สถานะปัจจุบัน ของ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ตั้งแต่ปี 2533 ถึง 2548 ระบบศาลไทยมีคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพียงสี่หรือห้าคดีต่อปี ทว่า ระหว่างเดือนมกราคม 2549 ถึงพฤษภาคม 2554 มีการพิจารณากว่า 400 คดี หรือประเมินว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,500[7] ผู้สังเกตการณ์ให้เหตุผลถึงการเพิ่มขึ้นดังกล่าวว่า เกิดจากการแยกเป็นสองขั้วเพิ่มขึ้นหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และความละเอียดอ่อนต่อพระพลานามัยที่เสื่อมลงของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชราภาพ[7]

พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ไม่เคยฟ้องร้องข้อกล่าวหาเป็นการส่วนพระองค์ภายใต้กฎหมายนี้ อันที่จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 พาดพิงถึงผู้ที่พระองค์ทรงขอมิให้มองข้ามธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์[8] หลังจากนั้นได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไม่หยุดตามมา และการดำเนินคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์เพิ่มขึ้นมาก

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์มักใช้ปิดปากการอภิปรายบทบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหารเมื่อปี 2549 มีการอ้างว่าพระองค์หรือที่ปรึกษาของพระองค์รู้เห็นรัฐประหารปี 2549 ก่อนเกิดจริงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีการใช้กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ปราบปรามแนวความคิดดังกล่าว โดยมีจำนวนผู้ถูกจำคุกด้วยเหตุนี้เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

นักวิชาการถูกสอบสวน จำคุกจากความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ในปี 2550 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ จากภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ต้องหาหลังถามนักศึกษาในข้อสอบว่า สถาบันพระมหากษัตริย์จำเป็นต่อสังคมไทยหรือไม่ และสถาบันพระมหากษัตริย์สามารถปฏิรูปให้เข้ากับระบบประชาธิปไตยได้หรือไม่ ทางมหาวิทยาลัยส่งกระดาษคำตอบของนักศึกษาและคะแนนของอาจารย์[9] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักประวัติศาสตร์ ถูกจับหลังเสนอแผนแปดข้อว่าด้วยการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ สมศักดิ์อ้างว่าเขาไม่เคยเสนอให้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และไม่เคยหมิ่นองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[10][11] รองศาสตราจารย์ ใจ อึ๊งภากรณ์ลี้ภัยหลังหนังสือ A Coup for the Rich ของเขาตั้งคำถามถึงบทบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในรัฐประหารเมื่อปี 2549[12]

วันที่ 13 กันยายน นาย ยุทธภูมิ มาตรนอก ถูกพี่ชายแท้ ๆ ฟ้องฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเขาถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2555 เนื่องจากศาลเห็นว่าความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ กรณีนี้ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ถูกใช้เป็นเครื่องมือของความขัดแย้งในครอบครัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากฎหมายนี้ถูกใช้ไปในทางที่ผิดได้ง่าย ตำรวจ อัยการและศาลมักเกรงกลัวว่า ตนจะถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี หากพวกเขาไม่ดำเนินคดีในข้อหานี้[13]

รายงานประจำปี 2557 ของฮิวแมนไรท์วอตช์ ว่า แม้การจับกุมและพิพากษาลงโทษฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยจะลดลงมากในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ยังมีการใช้กฎหมายดังกล่าวร่วมกับพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ผู้ถูกตั้งข้อหานี้มักไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำหลายเดือนก่อนมีการไต่สวนในชั้นศาล และคำพิพากษาส่วนใหญ่เป็นการลงโทษอย่างรุนแรง โดยสมยศ พฤกษาเกษมสุขถูกปฏิเสธการขอประกันตัว 8 ครั้ง นาน 20 เดือนก่อนมีการพิจารณาคดี คณะทำงานเรื่องการคุมขังโดยพลการแห่งสหประชาชาติระบุเมื่อเดือนสิงหาคม 2555 ว่า การคุมขังก่อนมีการพิจารณาคดีเป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ[13]

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติทางจิต ความผิดปกติของการรับประทาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย http://www.smh.com.au/national/author-denies-it-wa... http://www.theaustralian.com.au/news/thais-detain-... http://rspas.anu.edu.au/rmap/newmandala/wp-content... http://asiancorrespondent.com/97037/thailands-lese... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/investigation/2571... http://www.bangkokpost.com/news/local/189225/man-a... http://www.bangkokpost.com/news/local/233524/intel... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/14766/l... http://article112.blogspot.com/2011/03/112_30.html