื่อวัดผลของการเห็นตามความปรารถนาในงานทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองจะตัดสินระยะทางของสิ่งเร้าต่าง ๆ ในขณะที่ผู้วิจัย จะเปลี่ยนความน่าต้องการของสิ่งเร้าให้มีค่าต่าง ๆ ในการทดลองหนึ่ง มีการทำให้ผู้ร่วมการทดลองหิวน้ำ โดยให้บริโภคอาหารที่มีเกลือ หรือให้หายหิวโดยให้ดื่มจนอิ่มแล้วให้ประเมินระยะทางไปยังขวดน้ำผู้ร่วมการทดลองที่หิวน้ำ ให้คะแนนขวดน้ำว่าน่าชอบใจมากกว่า และเห็นว่าอยู่ใกล้กว่า ผู้ร่วมการทดลองที่ไม่หิวน้ำ[10]

ส่วนในอีกการทดลองหนึ่ง มีการให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินระยะทางไปยังผลการทดสอบ ที่เป็นผลเชิงลบหรือผลเชิงบวก และไปยังบัตรของขวัญ (บัตรมีมูลค่าเพื่อซื้อของที่ให้เป็นของขวัญ) มีมูลค่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐ ที่ตนมีโอกาสได้หรือไม่ได้ผู้ร่วมการทดลองจะเห็นผลการทดสอบว่าใกล้กว่า ถ้าเป็นผลเชิงบวก และบัตรของขวัญว่าใกล้กว่า ถ้ามีโอกาสที่จะได้[10] ผู้ทำการทดลองกำจัดตัวแปรสับสนคืออารมณ์ที่ดี โดยวัดความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานสร้างคำ (word creation task) และวัดความตื่นตัวทางสรีระ[10] และกำจัด reporter bias ในการทดลองหนึ่งโดยให้ผู้ร่วมการทดลองโยนถุงบรรจุก้อนกลม ๆ ไปที่บัตรของขวัญที่ยึดอยู่ที่พื้นคือ การโยนถุงใกล้เกินไปแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองเห็นบัตรว่าใกล้กว่า และการโยนถุงไกลเกินไปแสดงว่า เห็นบัตรของขวัญว่าไกลกว่างานทดลองแสดงว่า ความน่าปรารถนาของวัตถุ จะเปลี่ยนระยะทางที่เห็นของวัตถุ[10]

แต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางที่รับรู้กับความน่าปรารถนา อาจจะซับซ้อนเกินกว่าที่คิดในเบื้องต้น เพราะว่า พื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อม (context) อื่น ๆ สามารถมีผลต่อความบิดเบือนของการรับรู้จริงอย่างนั้น ในเหตุการณ์อันตราย ความเอนเอียงที่เกิดจากความปรารถนาอาจจะหายไป ทำให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องและในเวลาเดียวกัน ความบิดเบือนที่เกิดจากสิ่งเร้าที่อันตราย อาจแก้ได้โดยใช้ psychosocial resources (ทรัพยากรทางจิตสังคม)[29] ซึ่งมีความหมายตามที่กำหนดโดยแบบจิตวิทยา Resources and Perception Model (RPM) ว่าเป็นการได้รับความสนับสนุนจากสังคม (social support), ความรู้สึกว่าตนมีค่า (Self-esteem), ความรู้สึกว่าตนมีความสามารถ (self-efficacy), ความหวัง, การมองในแง่ดี, ความรู้สึกว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ (perceived control), และความเป็นผู้เปิดเผย (self-disclosure)ผู้ร่วมการทดลองจะกำหนดระยะทาง ในขณะที่ผู้ทำงานวิจัยเปลี่ยนแปลงความรู้สึกว่าตนมีค่าของผู้ร่วมการทดลอง โดยให้จินตนาการสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วให้ดูสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย (แมงมุมทารันทูล่า) หรือที่ไม่เป็นอันตราย (ตุ๊กตาแมว)ความรู้สึกว่าตนมีค่า มีผลต่อการรับรู้สิ่งเร้าที่เป็นอันตรายเท่านั้นคือ ความรู้สึกว่าตนมีค่าขึ้น สัมพันธ์กับการประเมินระยะทางที่แม่นยำกว่า ไปยังสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย[29]

