ข้อคัดค้าน ของ ตัวแบบนอร์ดิก

นักเศรษศาสตร์สังคมนิยมคู่หนึ่ง (John Roemer และ Pranab Bardhan) คัดค้านประชาธิปไตยสังคมนิยม โดยตั้งความสงสัยในประสิทธิผลในการโปรโหมตสมภาคนิยมและในความยั่งยืนของมันโดยชี้ว่า

  • ประชาธิปไตยสังคมนิยมต้องมีขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง เพื่อผดุงการปรับกระจายรายได้มหาศาลที่ต้องมี
  • มันเป็นความคิดแบบอุดมการณ์ว่า การปรับกระจายรายได้เช่นนี้สามารถทำได้ในประเทศอื่น ๆ ที่มีขบวนการแรงงานที่อ่อนแอกว่า
  • แม้ในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียเอง ประชาธิปไตยสังคมนิยมก็ได้เสื่อมลงเริ่มตั้งแต่ขบวนการแรงงานเริ่มอ่อนแอ ดังนั้น ความยั่งยืนของประชาธิปไตยสังคมนิยมจึงจำกัด
  • ระบบเศรษฐกิจที่เป็นสังคมนิยมโดยกลไกทางตลาดและเปลี่ยนความเป็นเจ้าของของธุรกิจต่าง ๆ จะโปรโหมตสมภาคนิยมได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าการปรับกระจายรายได้ของประชาธิปไตยสังคมนิยม[53]

ส่วนนักประวัติศาสตร์ชาวไอซ์แลนด์ผู้หนึ่ง (Guðmundur Jónsson) อ้างว่า การรวมไอซ์แลนด์เป็นส่วนของระบบนอร์ดิกโดยเป็นประชาไตยแบบฉันทามติ (consensus democracy) เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง คือ[54]

  1. ประชาธิปไตยของไอซ์แลนด์เรียกอย่างถูกต้องกว่าว่า เป็นแบบปฏิปักษ์มากกว่าฉันทามติทั้งตามสไตล์และการปฏิบัติ เพราะตลาดแรงงานเต็มไปด้วยความขัดแย้งและการนัดหยุดงานก็บ่อยกว่ายุโรป มีผลเป็นสัมพันธภาพที่ตึงเครียดระหว่างรัฐบาลและสหภาพแรงงาน
  2. ไอซ์แลนด์ไม่ได้มีธรรมเนียมแบบนอร์ดิกในการแชร์อำนาจหรือชมชอบบรรษัทนิยม เกี่ยวกับการบริหารจัดการนโยบายตลาดแรงงานหรือนโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยหลักเพราะความอ่อนแอของพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมและฝ่ายซ้ายโดยทั่ว ๆ ไป
  3. กระบวนการนิติบัญญัติไม่ได้โน้มเอียงอย่างเข้มแข็งเพื่อสร้างฉันทามติระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยให้รัฐบาลสืบหาคำปรึกษาหรือการสนับสนุนเพื่อกฎหมายหลัก ๆ
  4. การดำเนินการทางนิติบัญญัติและการอภิปรายที่เป็นสาธารณะ โดยทั่วไปเป็นแบบปฏิปักษ์ ไม่ใช่ฉันทามติ

นักวิชาการสองท่านรวมทั้งผู้ได้รับรางวัลโนเบล (James J. Heckman และ Rasmus Landersøn) ได้เทียบเดนมาร์กกับสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า การเปลี่ยนฐานะทางสังคมไม่ได้สูงเท่ากับที่ค่าวัดต่าง ๆ อาจแสดงในประเทศนอร์ดิกเพราะเมื่อดูแค่ค่าจ้างอย่างเดียว (แต่ก่อนภาษีและการปรับกระจายรายได้) การเปลี่ยนฐานะทางสังคมของประเทศทั้งสองคล้ายกันมากแต่เมื่อนับผลของภาษีและการปรับกระจายรายได้ การเปลี่ยนฐานะทางสังคมของเดนมาร์กจึงจะดีกว่า ซึ่งแสดงว่า นโยบายการปรับกระจายรายได้เพียงแค่ให้ความรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนฐานะทางสังคมที่ดีกว่า

อนึ่ง การลงทุนในระบบการศึกษาของรัฐก็ไม่ได้เพิ่มการเปลี่ยนฐานะทางการศึกษาอย่างสำคัญคือ ลูกของพ่อแม่ที่ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยก็ยังมีโอกาสน้อยที่จะได้การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแม้การลงทุนเช่นนี้จะเพิ่มสติปัญญา/ทักษะทางประชานในเด็กยากจนชาวเดนมาร์ก เทียบกับเด็กอเมริกันคล้าย ๆ กันนักวิจัยยังพบหลักฐานด้วยว่า นโยบายสวัสดิการแบบใจกว้างยังตัดความทะเยอทะยานเพื่อเรียนให้สูงขึ้นเนื่องจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากงานระดับมหาวิทยาลัยที่ลดลง และระดับสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นถ้ามีการศึกษาน้อย[55]

ใกล้เคียง

ตัวแบบนอร์ดิก ตัวแบบ–มุมมอง–ตัวควบคุม ตัวแบบระดับการเคาะแป้นพิมพ์ ตัวแบบโอเพนซอร์ซ ตัวแปรกวน ตัวแปรการผลิต ตัวบั๊กส์ หัวใจไม่บั๊กส์ ตัวบ่งปริมาณสำหรับทุกตัว ตัวบ่งปริมาณสำหรับตัวมีจริง ตัวแทน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวแบบนอร์ดิก http://www.boston.com/news/nation/washington/artic... http://money.cnn.com/2015/06/03/news/economy/stigl... http://www.economist.com/news/leaders/21571136-pol... http://www.economist.com/news/special-report/21570... http://www.economist.com/news/special-report/21570... http://www.foreignaffairs.com/articles/140345/lane... http://www.haaretz.com/israel-news/1.721012 http://www.huffingtonpost.com/2013/09/10/happiest-... http://www.huffingtonpost.com/rep-bernie-sanders/w... http://www.investopedia.com/articles/investing/100...