กลไกการออกฤทธิ์ ของ นีโอมัยซิน

เป็นที่รู้กันดีว่ายาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์อย่างนีโอมัยซินนั้นมีความสามารถจับกับอาร์เอ็นเอสายคู่ได้ด้วยความจำเพราะที่ค่อนข้างสูง[24] โดยค่าคงที่การแตกตัว (dissociation constant, Kd) ของนีโอมัยซินต่อตำแหน่ง A-site บนอาร์เอ็นเออยู่ที่ช่วงประมาณ 109 M−1[25] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่มีการค้นพบนีโอมัยซินมาเป็นระยะเวลามากกว่า 50 ปี กลไกการจับกับดีเอ็นเอของนีโอมัยซินนั้นก็ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัดเท่าใดนัก โดยพบว่านีโอมัยซินนั้นมีผลเพิ่มการคงสภาพทางความร้อนของ Triple-stranded DNA โดยไม่มีผลหรือมีผลบ้างเล็กน้อยต่อการคงสภาพของ B-DNA duplex[26] นอกจากนี้นีโอมัยซินยังมีความสามารถจับกับโครงสร้างอื่นที่คล้ายกับโครงสร้าง A-DNA ได้ ซึ่ง triplex DNA ก็เป็นหนึ่งในโครงสร้างเหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น นีโอมัยซินยังสามารถเข้าจับเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับสารพันธุกรรมระหว่างการก่อตัวสายผสมสามสายของ DNA และ RNA (DNA:RNA hybrid triplex formation) ได้[27]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: นีโอมัยซิน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.8075.... http://www.dermadoctor.com/article_Your-Medicine-C... http://journals.lww.com/dermatitis/Abstract/2005/0... http://www.toku-e.com/Assets/MIC/Neomycin%20sulfat... http://meta.wkhealth.com/pt/pt-core/template-journ... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10987412 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11686727 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12056901 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14570276 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16242081