ปัจจัยบรรเทา ของ ความเหนือกว่าเทียม

แม้ว่าปรากฏการณ์นี้จะค่อนเข้าข้างตนเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดเสมอไประดับของปรากฏการณ์มีปัจจัยบรรเทาหลายอย่าง ผลงานวิจัยปี 2005 ให้ตัวอย่างหลัก ๆ ไว้ ดังที่จะกล่าวต่อไป[18]

การตีความหรือความคลุมเครือของลักษณะ

งานปี 2005 พูดถึงปัจจัยบรรเทาที่เป็น "มิติในการตัดสินใจ" (judgement dimension) ซึ่งหมายถึงความเป็นรูปธรรม (concrete) หรือนามธรรม (abstract) ของความสามารถหรือลักษณะที่ต้องการประเมิน[18]งานวิจัยปี 1997 พบว่า บุคคลจะประเมินตนเองสูงกว่า เมื่อสิ่งที่ถามสามารถตีความได้หลายอย่าง[47]ยกตัวอย่างเช่น ค่านิยมทางสังคมเช่น ความเป็นที่นิยม (popularity) และความรูปงาม (attractiveness) สามารถตีความได้กว้างกว่าลักษณะอื่น ๆ เช่น ความเฉลียวฉลาด หรือความสามารถทางกาย[48]และค่าประเมินตนที่ต่าง ๆ กันในลักษณะเหล่านี้ อาจจะมาจากความจำเป็นที่จะมีทัศนคติเกี่ยวกับตนเองที่พอเชื่อได้[49]

แนวคิดว่า ความคลุมเครือมีผลต่อปรากฏการณ์นี้ ได้หลักฐานสองอย่างจากงานวิจัยที่ศึกษากลุ่ม 2 กลุ่ม คือในกลุ่มแรก ผู้ร่วมการทดลองได้รับกฎเกณฑ์เพื่อประเมินลักษณะ และในอีกกลุ่มหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองมีอิสระที่จะประเมินลักษณะตามกฎเกณฑ์ของตนงานวิจัยพบว่า ผลของปรากฏการณ์นี้มีระดับสูงกว่าในกลุ่มผู้ร่วมการทดลองที่ใช้กฎเกณฑ์ของตนเอง[50]

วิธีการเปรียบเทียบ

วิธีการที่ใช้ในงานวิจัยมีอิทธิพลต่อผลต่างที่พบของปรากฏการณ์งานวิจัยโดยมากใช้การเปรียบเทียบระหว่างบุคคลกับผู้ร่วมกลุ่มโดยเฉลี่ย โดยแบ่งเป็น 2 อย่างคือ การเปรียบเทียบโดยตรง และโดยอ้อมการเปรียบเทียบโดยตรงมีการใช้มากที่สุด คือให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนตนเองและผู้ร่วมกลุ่มโดยเฉลี่ย โดยให้ในแผ่นคะแนนเดียวกัน มีค่าเริ่มตั้งแต่ "ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย" ไปจนถึง "สูงกว่าค่าเฉลี่ย"[51]ซึ่งมีผลเป็นผู้ร่วมการทดลองแสดงปรากฏการณ์นี้ในระดับสูงสุด[52]นักวิจัยได้เสนอว่า เป็นอย่างนี้ก็เพราะเป็นการเปรียบเทียบที่ใกล้ชิดระหว่างบุคคลและบุคคลปานกลางแต่ว่า ถ้าใช้วิธีนี้ ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า ผู้ร่วมการทดลองประเมินตัวเองเกิน หรือประเมินบุคคลอื่นต่ำเกินไป หรือว่าทั้งสอง

ส่วนวิธีโดยอ้อมให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนตนและผู้ร่วมกลุ่มโดยเฉลี่ย บนคะแนนคนละแผ่น และขนาดของปรากฏการณ์นี้คำนวณโดยลบคะแนนที่ให้กับตนด้วยคะแนนที่ให้กับบุคคลปานกลาง (ถ้ามีค่าต่างที่สูงกว่าก็จะหมายถึงมีปรากฏการณ์นี้ที่สูงกว่า)แม้ว่าการเปรียบเทียบแบบอ้อมจะใช้น้อยกว่า แต่ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของปรากฏการณ์นี้มากกว่าว่า ผู้ร่วมการทดลองประเมินตนเองเกินไป หรือว่าประเมินบุคคลปานกลางต่ำไป[51]

บุคคลเป้าหมาย

บุคคลเป้าหมายเป็นปัจจัยบรรเทาที่พื้นฐานที่สุดของปรากฏการณ์นี้ และมีประเด็นสองเรื่องที่ต้องพิจารณาสำหรับเรื่องแรก งานวิจัยในปรากฏการณ์นี้ไม่เหมือนงานวิจัยอื่นเพราะว่าบุคคลเป้าหมายที่ใช้เปรียบเทียบกับตนเอง เป็นบุคคลปานกลางที่มีโดยสมมุติ แทนที่จะเป็นคนใดคนหนึ่งจริง ๆงานวิจัยปี 1995 พบว่า ปรากฏการณ์นี้มีขนาดน้อยกว่า แม้ว่าจะยังมีอยู่ เมื่อผู้ร่วมการทดลองเปรียบเทียบตนกับบุคคลที่มีอยู่จริง ๆ (คือเป็นผู้ร่วมการทดลองที่นั่งอยู่ในห้องเดียวกัน) ซึ่งต่างจากการเปรียบเทียบกับบุคคลปานกลางซึ่งแสดงนัยว่า การวิจัยในเรื่องนี้เอง อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียง ดังนั้นจึงพบผลต่างที่มีขนาดใหญ่กว่าที่อาจจะพบในชีวิตจริง[51]

