เชิงอรรถ ของ ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

  1. ช่องทีอาร์พี (TRP channel หรือ Transient receptor potential channel) เป็นกลุ่มของช่องไอออนโดยมากอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์มากมายทั้งในมนุษย์และในสัตว์ มีช่องทีอาร์พีมากกว่า 28 ชนิดที่มีโครงสร้างคล้าย ๆ กัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ช่องเหล่านี้สื่อความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งความเจ็บปวด อุณหภูมิ รสชาติต่าง ๆ ความกดดัน และการเห็น
  2. อะมีน (amine) เป็นตระกูลสารประกอบอินทรีย์และหมู่ฟังก์ชันที่มีอะตอมไนโตรเจนประกอบด้วยอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว อะมีนเป็นอนุพันธ์ของแอมโมเนีย โดยที่อะตอมไฮโดรเจนอะตอมหนึ่งหรือเกินกว่านั้นจะทดแทนด้วยอะตอมของกลุ่มอัลเคนและกลุ่มอะรัล
  3. แหล่งข้อมูลอื่นระบุชั้นปีกหลังของไขสันหลังต่าง ๆ กัน คือ
    • Purves et al 2008b, Figure 10.3, pp. 235 ระบุ
      • ใยกลุ่ม C ไปสุดที่ชั้น 1 (marginal layer) และ 2 (Substantia gelatinosa)
      • ใยกลุ่ม Aδ ไปสุดที่ชั้น 1 และ 5
    • Huether et al 2014, Figure 16-1, pp. 486
      • ใยกลุ่ม C ไปสุดที่ชั้น 2 และ 5
      • ใยกลุ่ม Aδ ไปสุดที่ชั้น 2
      • ผู้เขียนกลุ่มนี้อาจแสดงว่า ใยประสาทใน Lissauer's tract (dorsolateral tract) เป็นของ second order neuron (interneuron) ซึ่งส่งแอกซอนขึ้น/ลง 1-2 ข้อต่อของไขสันหลังแล้วไปสุดที่ชั้น 1 และ 2 ของปีกหลังของไขสันหลังที่ต่างระดับกัน[24]
  4. 1 2 midline thalamic nuclei หมายถึงนิวเคลียสของทาลามัสที่อยู่ทางด้าน medial ของ ventral posterior nucleus (VPN)[28]
  5. 1 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บปวดจะส่งขึ้นไปยังสมองตามวิถีประสาทต่าง ๆ รวมทั้ง Spinothalamic tract, Spinocervical tract, Spinoreticular tract, Spinomesencephalic tract, Spinohypothalamic tract, Spinoparabrachial tract, และ Spinolimbic tract[29]
  6. 1 2 อัลโลดีเนีย (allodynia) เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากตัวกระตุ้น ที่ตามปกติแล้ว ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ตัวกระตุ้นโดยอุณหภูมิหรือโดยแรงกลสามารถก่อให้เกิดอัลโลดีเนีย และมักจะเกิดขึ้นหลังจากความบาดเจ็บในเขต ๆ หนึ่ง อัลโลดีเนียต่างจากภาวะรู้สึกเจ็บมากกว่าปรกติ (hyperalgesia) ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาที่เพิ่มความเจ็บปวดเกินจริง ต่อตัวกระตุ้นที่ปกติก่อให้เกิดความเจ็บปวด
  7. เนื้อเทารอบท่อน้ำสมอง (periaqueductal grey) เป็นเนื้อเทาที่อยู่รอบ ๆ ท่อน้ำสมอง ใน tagmentum ของสมองส่วนกลาง มีบทบาทในการปรับระดับความเจ็บปวดที่ส่งมาที่ระบบประสาทส่วนปลาย และในพฤติกรรมป้องกันตัว
  8. 1 2 Purves et al (2008b) ระบุว่า periaqueductal grey ส่งสัญญาณไปยัง parabrachial nucleus, reticular formation ใน medulla, locus ceruleus, และ Raphe nuclei ซึ่งก็ส่งสัญญาณต่อไปยังปีกหลังของไขสันหลัง[45]
  9. Huether et al (2014) ระบุว่า
    • enkephalin เป็นสารโอปิออยด์ธรรมชาติที่มีมากสุด และพบในไฮโปทาลามัส, เนื้อเทารอบท่อน้ำสมอง (PAG), nucleus raphes magnus (NPG), และปีกหลังของไขสันหลัง
    • endorphin พบใน PAG และ β-endorphin พบในไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง
    • dynorphin มีฤทธิ์แรงสุด พบในไฮโปทาลามัส, ก้านสมอง, PAG-rostral ventromedial medulla system, และไขสันหลังรวมทั้งปีกหลัง
  10. คือ การยิงศักยะงานของโนซิเซ็ปเตอร์ และระดับการยิงศักยะงาน ไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดโดยตรง แต่ว่า โนซิเซ็ปเตอร์ส่งข้อมูลที่อาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดในที่สุด ไปยังระบบประสาทกลาง และระบบประสาทกลางนั่นแหละ มีปฏิกิริยาซึ่งในที่สุดให้ผลเป็นความรู้สึกเจ็บปวดซึ่งเป็นอัตวิสัย

ใกล้เคียง

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวรับแรงกล ตัวรับรู้สารเคมี ตัวรับความรู้สึก ตัวรับรู้ ตัวรับอะดีโนซีน ตัวรับความรู้สึกที่หนัง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง ตัวรับโดปามีน ตัวรับรู้อากัปกิริยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด http://books.google.com/books?id=hmOsHYsGdh0C&lpg=... http://www.macalester.edu/academics/psychology/wha... http://cell.uchc.edu/pdf/fein/nociceptors_fein_201... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12589904 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17678850 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17678851 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/460935 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9848092 //doi.org/10.1006%2Fnbdi.1998.0204 //doi.org/10.1016%2Fj.neuron.2007.07.008