ไม่ได้ตั้งใจ ของ น้ำหนักลด

ลักษณะ

การลดน้ำหนักอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจเกิดจากการเสียไขมัน เสียน้ำ เสียกล้ามเนื้อในร่างกาย หรือเสียสิ่งเหล่านี้รวม ๆ กัน[27][28]ปกติจะพิจารณาว่าเป็นปัญหาทางการแพทย์ต่อเมื่อบุคคลเสียน้ำหนักอย่างน้อย 10% ภายใน 6 เดือน[27][29]หรือ 5% ภายในเดือนที่ผ่านมา[30]เกณฑ์วิธีอีกอย่างที่ใช้ประเมินน้ำหนักน้อยเกินก็คือ ดัชนีมวลกาย (BMI)[31]อย่างไรก็ดี แม้น้ำหนักลดที่น้อยกว่านี้ก็อาจเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงสำหรับคนชราที่อ่อนแอ[32]

น้ำหนักลดแบบไม่ได้ตั้งใจอาจเกิดเพราะได้พลังงานจากอาหารไม่พอเทียบกับความต้องการของร่างกาย (ปกติเรียกว่า ทุพโภชนาการ)แต่วิถีดำเนินของโรค การเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึม ทางฮอร์โมน การใช้ยา การรักษาโรคอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงอาหารเนื่องจากโรคหรือการรักษา หรือความอยากอาหารน้อยดังที่สัมพันธ์กับโรคหรือการรักษาก็อาจทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ได้ตั้งใจได้เช่นกัน[27][28][29][33][34][35]ปัญหาทางฮอร์โมนเช่น ไทรอยด์ถูกกระตุ้นมากเกินไป (hyperthyroidism) อาจทำให้น้ำหนักลดเช่นกัน[36]การนำสารอาหารไปใช้ไม่ได้ดีอาจทำให้น้ำหนักลด ซึ่งอาจมีเหตุจากทางเดินอาหารทะลุ (fistulae) ท้องร่วง ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร การหมดเอนไซม์ และกล้ามเนื้อลีบ[29]

น้ำหนักที่ลดลงเรื่อย ๆ อาจแย่ลงจนกลายเป็นภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia)[32]ซึ่งต่างกับความอดอยากโดยส่วนหนึ่งก็คือเพราะมีปฏิกิริยาเป็นการอักเสบทั้งร่างกาย (systemic inflammatory response)[32]และมีผลที่แย่กว่า[27][32][33]

ในโรคที่ลุกลามระยะหลัง ๆ เมแทบอลิซึมของคนไข้อาจเปลี่ยนไป จึงทำให้น้ำหนักลดได้แม้จะได้อาหารพอโดยที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ซึ่งอาจก่อภาวะ anorexia cachexia syndrome (ACS) ที่การได้อาหารหรืออาหารเสริมไม่น่าจะช่วย[29]อาการเนื่องกับ ACS รวมทั้งการเสียน้ำหนักอย่างรุนแรงจากกล้ามเนื้อ ไม่ใช่จากไขมันร่างกาย ไม่อยากอาหาร อิ่มแม้หลังจากทานอาหารเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ กะปลกกะเปลี้ย ล้า[29]การลดน้ำหนักมากอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ขัดขวางการรักษาหรือการหายจากโรค ทำให้โรคแย่ลง และเป็นปัจจัยเสี่ยงให้มีอัตราการตายสูง[27][32]

ทุพโภชนาการอาจมีผลต่อการทำงานของร่างกายทุก ๆ ส่วน เริ่มตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนที่สุดรวมทั้ง[31]

อนึ่ง ทุพโภชนาการอาจทำให้ขาดวิตามินหรือสารอาหารอื่น ๆ แล้วทำให้ไม่ค่อยขยับตัว ซึ่งก็อาจก่อปัญหาอื่น ๆ เช่น แผลกดทับ (pressure sore)[31]น้ำหนักลดอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจเป็นอาการที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง[27]และโรคเบาหวานประเภทที่หนึ่ง[37]

ในสหราชอาณาจักร ประชากรทั่วไป 5% จะมีน้ำหนักน้อยเกิน แต่ผู้ที่มีโรคปอด โรคทางเดินอาหาร หรือเพิ่งรับการผ่าตัดจะเป็นถึง 10%[31]ตามข้อมูลจาก Malnutrition Universal Screening Tool ('MUST') ของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมเรื่องการเสียน้ำหนักโดยไม่ได้ตั้งใจ 10% ของประชากรอายุมากกว่า 65 ปีเสี่ยงต่อทุพโภชนาการ[31]คนไข้ในโรงพยาบาลถึง 10-60% ก็เสี่ยงด้วย คนไข้ในสถาบันดูแลผู้ป่วยระยะยาวก็เช่นกัน[31]