การเป็นตัวแทนสิ่งแวดล้อม

วิธีการศึกษาอีกอย่างหนึ่ง ที่สามารถแสดงการเห็นตามความปรารถนาได้ ก็คือ โดยสังเกตการสร้างแบบจำลองเป็นตัวแทนของสิ่งแวดล้อมของระบบประสาท (ที่ทำให้เกิดการเห็น)[3] มีงานศึกษาหลายงานที่แสดงหลักฐานสนับสนุนว่า ความปรารถนาหรือแรงจูงใจ จะมีผลต่อการประเมินขนาด ระยะทาง ความเร็ว ความยาว และความชัน ของสิ่งแวดล้อม หรือของวัตถุเป้าหมายยกตัวอย่างเช่น เราจะเห็นวัตถุที่น่าปรารถนาว่าอยู่ใกล้กว่าความจริง[3] การเห็นตามความปรารถนา ยังมีผลต่อการเห็นลูกบอลและอุปกรณ์อื่น ๆ ของนักกีฬาด้วย[30] ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬาซอฟต์บอลผู้เห็นลูกบอลว่าใหญ่กว่า จะตีลูกบอลได้ดีกว่า และนักกีฬาเทนนิสที่ตีรับลูกบอลได้ดีกว่า จะเห็นเน็ตต่ำกว่า และเห็นลูกบอลว่าช้ากว่า[30]

ความมีแรง จะมีผลต่อการรับรู้ระยะทางและความชันคือคนที่ต้องถือแบกของหนัก จะเห็นเนินเขาว่าชันกว่าไกลกว่า และของที่วางไว้บนเขาเทียบกับของที่วางไว้ในที่ราบ จะดูไกลกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรง จะเห็นเนินเขาว่าเตี้ยกว่าและนักวิ่งที่เหนื่อยจะเห็นเนินเขาว่าชันกว่า[3][31]

การรับรู้เช่นนี้ควบคุมโดยหลักการที่เรียกว่า "การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ" (efficient energy expenditure)[32] คือ ความพยายามที่รู้สึกว่าต้องทำมากขึ้น (เช่นเขาชันกว่าความจริง) เมื่อหมดแรง อาจจะยังให้บุคคลพักแทนที่จะใช้พลังงานเพิ่มขึ้น[31]

ความไม่กลมกลืนกันทางประชาน (cognitive dissonance) อาจมีผลต่อการรับรู้ระยะทาง[3] ในการทดลองหนึ่ง มีการปรับเปลี่ยนความไม่กลมกลืนกันทางประชานของผู้ร่วมการทดลอง คือ ในกลุ่ม high choice นักศึกษาผู้ร่วมการทดลองจะถูกหลอกให้เชื่อว่า ตนได้เลือกที่จะใส่เสื้อผ้าของคาร์เม็น มิรานดา (นักบันเทิงมีชื่อเสียงในการใส่เสื้อผ้าแปลกประหลาด) แล้วต้องเดินข้ามวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย แต่ในกลุ่ม low choice จะมีการบอกนักศึกษาว่า ต้องใส่เสื้อผ้าในกลุ่ม high choice เพื่อที่จะลดความไม่กลมกลืนทางประชาน นักศึกษาจะเปลี่ยนทัศนคติของตนเพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์คือ จะมองเห็นสิ่งแวดล้อมว่าเล็กน้อยกว่า (เช่น ทางที่ต้องเดินสั้นกว่า) เทียบกับนักศึกษาในกลุ่ม low choice[27] ส่วนการทดลองที่ตรวจสอบการรับรู้ความชัน ให้ผลที่คล้าย ๆ กัน เป็นการทดลองที่นักศึกษาในสองกลุ่ม ต้องดันตัวเองขึ้นทางชันบนสเกตบอร์ดโดยใช้แต่แขนเท่านั้นนักศึกษาในกลุ่ม high choice รู้สึกว่าทางชันน้อยกว่านักศึกษาในกลุ่ม low choice เป็นความรู้สึกที่ลดความไม่กลมกลืนกันทางประชานงานทดลองทั้งสองนี้บอกเป็นนัยว่า แรงจูงใจมีบทบาทสำคัญในการรับรู้สิ่งแวดล้อม เพื่อจะสนับสนุนเราให้มีพฤติกรรม ที่นำไปสู่การได้สิ่งที่ต้องการ หรือการทำงานที่ต้องการให้สำเร็จ[27]

ใกล้เคียง

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล ความปลอดภัยของไฮโดรเจน ความปั่นป่วน ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น ความประมาทเลินเล่อ ความปวด ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟน ความปราถนาทางเพศกับวัตถุ ความประสงค์สุดท้ายและพินัยกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ความปลอดภัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล http://ejournals.ebsco.com/direct.asp?ArticleID=41... http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11817755 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1451413 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17014288 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17201572 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17410379 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17564203 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17960136 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18045917