ทฤษฎีที่ใช้อธิบาย ของ ความเหนือกว่าเทียม

การประมวลข้อมูลโดยมีสัญญาณรบกวน

บทความในวารสาร Psychological Bulletin ปี ค.ศ. 2012 บอกเป็นนัยว่า ปรากฏการณ์นี้ (และความเอนเอียงประเภทอื่น ๆ) สามารถอธิบายได้โดยกลไกทางทฤษฎีสารสนเทศ (information-theoretic generative mechanism) ที่สมมติว่า มีการแปลสังเกตการณ์หรือหลักฐานที่เป็นกลาง ๆ (หรือเป็นปรวิสัย) โดยมีตัวกวนหรือสัญญาณกวน (noise) ไปเป็นค่าประเมินที่เป็นอัตวิสัย (คือการกำหนดตัดสินใจของตน)[39]งานศึกษาเสนอว่า กลไกทางประชานที่เป็นมูลฐานของปรากฏการณ์ คล้ายกันอย่างสำคัญกับการผสมรวมความจำที่ประกอบด้วยสัญญาณกวน ที่มีผลเป็นความเอนเอียงในการพิทักษ์รักษาข้อมูล (conservatism bias) หรือความมั่นใจมากเกินไป (overconfidence)คือ หลังจากที่เราทำงานอะไร เราจะปรับการประเมินผลงานของเราเอง มากกว่าที่เราปรับการประเมินผลงานของคนอื่นซึ่งก็หมายความว่า การประเมินผลงานของคนอื่นพิทักษ์รักษาข้อมูลเดิมโดยไม่รวมข้อมูลใหม่มากกว่าการประเมินผลงานของเราเองและความแตกต่างระหว่างความเอนเอียงในการพิทักษ์รักษาข้อมูลในการประเมินงานของคนอื่น กับการประเมินงานของเราเอง กว้างใหญ่พอที่จะมีผลเป็นปรากฏการณ์นี้และเพราะทฤษฎีเกี่ยวกับสัญญาณกวน เพียงพอที่จะอธิบายปรากฏการณ์นี้ และเป็นทฤษฎีที่ง่ายและตรงไปตรงมามากที่สุดในบรรดาทฤษฎีอื่น ๆ ที่ใช้คำอธิบายเกี่ยวกับฮิวริสติก พฤติกรรม และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม[18]ดังนั้นทฤษฎีสัญญาณกวน ก็มีโอกาสที่จะเป็นกลไกให้เกิดปรากฏการณ์นี้มากที่สุดตามหลักมีดโกนอ็อกคัม เพราะเป็นสมมติฐานที่มีข้อสมมติน้อยที่สุด

การสรรหาอย่างเลือกเฟ้น

การสรรหาอย่างเลือกเฟ้น (selective recruitment) เป็นแนวคิดที่ว่า เมื่อบุคคลเปรียบเทียบกับคนในกลุ่มเดียวกัน บุคคลจะเลือกจุดแข็งของตนและจุดอ่อนของผู้อื่น เพื่อที่จะให้ตนดูดีกว่าโดยทั่ว ๆ ไปงานปี 1980 ตรวจสอบทฤษฎีนี้เป็นครั้งแรก แต่เป็นงานทดลองเรื่องความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) ไม่ใช่เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้โดยตรงงานวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองลงคะแนนว่า พฤติกรรมอะไรบางอย่างมีโอกาสที่จะเพิ่มหรือลดโอกาสปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตที่จะเกิดกับตนแล้วพบว่า บุคคลจะมีความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดีน้อยกว่าเมื่อเห็นคำตอบของผู้อื่น[40]

