ภาษา ของ ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายู

ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูมีภาษาเฉพาะกลุ่ม คือภาษามลายูศรีลังกา มีรูปแบบเป็นภาษาลูกผสมระหว่างภาษาสิงหลและโศนัม (ภาษาทมิฬมุสลิมในศรีลังกา) โดยมีภาษามลายูเป็นพื้น (lexifier)[4] เชื่อว่าสำเนียงใกล้เคียงกับภาษามลายูถิ่นบาตาเวีย[5] พบได้ในชุมชนเชื้อสายมลายูในเมืองแคนดีในจังหวัดกลาง เมืองฮัมบันโตตาและคิรินเดในจังหวัดใต้ เกาะสเลฟในจังหวัดตะวันตก และพบผู้พูดกลุ่มใหญ่ทางตอนเหนือของกรุงโคลัมโบ[4] แต่ชาวมลายูในเมืองคินนิยาและมูตูร์เลิกพูดมลายูไปแล้ว โดยหันไปพูดภาษาทมิฬและมัวร์ทมิฬแทน[6] และยังพบผู้ใช้ภาษานี้ในชุมชนเชื้อสายสิงหลในเมืองฮัมบันโตตา (Hambantota)[7]

นอกจากภาษามลายูศรีลังกาแล้ว ชาวมลายูสามารถใช้ภาษาสิงหลและทมิฬได้ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อ ค.ศ. 2012 พบว่า ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูพูดภาษาทมิฬ 28,975 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 79.2 และพูดภาษาอังกฤษ 24,202 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 66.2[8]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายู http://www.rootsweb.ancestry.com/~lkawgw/malays1.h... http://www.dailynews.lk/2002/01/25/fea02.html http://www.statistics.gov.lk/PopHouSat/CPH2011/ind... http://www.statistics.gov.lk/PopHouSat/CPH2011/ind... http://www.island.lk/index.php?page_cat=article-de... http://sealang.net/archives/nusa/pdf/nusa-v50-p43-... //www.jstor.org/stable/20840097 //www.worldcat.org/issn/0578-8072 https://asian-recipe.com/names-in-sri-lanka-2-3990 https://apics-online.info/surveys/66