กลไกที่เป็นฐาน ของ ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

ทางประชาน

กลไกทางประชานที่แน่นอน ของการคิดตามความปรารถนาและการเห็นตามความปรารถนา ยังไม่ชัดเจนแต่ก็มีทฤษฎีที่เสนอคืออาจจะเกิดจากกลไก 3 อย่างคือ ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attention bias) ความเอนเอียงในการตีความ (interpretation bias) หรือ ความเอนเอียงโดยการตอบสนอง (response bias)ดังนั้น จึงมีช่วง 3 ช่วงตามลำดับในการประมวลผลทางประชาน ที่การคิดตามความปรารถนาอาจเกิดขึ้น[3][11] ในช่วงการประมวลผลทางประชานที่ต่ำสุด เราอาจใส่ใจในสิ่งต่าง ๆ โดยคัดเลือกคือจะใส่ใจในหลักฐานที่สนับสนุนความปรารถนาของตน แล้วไม่ใส่ใจหลักฐานที่ค้าน[3][11] หรือว่า การคิดตามความปรารถนาอาจจะเกิดขึ้นจากการตีความสิ่งต่าง ๆ โดยคัดเลือกในกรณีนี้ เราไม่ได้เปลี่ยนความใส่ใจในสิ่งต่าง ๆ แต่เปลี่ยนความสำคัญที่ให้[11] หรือว่า การคิดตามความปรารถนา อาจเกิดขึ้นในระดับการประมวลผลทางประชานที่สูงกว่า เช่น เมื่อตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเอนเอียง[11]

ส่วนการเห็นตามความปรารถนา อาจจะมีกลไกเช่นเดียวกันการคิดตามความปรารถนา เพราะว่า เป็นการประมวลวัตถุที่รับรู้ รวมทั้งสิ่งที่เห็นแต่ว่า เพราะมีการประมวลผลสิ่งที่เห็นก่อนจะเกิดความสำนึก ให้สัมพันธ์กับผลที่ต้องการ ดังนั้น ความเอนเอียงในการตีความ และ ความเอนเอียงโดยการตอบสนอง จะไม่สามารถเกิดขึ้นในระยะนี้ เพราะว่า ความเอนเอียงเหล่านั้น จะเกิดขึ้นในช่วงประมวลผลทางประชานที่ประกอบด้วยความสำนึก[12]และดังนั้น กลไกที่สี่ที่เสนอซึ่งเรียกว่า perceptual set อาจจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้[3] คือว่า มีสภาพทางจิตใจหรือการสร้างความสัมพันธ์ ที่ทำงานก่อนที่จะเห็น และจะช่วยนำทางการประมวลผลของระบบการเห็นดังนั้น สิ่งที่เห็น จึงอาจสามารถรู้จำได้ง่าย[3]

มีนักวิชาการบางท่านที่เชื่อว่า การเห็นตามความปรารถนา เป็นผลจากการประมวลผลทางประชานในระดับสูงซึ่งสามารถมีผลต่อการรับรู้วัตถุ (perceptual experience) ไม่ใช่เพียงแค่มีผลต่อการประมวลผลในระดับสูงเท่านั้นส่วนนักวิชาการพวกอื่นไม่เห็นด้วยเพราะเชื่อว่า ระบบรับความรู้สึกทำงานโดยเป็นหน่วยจำเพาะ (modular) และสภาวะทางประชานจะมีอิทธิพล ก็ต่อเมื่อมีการรับรู้สิ่งเร้าแล้ว[8] อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์การเห็นตามความปรารถนา แสดงความเกี่ยวข้องของการประมวลผลระดับสูงกับการรับรู้[3]

การจัดประเภท

การเห็นตามความปรารถนา ปรากฏว่าเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ในการจัดประเภทของสิ่งที่รับรู้ในงานวิจัยที่ทดลองโดยรูปที่คลุมเครือ (ambiguous image) หรือโดยการแข่งขันระหว่างสองตา (binocular rivalry)[13] โดยการรับรู้ (perception) ได้รับปัจจัยทั้งจากการประมวลผลทางประชานระดับบน (top-down) และระดับล่าง (bottom-up)ในเรื่องการเห็น การประมวลผลระดับล่างที่เป็นปัจจัยนั้น เป็นกระบวนการมีขั้นตอนที่แน่นอน ไม่เหมือนกับกับการประมวลผลระดับบน ซึ่งยืดหยุ่นได้ดีกว่า[14] ในการประมวลผลระดับล่าง สิ่งเร้าจะกำหนดได้โดยการตรึงตาอยู่กับที่ ระยะทาง และบริเวณโฟกัส ของวัตถุที่เห็น ในขณะที่การประมวลผลระดับบน จะกำหนดโดยสิ่งที่อยู่แวดล้อมมากกว่าซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ในการทดลองที่ใช้เทคนิค priming (การเตรียมการรับรู้) และเปลี่ยนสภาวะต่าง ๆ ทางอารมณ์[15]

แบบจำลองที่ใช้ผ่าน ๆ มา เป็นการประมวลข้อมูลไปตามลำดับชั้น ซึ่งอธิบายการประมวลผลทางตาระยะต้น ๆ ว่า เป็นไปในทางเดียว คือ ผลการเห็นที่ประมวลจะส่งไปยังระบบความคิด (conceptual system) แต่ระบบความคิดจะไม่มีผลต่อกระบวนการทางตา[16] แต่ในปัจจุบันนี้ ผลงานวิจัยปฏิเสธแบบจำลองนี้ และบอกเป็นนัยว่า ข้อมูลความคิดสามารถมีผลโดยตรงต่อการประมวลผลทางตาชั้นต้น ๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สร้างความโน้มเอียงให้กับระบบการรับรู้เท่านั้น[15]