เหตุ

เนื่องกับโรค

ทุพโภชนาการเนื่องกับโรคอาจจัดรวมในหมวด 4 หมวด[31]

ปัญหาเหตุ
ทานอาหารได้ไม่เต็มที่ความไม่อยากอาหารอาจเป็นอาการโดยตรงของโรค หรือโรคอาจทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อรับประทานอาหารหรือทำให้คลื่นไส้ อาจทำให้รู้สึกกลัวการกิน อาจเกิดจากความรู้สึกตัวที่แย่ลงหรือสับสน ปัญหาที่มือและแขน ปัญหาการกลืนและการเคี้ยว แพทย์อาจจำกัดอาหารเพื่อรักษาหรือเพื่อตรวจสอบโรค การขาดอาหารอาจเกิดจากความยากจน ปัญหาการไปซื้อของหรือทำอาหาร และอาหารคุณภาพไม่ดี
การย่อยหรือการดูดซึมอาหารที่ไม่ดีอาจเกิดจากปัญหาของระบบย่อยอาหาร
ร่างกายมีความต้องการเปลี่ยนไปการเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมอาจเกิดจากโรค การผ่าตัด หรือปัญหาที่อวัยวะต่าง ๆ
การเสียสารอาหารเกินการเสียสารอาหารจากทางเดินอาหารอาจเกิดจากอาการต่าง ๆ เช่นอาเจียน ท้องร่วง ทางเดินอาหารทะลุ (fistulae) และ stoma อาจเสียสารอาหารเพราะวิธีการระบายต่าง ๆ รวมทั้งสายระบายที่แพทย์สอดจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (nasogastric tube) หรือเพราะกระบวนการอื่น ๆ เช่น ผิวหนังไหม้ที่มีน้ำเยิ้มออกจากผิว (skin exudate)

ปัญหาการเสียน้ำหนักเพราะโรคโดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง

  • เมื่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) แย่ลง คนไข้ประมาณ 35% จะน้ำหนักลดอย่างรุนแรงโดยเรียกว่า pulmonary cachexia (ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกเหตุปอด) รวมทั้งการเสียกล้ามเนื้อ[33] คนไข้ 25% จะน้ำหนักลดในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง และที่เหลือโดยมากจะน้ำหนักลดบ้าง[33] การเสียน้ำหนักมากกว่าจะทำให้พยากรณ์โรคแย่กว่า[33] ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางทฤษฎีรวมทั้งการลดความอยากอาหารเพราะขยับตัวน้อยลง การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อหายใจ และปัญหาการรับประทานเพราะหายใจลำบาก (dyspnea, labored breathing)[33]
  • สำหรับน้ำหนักลดที่อธิบายไม่ได้ มะเร็งเป็นเหตุที่สามัญและบ่อยครั้งทำให้เสียชีวิต คนไข้ที่น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจประมาณ 1/3 มีเหตุจากเนื้อร้าย รวมทั้งมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเซลล์ตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ มะเร็งเลือด และมะเร็งปอด
  • คนไข้เอชไอวีบ่อยครั้งน้ำหนักจะลด และสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่แย่กว่า[38] อาการผอมแห้งเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโรคเอดส์[38]
  • โรคทางเดินอาหาร (gastrointestinal disease) เป็นเหตุสามัญอีกอย่างหนึ่งเมื่อน้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ และจริง ๆ ก็เป็นเหตุสามัญที่สุดนอกเหนือจากมะเร็ง[ต้องการอ้างอิง] โรคที่อาจเป็นเหตุรวมทั้ง coeliac disease, แผลเปื่อยเพปติก (peptic ulcer disease), inflammatory bowel disease (รวมทั้ง crohn's disease และ ulcerative colitis), ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis), กระเพาะอักเสบ (gastritis), ท้องร่วง และโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
  • การติดเชื้อบางอย่างอาจทำให้น้ำหนักลด โรคเกี่ยวกับเชื้อรา, เยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis), โรคปรสิตหลายอย่าง, เอดส์ และการติดเชื้อแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute) และแบบซ่อนเร้น (occult) บางอย่างก็อาจทำให้น้ำหนักลดได้เช่นกัน
  • คนไข้โรคไตและภาวะยูเรียเกินในปัสสาสวะ (uremia) บ่อยครั้งจะไม่ค่อยหรือไม่อยากอาหาร อาเจียน และคลื่นไส้ ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักลด
  • โรคระบบหัวใจหลอดเลือดโดยเฉพาะแบบอุดตัน (congestive) อาจทำให้น้ำหนักลด
  • โรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • โรคทางระบบประสาทรวมทั้งภาวะสมองเสื่อม[39]
  • ปัญหาทางปาก การรับรู้รสชาติ ฟัน (รวมทั้งการติดเชื้อ) อาจทำให้ทานอาหารน้อยลงแล้วน้ำหนักลด[29]