การทดลองต่อมาสืบหาความแตกต่างกันระหว่างบุคคลเป้าหมาย โดยกำหนดกลุ่ม 4 กลุ่มที่ผู้ร่วมการทดลองอยู่ใกล้ไกลกับบุคคลเป้าหมายไม่เท่ากัน คือบุคคลที่อยู่ในห้องเดียวกัน บุคคลในวีดีโอ บุคคลในบทความ และบุคคลปานกลางงานวิจัยพบว่า เมื่อผู้ร่วมการทดลองอยู่ไกลจากบุคคลเป้าหมาย (ในวีดีโอและในบทความ) ผลต่างของปรากฏการณ์นี้มีมากกว่านักวิจัยจึงเสนอว่า ผลต่างของปรากฏการณ์นี้สามารถลดได้โดยปัจจัย 2 อย่าง คือ การมีบุคคลเป้าหมายเป็นบุคคลโดยเฉพาะ ๆ และการอยู่ร่วมกับบุคคลนั้นจริง ๆ

สำหรับเรื่องที่สอง งานวิจัยปี 1995 ตรวจสอบว่า ความรู้สึกในเชิงดูถูกของคำว่า "เฉลี่ย" (average) จะมีผลต่อระดับปรากฏการณ์นี้หรือไม่ คือถ้าการใช้คำว่า average จะเพิ่มระดับปรากฏการณ์หรือไม่จึงมีการทดลองที่ให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินตนเอง บุคคลปานกลาง และบุคคลที่นั่งใกล้ ๆ ดังที่กล่าวในการทดลองก่อน โดยมีความต่าง ๆ กันผู้วิจัยพบว่า ผู้ร่วมการทดลองประเมินตนเองสูงสุด ตามด้วยบุคคลจริง และตามด้วยบุคคลปานกลาง แต่ว่า บุคคลเฉลี่ยได้การประเมินที่สูงกว่าจุดมัธยฐานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแสดงว่า คำว่า average ไม่ได้มีผลลบต่อทัศนคติเกี่ยวกับบุคคลปานกลาง[51]

การควบคุมได้

ปัจจัยบรรเทาสำคัญอย่างหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ก็คือระดับที่บุคคลเชื่อว่า ตนสามารถควบคุมหรือเปลี่ยนคะแนนของลักษณะที่ประเมินได้งานวิจัยในปี 2005 เสนอว่า ลักษณะเชิงบวกที่บุคคลเชื่อว่าสามารถควบคุมได้ทำให้เกิดความเอนเอียงเข้าข้างตนมากกว่า ในขณะที่ลักษณะเชิงลบที่บุคคลเชื่อว่าควบคุมไม่ได้ จะไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการยกย่องตัวเอง (self-enhancement)[18]ซึ่งมีหลักฐานในงานปี 1985 (Alicke 1985) ที่พบว่า บุคคลจะให้คะแนนตนเองสูงกว่าบุคคลปานกลางเกี่ยวกับลักษณะเชิงบวกที่ควบคุมได้ และต่ำกว่าบุคคลปานกลางเกี่ยวกับลักษณะเชิงลบที่ควบคุมไม่ได้แนวคิดดังที่เสนอในงานวิจัยว่า การเชื่อว่าตนเป็นเหตุของความสำเร็จของตน แต่ปัจจัยอื่น ๆ เป็นเหตุของความล้มเหลว เป็นความเอนเอียงที่เรียกว่าความเอนเอียงเข้าข้างตนเอง (self-serving bias)

ความแตกต่างระหว่างบุคคล

ลักษณะบุคลิกภาพมีความต่างกันมากระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยบรรเทาปรากฏการณ์นี้ ตัวอย่างอย่างหนึ่งก็คือการเคารพตน (self-esteem)งานปี 1986 พบว่า การประเมินลักษณะเชิงบวกของตนเองของผู้ร่วมการทดลองที่เคารพตนสูง มีระดับปรากฏการณ์นี้สูงกว่าผู้ที่เคารพตนต่ำ[53]งานวิจัยปี 2002 ก็พบผลคล้ายกันแต่พบเพิ่มด้วยว่า ผู้ที่เคารพตนสูงตีความลักษณะที่คลุมเครือเข้าข้างตนเองมากกว่าเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีความเคารพตนสูง ผู้ไม่ได้ตีความเช่นนี้[19]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเหนือกว่าเทียม http://www2.psych.ubc.ca/~heine/docs/WhyWesterners... http://www.holub.com/goodies/Ehrlinger_et_al_2008.... http://www.improb.com/ig/ig-pastwinners.html#ig200... http://psr.sagepub.com/content/11/1/4.abstract http://www3.interscience.wiley.com/journal/1188907... http://www.psych.nyu.edu/jost/Zuckerman%20&%20Jost... http://psychology.uiowa.edu/files/psychology/group... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2702783 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10474208 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10626367