ข้อวิจารณ์ ของ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

พระราชดำรัส

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ว่า[6]

แต่ว่าความจริง ก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน แล้วก็ไม่กลัว ถ้าใครจะวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน

และ

แต่อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่ง ต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่ พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์ ต้องบอกว่าเข้าคุกแล้วต้องให้อภัย ที่เขาด่าเราอย่างหนัก ฝรั่งเขาบอกว่าในเมืองไทยนี่ พระมหากษัตริย์ถูกด่า ต้องเข้าคุก

ที่จริงควรเข้าคุก แต่เพราะฝรั่งบอกอย่างนั้น ก็ไม่ให้เข้า ไม่มีใครกล้าเอาคนที่ด่าพระมหากษัตริย์เข้าคุก เพราะพระมหากษัตริย์เดือดร้อน เขาหาว่าพระมหากษัตริย์เป็นคนที่ไม่ดี อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นคนที่จั๊กจี้ ใครว่าไรซักนิด ก็บอกให้เข้าคุก ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุก ตั้งแต่สมัยรัชกาลก่อนๆ เป็นกบฏ ก็ยังไม่จับใส่คุก ไม่ลงโทษ รัชกาลที่ 6 ท่านไม่ลงโทษ ไม่ได้ลงโทษผู้ที่เป็นกบฏ มาจนถึงต่อมา รัชกาลที่ 9 ใครเป็นกบฏ ก็ไม่เคยมีแท้ๆ ที่จริงก็ทำแบบเดียวกันไม่ให้เข้าคุก ให้ปล่อย หรือถ้าเข้าคุกแล้วก็ให้ปล่อย ถ้าไม่เข้าก็ไม่ฟ้อง เพราะเดือดร้อนผู้ที่ถูกด่า เป็นคนเดือดร้อน

การบังคับใช้

วันที่ 1 กันยายน 2557 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ให้สัมภาษณ์รายการ "คืนความจริง" ว่า มาตราดังกล่าวเป็นเครื่องมือของทุกรัฐบาลเพื่อกดขี่ราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า การจับคนเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกครั้งเป็นการรังแกพระองค์ และทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทุกรัฐบาลที่อ้างว่าจงรักภักดี ลึก ๆ แล้วไม่จงรัก และยกตัวอย่างจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีซึ่งจับคนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากที่สุด แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ของเยอรมนีก็สิ้นไปก่อนพระองค์สวรรคตเสียอีก สุลักษณ์ว่าเขาเสียใจที่ไม่มีปัญญาชนเห็นโทษของกฎหมายนี้ ไม่เห็นหัวใจของเสรีภาพ ไม่เห็นหัวใจของประชาธิปไตย ไม่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นลำดับ เป็นปศุสัตว์เชื่อง ๆ ให้ใครเขาสั่งได้[5]

การเรียกร้องให้ปฏิรูปข้อหา

โดยที่ปรากฏเป็นทั่วไปว่าการฟ้องร้องบุคคลตามความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ใครก็ได้สามารถฟ้องร้องบุคคลใดก็ตามที่ตนเองคิดว่าน่าจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรานี้และพนักงานสืบสวนมีอำนาจในการวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนสั่งฟ้อง จึงได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายเสียใหม่

  • ศาสตราจารย์ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เสนอให้คงกฎหมายไว้เช่นเดิม แต่ให้แก้ไขให้อัยการสูงสุดมีสิทธิ์ขาดในสืบสวนและสั่งฟ้องแต่ผู้เดียวเท่านั้น โดยให้คำสั่งของอัยการสูงสุดเป็นสิทธิ์ขาด จะอุทธรณ์คำสั่งหรือจะเอาผิดอัยการสูงสุดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิได้[62]
  • จดหมายเปิดผนึกถึงอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงนามโดยนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงทั่วโลก[63] มีข้อเรียกร้องสามข้อ คือ
    1. ให้หยุดการใช้มาตรการที่กดขี่ข่มเหงการแสดงความคิดเห็นของบุคคลโดยสงบเพื่อไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
    2. ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิด และปกป้องพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์ในเวทีสากล
    3. ให้พิจารณาถอนการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบัน ปลดปล่อยนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นไม่ควรเป็นอาชญากรรม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว[64] การเรียกร้องมีขึ้นเนื่องจากผู้เข้าร่วมเสาวนาอ้างว่ามีผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวนมาก ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการเปิดตัวกลุ่มกิจกรรม “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้” โดยมีการตะโกนคำว่ายกเลิก 112 ไปตลอดเส้นทาง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถึงอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศจุดยืนให้ยกเลิกกฎหมายประมวลอาญามาตรา 112 โดยมีกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มแนวร่วมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จิตรา คชเดช ผู้ถูกเลิกจ้างอันทำให้บริษัทเสื่อมเสียฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย เป็นแกนนำ[65]

นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวตามเว็บไซต์ต่าง ๆ

ต่างประเทศ

องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่า ทุกคนที่ถูกจำคุกด้วยความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์เป็นนักโทษการเมือง[66]

ในเว็บไซต์เอเชียนคอร์เรสปอนเดนท์ ให้ความเห็นว่า การใช้กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์และกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์กำลังบ่อนทำลายระบบตุลาการและกฎหมายไทยอย่างร้ายแรง[67]

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะนิวซีแลนด์เฮรัลด์ วันที่ 12 มกราคม 2558 ว่า "การวิจารณ์พระบรมวงศานุวงศ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยแน่นอน การห้ามนั้นดูเหมือนมาจากยุคกลาง อันที่จริง การแนะว่า พระบรมวงศานุวงศ์ควรได้รับความคุ้มกันจากการวิจารณ์จะเป็นการเหยียบย่ำหลักการซึ่งเป็นมูลฐานของประชาธิปไตยสมบูรณ์ใด ๆ แต่คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยเพิ่มการฟ้องคดีอาญาความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องสงสัยว่า คณะทหารฯ จะอ้างว่าเป็นการสนองต่อชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งยังเคารพราชวงศ์ ทว่า ส่วนใหญ่มันชี้ไปยังพันธะซึ่งมาจากการสนับสนุนของพระมหากษัตริย์"[68]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย http://www.smh.com.au/national/author-denies-it-wa... http://www.theaustralian.com.au/news/thais-detain-... http://rspas.anu.edu.au/rmap/newmandala/wp-content... http://asiancorrespondent.com/97037/thailands-lese... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/investigation/2571... http://www.bangkokpost.com/news/local/189225/man-a... http://www.bangkokpost.com/news/local/233524/intel... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/14766/l... http://article112.blogspot.com/2011/03/112_30.html