ประวัติ ของ ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การคิดตามความปรารถนา เป็นเรื่องที่เสนอเป็นครั้งแรกจากแนวคิดทางจิตวิทยาที่เรียกว่า "New Look"ซึ่งเป็นแบบจิตวิทยาที่สร้างความนิยมโดยเจโรม บรูเนอร์ และเซซิล กูดแมน ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950ในงานศึกษาคลาสสิกปี 1947 พวกเขาให้เด็กบอกขนาดของเหรียญกระษาปณ์ โดยให้แสดงด้วยขนาดของรูกลม ๆ ที่กล่องไม้คือให้เด็กแต่ละคนถือเหรียญในมือซ้าย ในส่วนสูงและระยะทางเท่ากับรูบนกล่องไม้แล้วหมุนลูกบิด เพื่อเปลี่ยนขนาดของรูด้วยมือขวามีเด็กสามกลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองสองกลุ่มและกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่มมีเด็ก 10 คนกลุ่มควบคุมจะประเมินขนาดเหรียญกระดาษแทนเหรียญกระษาปณ์การทดลองพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กกลุ่มทดลองจะประเมินขนาดเหรียญ ใหญ่เกินความจริง 30%

ในการทดลองที่สอง พวกเขาแบ่งเด็กขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจแล้วก็ให้เด็กทั้งที่ "รวย" และ "จน" ประเมินขนาดเหรียญกระษาปณ์โดยวิธีเดียวกันและเหมือนกับที่คาดหวัง เด็กทั้งสองกลุ่มประเมินขนาดเหรียญเกินความจริง แต่เด็กกลุ่มจน ประเมินเกินมากถึง 50% ในขณะเด็กกลุ่มรวย ประเมินเกินเพียงแค่ 20%นักวิจัยสรุปจากผลที่ได้นี้ว่า เด็กจนต้องการเงินมากกว่า ดั้งนั้น จึงเห็นเหรียญใหญ่กว่าสมมุติฐานนี้ เป็นฐานของจิตวิทยาแบบ "New Look" ซึ่งเสนอว่า ประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับวัตถุ จะมีอิทธิพลต่อการเห็นวัตถุนั้น[8]

แม้ว่าจะมีงานวิจัยต่อ ๆ มาที่สามารถทำซ้ำผลที่ได้ ต่อมา วิธีแบบ "New Look" ก็ตกความนิยมไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เพราะการทดลองเต็มไปด้วยความผิดพลาดทางระเบียบวิธี ที่ไม่ได้กำจัดตัวแปรสับสน (confounding)[9] แต่งานวิจัยในปี ค.ศ. 2013 ได้เพิ่มความนิยมในมุมมองนี้อีก และได้ปรับปรุงระเบียบวิธี ที่แก้ปัญหาในงานศึกษาดั้งเดิม[10]

ใกล้เคียง

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล ความปลอดภัยของไฮโดรเจน ความปั่นป่วน ความประมาทเลินเล่อ ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น ความปวด ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟน ความปราถนาทางเพศกับวัตถุ ความประสงค์สุดท้ายและพินัยกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ความปลอดภัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล http://ejournals.ebsco.com/direct.asp?ArticleID=41... http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11817755 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1451413 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17014288 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17201572 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17410379 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17564203 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17960136 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18045917