วงจรประสาท

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เขตในสมองที่กระตุ้นการเห็นและการคิดตามความปรารถนา เป็นเขตเดียวกันกับการระบุกลุ่มของตน (social identification) และความรู้สึกที่ดี (social reward) ทางสังคมงานศึกษาหนึ่งตรวจสอบโครงสร้างเหล่านี้โดยใช้ MRI เมื่อผู้ร่วมการทดลองประเมินค่าความน่าจะเป็น ของชัยชนะของทีมอเมริกันฟุตบอลแต่ก่อนที่จะให้ประเมิน ผู้ร่วมการทดลองจะชี้ว่าชอบ ไม่ชอบ และรู้สึกเฉย ๆ กับทีมไหนบ้างรู้กันมาก่อนแล้วว่า การคิดตามความปรารถนาสัมพันธ์กับการระบุกลุ่มทางสังคม (social identity theory) ที่เราจะชอบใจคนในกลุ่มของเรา (Ingroups หรือกลุ่มใน) มากว่าคนนอกกลุ่ม (Ougroups หรือกลุ่มนอก)[17] และในงานศึกษานี้ ก็พบว่า ผู้ร่วมการทดลองจะชอบใจ ทีมที่ตัวเองรู้สึกว่าตนคล้ายคลึงมากที่สุด

ในช่วงเวลาที่ทดสอบความคิดตามความปรารถนา มีการทำงานที่ต่างกันในสมอง 3 เขต คือ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าส่วนหลังด้านใน (dorsal medial prefrontal cortex) สมองกลีบข้าง และ fusiform gyrus ในสมองกลีบท้ายทอยการทำงานที่แตกต่างกันในสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบข้าง บอกเป็นนัยว่า มีความใส่ใจแบบคัดเลือกโดยเฉพาะอย่างหนึ่งที่ให้กับสิ่งที่รับรู้ซึ่งเป็นหลักฐานว่า มีการประมวลผลทางประชานในระดับต่ำ หรือว่ามีความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attention bias)[12]

แต่ว่าการทำงานที่แตกต่างกันในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ก็แสดงด้วยว่ามีการประมวลผลทางประชานระดับสูง ซึ่งสัมพันธ์กับความชอบใจเนื่องกับการระบุกลุ่มทางสังคม[12] ดังนั้น เมื่อสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน เช่นเป็นทีมอเมริกันฟุตบอลที่ตนชอบ ก็จะเกิดการทำงานในคอร์เทกซ์และการระบุกลุ่มของตน ซึ่งทำให้เกิดความสุขสบาย ก็จะกระตุ้น reward system (ระบบรางวัล เป็นระบบที่ให้ความรู้สึกสุขสบาย เมื่อมีการกระทำที่เข้ากัน) ให้ทำงาน[12] การทำงานที่แตกต่างกันของระบบรางวัล ปรากฏพร้อมกับการทำงานของสมองกลีบท้ายทอยเท่านั้น[12] ดังนั้น การทำงานของระบบรางวัลเนื่องจากการระบุกลุ่มของตน อาจจะนำทางการใส่ใจในการเห็น[12][17]

วิถีประสาท Magnocellular (M) และ Parvocellular (P) ซึ่งส่งสัญญาณไปที่ orbitofrontal cortex ในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า มีบทบาทสำคัญในการประมวลผลทางตา ที่ได้รับอิทธิพลจากการประมวลผลทางประชานระดับสูง[15] สัญญาณสิ่งเร้าที่ส่งผ่านวิถีประสาท M จะเริ่มการทำงานใน orbitofrontal cortexและวิถีประสาท M แบบเร็ว จะเชื่อมกับระบบรู้จำวัตถุทั้งในระบบสายตาเบื้องต้น ทั้งในสมองกลีบขมับด้านหลัง (Inferotemporal cortex) ให้ทำงานกับ orbitofrontal cortexร่วมกันสร้างการคาดหมายว่า สิ่งที่รับรู้นั้นคืออะไร[16] สิ่งเร้าที่ใช้กระตุ้นวิถีประสาท M เป็นลายวาดไม่มีสี ภายใต้แสงที่ต่ำส่วนที่ใช้กระตุ้นวิถีประสาท P เป็นลายวาดมีสี ภายใต้แสงที่กระจายทั่วกันมีการตรวจสอบโดยให้ผู้ร่วมการทดลองชี้ว่า ลายที่วาดใหญ่หรือเล็กกว่ากล่องรองเท้า[16] แล้วใช้ fMRI เพื่อสอดส่องการทำงานใน orbitofrontal cortex และสมองกลีบขมับด้านหลัง เพื่อตัดสินใจว่า วิถีประสาทไหนจะช่วยให้รู้จำวัตถุได้เร็วกว่า[16] ผลการทดลองสนับสนุนความคิดว่า เซลล์ประสาทในวิถีประสาท M มีบทบาทสำคัญในการรู้จำวัตถุที่มีรายละเอียดต่ำ เพราะช่วยให้เกิดกระบวนการทำงานในระบบประชานระดับสูงมีผลเป็นการคาดหมายวัตถุ ที่ช่วยให้รู้จำวัตถุได้เร็วขึ้น[16]

ใกล้เคียง

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล ความปลอดภัยของไฮโดรเจน ความปั่นป่วน ความประมาทเลินเล่อ ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น ความปวด ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟน ความปราถนาทางเพศกับวัตถุ ความประสงค์สุดท้ายและพินัยกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ความปลอดภัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล http://ejournals.ebsco.com/direct.asp?ArticleID=41... http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11817755 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1451413 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17014288 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17201572 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17410379 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17564203 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17960136 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18045917