การตีความทางเทววิทยา ของ ชิรก์_(อิสลาม)

มุสลิมยุคกลางและนักปรัชญาชาวยิวเชื่อว่าหลักตรีเอกภาพเป็น ชิรก์ ในภาษาอาหรับ (หรือ ชีตุฟ ในภาษาฮีบรู) หมายถึง "การเชื่อมโยง" ในการการจำกัดความเป็นอนันต์ของพระเจ้าโดยการเชื่อมโยงพระผู้เป็นเจ้ากับการดำรงอยู่ทางกายภาพ[12]

ในบริบททางเทววิทยา ผู้ที่ทำ ชิรก์ คือผู้ที่ตั้งสิ่งที่ถูกสร้างกับอัลลอฮ์ โดยจะเป็นบาปนี้ในตอนที่คนหนึ่งจินตนาการว่ามีหุ้นส่วนที่เหมากับการสักการะคู่กับ อัลลอฮ์ ตามที่อัลกุรอานกล่าวว่า: "แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดให้มีภาคีขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนเขาก็ได้อุปโลกน์บาปกรรมอันใหญ่หลวงขึ้น" (กุรอาน ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ 4:48)[13]:4:48

ผู้ติดตามลัทธิศูฟีบางส่วน มีแนวโน้มที่จะเชื่อในสิ่งอื่นคู่กับพระเจ้าว่าเป็นหนึ่งในพหุเทวนิยม (ชิรก์) นั่นไม่รวมถึงพระเทียมเท็จ แต่รวมความเชื่อในการมีตัวตนของสิ่งอื่น ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยเอกเทวนิยม เช่น มารเป็นต้นกำเนิดของความชั่ว หรือเจตจำนงเสรีเป็นต้นกำเนิดของหน้าที่ของสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า เท่ากับการเชื่อว่ามีอำนาจอื่นนอกจากพระเจ้า[14]

สถานะของชาวคำภีร์ (อะฮ์ลุลกิตาบ) โดยเฉพาะชาวยิวและคริสต์ แนวคิดของการไม่เชื่อในมุมมองของศาสนาอิสลามยังไม่เป็นที่กระจ่าง ชาลส์ อดัมส์ (Charles Adams) เขียนว่า กุรอานตึหนิชาวคำภีร์ด้วยคำว่า กุฟร์ เพราะปฏิเสธโองการของมุฮัมมัด เมื่อพวกเขาควรเป็นกลุ่มแรกที่ยอมรับมันในฐานะผู้สืบทอดวจนะในยุคก่อน และเลือกเฉพาะชาวคริสต์ที่ปฏิเสธหลักฐานความเป็นเอกภาพของพระเจ้า[15] โองการจากซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ 5:73[16]:5:73 ("แท้จริงบรรดาผู้ที่กล่าวว่าอัลลอฮฺเป็นผู้ที่สามของสามองค์ นั้นได้ตกเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว...") คู่กับอายะฮ์อื่น เป็นที่เข้าใจว่าศาสนาอิสลามได้ปฏิเสธความเชื่อเรื่องตรีเอกภาพของศาสนาคริสต์[17] อีกอะยะฮ์หนึ่งปฏิเสธการเป็นพระเจ้าของอีซา บุตรของมัรยัม (พระเยซู บุตรของพระแม่มารีย์) อย่างเด็ดขาดและกล่าวถึงผู้คนที่ให้พระเยซูเท่ากับพระเจ้าเป็นผู้ปฏิเสธ ซึ่งจะถูกลงโทษในนรกตลอดกาล[18][19] อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงพระเยซูในฐานะบุตรของพระเจ้าหรือเป็นพระเจ้า แต่ได้กล่าวเป็นศาสดาและศาสนทูตของพระเจ้าที่ส่งมายังลูกหลานอิสราเอล[20] นักคิดมุสลิมบางคน เช่น มุฮัมมัด อัฏฏอลิบี มีมุมมองแบบรุนแรงในโองการที่เกี่ยวกับความเชื่อในหลักตรีเอกภาพและการเป็นพระเจ้าของพระเยซู (อัลมาอิดะฮ์ 5:19, 5:75-76, 5:119)[16] ว่าเป็นหลักการที่ไม่ใช่คริสเตียนซึ่งถูกปฏิเสธโดยคริสตจักร[21]

Cyril Glasse วิจารณ์การใช้คำว่า กาฟิรูน [พหุพจน์ของ กาฟิร] เพื่อกล่าวถึงชาวคริสต์ว่าเป็น "การใช้งานอย่างหละหลวม"[22] รายงานจากสารานุกรอิสลาม ในหลักนิติศาสตร์อิสลาม อะฮ์ลุลกิตาบ นั้น "มักใจกว้างกว่าพวก กุฟฟาร [พหุพจน์ของ กาฟิร] อื่น ๆ..." และ "ในทางทฤษฎี" มุสลิมจะถูกลงโทษ ถ้าเขาพูดกับชาวยิวหรือคริสต์ว่า: "เจ้าผู้ปฏิเสธศรัทธา"[23]

ในทางประวัติศาสตร์ ชาวคำภีร์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอิสลาม จะได้สถานะใหม่ว่า ซิมมี ในขณะที่ผู้มาเยียมชมดินแดนมุสลิมจะได้สถานะเป็น มุสตะอ์มิน[23]

หลังจากศตวรรษที่ 18 ด้วยความรุ่งเรืองของวะฮาบีย์ ชืรก์ ถูกขยายกรอบให้กว้างกว่าเดิม เช่นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ดูแผลกในศาสนาอิสลาม หรือยึดมั่นประเพณีทางศาสนา เชื่อว่าไม่ได้อยู่ในหลักการอิสลาม[24]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชิรก์_(อิสลาม) http://ashab-al-hadith.cf/Democracy-and-its-link-t... http://referenceworks.brillonline.com/entries/ency... http://www.oxfordislamicstudies.com/article/opr/t2... http://www.oxfordreference.com/view/10.1093/acref/... http://www.quran4u.com/Tafsir%20Ibn%20Kathir/004%2... http://www.quran4u.com/Tafsir%20Ibn%20Kathir/005%2... http://www.quran4u.com/Tafsir%20Ibn%20Kathir/009%2... http://www.quran4u.com/Tafsir%20Ibn%20Kathir/071%2... http://www.sacred-texts.com/isl/yaq/yaq007.htm http://theolibrary.shc.edu/resources/Quran-Gospel....