ส่วนงานวิจัยปี 1986 เสนอทฤษฎีว่า เมื่อเปรียบเทียบตนกับคนกลุ่มเดียวกันโดยเฉลี่ย ในเรื่องคุณลักษณะหรือความสามารถอะไรอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ บุคคลจะเลือกบุคคลเป้าหมายที่มีคะแนนต่ำกว่าในเรื่องนั้น เพื่อที่ตนเองจะดูดีกว่าคนปานกลาง (average)เพื่อที่จะทดสอบทฤษฎี นักวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองเปรียบเทียบตนกับบุคคลเป้าหมายโดยเฉพาะ (เพื่อนสนิท)แล้วพบว่า ปรากฏการณ์นี้ลดลงเมื่อใช้เป้าหมายเฉพาะแทนที่จะใช้คำคลุมเครือเช่น คนปานกลางแต่ว่า ผลเช่นนี้อาจจะไม่สม่ำเสมอหรือเชื่อถือไม่ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะสามารถมีผลจากความเป็นจริงว่า บุคคลชอบเพื่อนสนิทของตนมากกว่าบุคคลปานกลาง และจะให้คะแนนเพื่อนของตนมากกว่า ดังนั้น เพื่อนอาจจะไม่ใช่บุคคลเปรียบเทียบที่เป็นกลาง[20]

การมีตนเป็นศูนย์

ทฤษฎีอีกอย่างหนึ่งที่สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ก็คือ การมีตนเป็นศูนย์ (egocentrism)ซึ่งเป็นแนวคิดว่า บุคคลให้ความสำคัญและความหมายกับความสามารถ ลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของตนมากกว่าของคนอื่นตามทฤษฎีนี้ บุคคลจะประเมินตัวเองเกินจริงเมื่อเทียบกับผู้อื่นเพราะให้ความสำคัญกับตนมากกว่างานวิจัยปี 1999 (Kruger) เสนอใช้ทฤษฎีนี้กับผลที่พบในการศึกษา ซึ่งให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนความสามารถของตนในงานที่ง่ายและยากแล้วพบว่า บุคคลจะให้คะแนนตนเองสูงกว่าจุดมัธยฐานในงานที่จัดว่า ง่าย อย่างสม่ำเสมอ และจะให้คะแนนต่ำกว่าจุดมัธยฐานในงานที่จัดว่า ยาก อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าความสามารถจริงของตนจะเป็นอย่างไรในงานนั้นดังนั้นงานทดลองนี้ พบปรากฏการณ์ดีกว่าโดยเฉลี่ย (better-than-average effect) เมื่อบอกผู้ร่วมการทดลองว่าตนจะประสบความสำเร็จ และพบปรากฏการณ์แย่กว่าโดยเฉลี่ย (worse-than-average effect) เมื่อบอกผู้ร่วมการทดลองว่าจะไม่ประสบความสำเร็จโดยผู้วิจัยอธิบายว่า มีการตั้งหลัก (anchor) ให้คะแนนต่อตัวเอง แต่ให้คะแนนคนอื่นโดยปรับ (adjust) ไปทางทิศทางเดียวกันกับคะแนนตัวเองน้อยเกินไป (คือไม่ให้คะแนนคนอื่นดีหรือแย่เท่ากับให้ตัวเอง)และผลงานแสดงว่า ปรากฏการณ์เหนือกว่าเทียมนี้ ไม่ได้มีอย่างทั่วไปเหมือนกับที่เคยคิด[41]

การให้ความใส่ใจ

ทฤษฎีที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ focalism คือแนวคิดว่า มีการให้ความสำคัญกับวัตถุที่กำลังใส่ใจมากกว่าคืองานศึกษาปรากฏการณ์นี้โดยมาก เพ่งความสนใจไปที่ตนมากกว่า เพราะคำถามบ่อยครั้งจะยกตนเองขึ้นก่อนเป้าหมายที่ใช้เปรียบเทียบ (เช่น "จงเปรียบเทียบคุณเองกับบุคคลปานกลาง")ตามทฤษฎีนี้ บุคคลนั้นจึงให้ความสำคัญต่อความสามารถหรือลักษณะของตน มากกว่าของบุคคลเปรียบเทียบดังนั้น ถ้าใช้คำถามที่กลับตำแหน่งของตนและบุคคลเปรียบเทียบ (เช่น "จงเปรียบเทียบบุคคลปานกลางกับตัวคุณเอง") ปรากฏการณ์นี้ควรจะลดระดับลง[42]

งานวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ มักจะพุ่งความสนใจไปที่ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดีมากกว่าปรากฏการณ์นี้และงานวิจัยสองงานพบว่า ระดับความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดีลดลง เมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองเปรียบเทียบบุคคลปานกลางกับตนเอง คือเมื่อกลับตำแหน่งการเปรียบเทียบ[43][44]

ส่วนงานวิจัยในปี 2003 ศึกษาทฤษฎีนี้กับปรากฏการณ์นี้โดยตรงแล้วพบว่า เมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินโอกาสที่จะชนะเกมที่แข่งขันกัน ผลการประเมินเกินจริงจะลดลงเมื่อถามถึงโอกาสชนะของผู้อื่นแทนที่จะถามถึงโอกาสของตน (โดยเป็นเกมที่ไม่ตนชนะก็ผู้อื่นชนะ)[45]

การเปรียบเทียบบุคคลหรือวัตถุกับกลุ่ม

แนวคิดนี้ (ของ Giladi & Klar) เสนอว่า บุคคลหนึ่ง ๆ ในกลุ่มมักจะประเมินตนสูงกว่าจุดมัชฌิมหรือจุดมัธยฐานของกลุ่มนั้น ๆยกตัวอย่างเช่น ถ้าให้บุคคลประเมินฝีมือการขับรถของตนเทียบกับคนอื่นในกลุ่มทั้งหมด บุคคลนั้นมักจะให้คะแนนตนสูงกว่าคนปานกลาง (average)นอกจากนั้นแล้ว คนโดยมากในกลุ่มก็มักจะให้คะแนนตนสูงกว่าโดยเฉลี่ยงานวิจัยพบปรากฏการณ์นี้เกี่ยวกับความสามารถมนุษย์ในด้านต่าง ๆ[46]ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงเสนอว่า บุคคลจริง ๆ ไม่ได้ประเมินตนสูงกว่าคนปานกลาง (average) เพราะเข้าข้างตนเอง แต่ปรากฏการณ์นี้เกิดจากความโน้มเอียงทั่ว ๆ ไปที่จะประเมินบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือวัตถุใดวัตถุหนึ่ง ว่าดีกว่าโดยเฉลี่ย

ความโน้มเอียงสู่จุดอุดมคติ

งานวิจัยในปี 2005 เสนอแนวคิดว่า บุคคลไม่ได้ทบทวนและคิดถึงความสามารถ พฤติกรรม และลักษณะต่าง ๆ ของตนอย่างตั้งใจ แล้วเปรียบเทียบกับของคนอื่น แต่ว่า บุคคลน่าจะมี "ความโน้มเอียงอัตโนมัติที่จะชักสิ่งที่มีค่าทางสังคม เข้าสู่ลักษณะอุดมคติ"[18]ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลประเมินตนว่าซื่อสัตย์ บุคคลนั้นก็มักจะกล่าวถึงลักษณะนั้นเกินความจริงโน้มเอียงไปสู่ระดับความซื่อสัตย์อุดมคติที่ตนมีจุดสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ระดับอุดมคตินี้อาจไม่ใช่เป็นจุดยอดยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องความซื่อสัตย์ บุคคลที่พูดตรงความจริงอย่างซื่อบื้อตลอดอาจจะพิจารณาได้ว่า ไม่มีมรรยาทดังนั้น ระดับอุดมคติจะต่าง ๆ กันไปในบุคคลต่าง ๆ

ทฤษฎีอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับสังคม

ปรากฏการณ์นี้อาจจะไม่มีแหล่งกำเนิดทางสังคม เพราะว่า การตัดสินวัตถุที่ไม่มีวิญญาณอื่น ๆ ก็บิดเบือนอย่างคล้าย ๆ กัน[46]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเหนือกว่าเทียม http://www2.psych.ubc.ca/~heine/docs/WhyWesterners... http://www.holub.com/goodies/Ehrlinger_et_al_2008.... http://www.improb.com/ig/ig-pastwinners.html#ig200... http://psr.sagepub.com/content/11/1/4.abstract http://www3.interscience.wiley.com/journal/1188907... http://www.psych.nyu.edu/jost/Zuckerman%20&%20Jost... http://psychology.uiowa.edu/files/psychology/group... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2702783 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10474208 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10626367