ศิลปะคริสเตียน ของ จิตรกรรมบารอกแบบเฟลมิช

"ภาพเหมือนของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ" โดย แอนโทนี แวน ไดค์ ค.ศ. 1635 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

รูเบนส์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการวิวัฒนาการของศิลปะบารอกในการสร้างฉากแท่นบูชา งานบานพับภาพ "ชะลอร่างจากกางเขน" สำหรับสมาคมอาชีพผู้สร้างปืนที่เขียนระหว่าง ค.ศ. 1611 ถึง ค.ศ. 1614 ที่มหาวิหารแอนต์เวิร์ป—ที่ปีกข้างเป็นภาพ "การประกาศของพระแม่มารี" และ "การนำพระเยซูเข้าวัด" และด้านนอกเป็น "นักบุญคริสโตเฟอร์และฤๅษี"—เป็นงานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นการผสมระหว่างการปรัชญาการแสดงออกของศิลปะของสมัยการปฏิวัติซ้อนทางคริสต์ศาสนา กับความเป็นธรรมชาติที่เหมือนกับว่าจะเคลื่อนไหวได้ และความยิ่งใหญ่ของจิตรกรรมที่สร้างแบบบารอก[5] โรเจอร์ เด ไพลส์ (Roger de Piles) อธิบายว่า "จิตรกรลงตัวลงใจในการเขียนภาพที่เป็นภาพพจน์ที่ทำให้มีอำนาจในการการะตุ้นให้ผู้เห็นภาพมีความรู้สึกราวกับจะทราบถึงความทรมานของพระทรงเยซูที่ทรงได้รับในการไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์"[6]

ใกล้เคียง

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์ จิตรกรรมบารอกแบบเฟลมิช จิตรกรรม จิตรกรรมไทยประเพณี จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก จิตรกรรมแผง จิตรกรรมภูมิทัศน์ จิตรกรรมไทย