ความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต ของ ความเหนือกว่าเทียม

ดูบทความหลักที่: สัจนิยมเหตุซึมเศร้า

นักจิตวิทยาเมื่อก่อนมีแนวคิดว่า การมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับตนเป็นเรื่องจำเป็นต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี[3]แต่แนวคิดนี้ถูกคัดค้านโดยงานวิจัยปี 1988 ที่นักวิจัยคู่หนึ่ง (Taylor & Brown) อ้างว่า บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีมักจะมีการแปลสิ่งเร้าผิดทางประชาน (cognitive illusion) เหล่านี้ คือ ปรากฏการณ์นี้ การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) และความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias)[3]ซึ่งกลายเป็นแนวคิดใหม่ทรงอิทธิพล จนกระทั่งผู้เชี่ยวชาญบางท่านถึงกับสรุปว่า การชักนำให้เกิดความเอนเอียงเหล่านี้อาจจะใช้เป็นวิธีบำบัดรักษาได้[36]แต่ตั้งแต่นั้นมา งานวิจัยต่อ ๆ มาได้บั่นทอนข้อสรุปเช่นนั้น และให้หลักฐานใหม่ ๆ ที่สัมพันธ์ปรากฏการณ์นี้กับผลลบต่อบุคคล[3]

ข้อโต้แย้งอย่างหนึ่งต่องานวิจัยของ Taylor & Brown ก็คือ การจัดว่าบุคคลเป็นผู้มีสุขภาพจิตดีหรือไม่ดี มาจากคำตอบที่แจ้งเองของผู้ร่วมการทดลอง แทนที่จะใช้กฎเกณฑ์ที่เป็นกลาง ๆ (หรือเป็นปรวิสัย)[36]ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจว่า คนที่มักจะยกย่องตัวเอง (self-enhancement) ก็จะโอ้อวดว่า ตนปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดีขนาดไหนถึงกับมีนักวิจัยที่อ้างว่า กลุ่มที่นับว่ามีสุขภาพจิตปกติ ความจริงรวมคนพวกที่ "ปฏิเสธ (ความจริง) เพื่อป้องกันตน" ซึ่งเป็นคนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกมากที่สุด[36]

งานศึกษาตามยาว (longitudinal study) พบว่า ความเอนเอียงยกย่องตัวเองสัมพันธ์กับทักษะทางสังคม (social skill) ที่ไม่ดี และการปรับตัวที่ไม่ดีทางจิตวิทยา (psychological maladjustment)ในงานทดลองอีกงานหนึ่ง ที่ให้ผู้สังเกตการณ์ต่างหากประเมินวิดีโอการสนทนาระหว่างชายและหญิง บุคคลที่ยกย่องตัวเองมักจะมีพฤติกรรมทางสังคมที่มีปัญหา เช่น ความเป็นปรปักษ์ (hostility) หรือความหงุดหงิดง่าย (irritability)[3]แต่ว่างานศึกษาปี 2007 พบว่า ความเอนเอียงเกี่ยวกับการยกย่องตน สัมพันธ์กับประโยชน์ทางจิตบางอย่าง (เช่นความรู้สึกว่าอยู่เป็นสุข) แต่มีผลลบต่อความสัมพันธ์ทางสังคมอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมต่อต้านสังคม[37]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเหนือกว่าเทียม http://www2.psych.ubc.ca/~heine/docs/WhyWesterners... http://www.holub.com/goodies/Ehrlinger_et_al_2008.... http://www.improb.com/ig/ig-pastwinners.html#ig200... http://psr.sagepub.com/content/11/1/4.abstract http://www3.interscience.wiley.com/journal/1188907... http://www.psych.nyu.edu/jost/Zuckerman%20&%20Jost... http://psychology.uiowa.edu/files/psychology/group... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2702783 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10474208 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10626367