เบาหวานประเภทที่ 1

เบาหวานประเภท 1 หรือที่รู้จักกันว่า เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (insulin dependent diabetes mellitus - IDDM) นำไปสู่ปริมาณกลูโคสส่วนเกินและปริมาณอินซูลินในกระแสเลือดไม่เพียงพอ ภาวะนี้นำไปสู่การหลั่งไตรกลีเซอไรด์จากกล้ามเนื้อไขมันและแคแทบอลิซึมของกรดอะมิโนในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ซึ่งนำไปสู่ทั้งการสูญเสียทั้งมวลไขมันและมวลเนื้อ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างสำคัญ โรคเบาหวานประเภท 1 ที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้น้ำหนักลดได้

เนื่องกับการรักษา

การรักษาทางการแพทย์อาจเป็นเหตุโดยตรงหรือโดยอ้อมให้น้ำหนักลด ซึ่งขัดประสิทธิผลการรักษาและการฟื้นสภาพ แล้วทำให้น้ำหนักลดลงอีก วนเป็นวัฏจักรที่ไม่ดี[27]หลังจากการผ่าตัด คนไข้อาจเจ็บแล้วไม่อยากอาหาร[27]ร่างกายจะตอบสนองโดยส่วนหนึ่งต่อการผ่าตัดโดยทุ่มแรงไปเพื่อรักษาแผล ซึ่งเพิ่มความต้องการพลังงาน[27]แม้จะเปลี่ยนความต้องการสารอาหารโดยอ้อมโดยเฉพาะในช่วงฟื้นตัว แต่ความเปลี่ยนแปลงก็อาจกวนการฟื้นสภาพของแผลและของร่างกาย[27][31]

การผ่าตัดสามารถมีผลต่อความต้องการอาหารโดยตรงถ้าหัตถการเปลี่ยนระบบย่อยอาหารอย่างถาวร[27]การให้อาหารผ่านสายยางอาจจำเป็น[27]แต่การไม่ให้อาหารทางปากเลยสำหรับการผ่าตัดทางเดินอาหารทุกอย่างไม่ปรากฏว่ามีประโยชน์ โดยนักวิชาการบางพวกเสนอว่ามันทำให้หายช้าลง[40][ต้องการการอัปเดต]

การให้อาหารหลังการผ่าตัดทางเดินอาหารตั้งแต่ระยะต้น ๆ เป็นส่วนของเกณฑ์วิธีที่เรียกว่า Enhanced Recovery After Surgery protocol[41]ซึ่งรวมการให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate loading) ภายใน 24 ชม. ก่อนผ่าตัด แต่การให้อาหารก่อนหน้านั้นดูเหมือนจะไม่มีผลอย่างสำคัญ[41]

ยาบางอย่างอาจเป็นเหตุให้น้ำหนักลด[42]แต่บางอย่างก็ทำให้น้ำหนักเพิ่ม[43][44]

สถานะทางสังคม

สถานะทางสังคม เช่น ความยากจน การแยกอยู่คนเดียว หรือการไม่สามารถได้หรือทำอาหารที่ต้องการอาจทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจสามัญเป็นพิเศษในคนชรา[45]อาหารที่ได้อาจได้รับผลจากวัฒนธรรม ครอบครัว และความเชื่อ[29]ฟันปลอมที่ใส่ไม่ดี ปัญหาเกี่ยวกับฟันและปากอื่น ๆ ก็อาจทำให้ได้อาหารไม่พอด้วย[29]ความสิ้นหวัง ปัญหาสถานะทาสังคม การติดต่อกับคนอื่น ๆ ปัญหาทางจิตวิญญาณ และความเหนื่อยล้าอาจทำให้ซึมเศร้า ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการได้อาหารน้อยลง[29]

แหล่งที่มา

WikiPedia: น้ำหนักลด http://www.diseasesdatabase.com/ddb28440.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=783.... http://www.ijpsy.com/volumen10/num1/256.html http://journals.lww.com/nutritiontodayonline/Abstr... http://www.webmd.com/diet/guide/high-protein-diet-... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=31430... http://www.cfsan.fda.gov/~dms/wgtloss.html http://health.gov/dietaryguidelines/2015/guideline... http://win.niddk.nih.gov/publications/index.htm