บูเช็กเทียน
บูเช็กเทียน

บูเช็กเทียน

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งอู่ เจ๋อเทียน ตามสำเนียงกลาง หรือ บูเต็กเทียง ตามสำเนียงแต้จิ๋ว บูเช็กเทียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน(จีนตัวย่อ: 武则天; จีนตัวเต็ม: 武則天; พินอิน: Wǔ Zétiān; เวด-ไจลส์: Wu3 Tse2-t'ien1; พระราชสมภพ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624[6][7]; สวรรคต 16 ธันวาคม ค.ศ. 705[8])[9] บางทีเรียก อู่ เจ้า (จีน: 武曌; พินอิน: Wǔ Zhào; เวด-ไจลส์: Wu3 Chao4) หรือ อู่ โฮ่ว (จีน: 武后; พินอิน: Wǔ Hòu; เวด-ไจลส์: Wu3 Hou4) ในราชวงศ์ถังมักออกพระนามว่า พระนางสวรรค์ (จีน: 天后; พินอิน: Tiān Hòu)[10] และในสมัยต่อมาว่า พระนางอู่ (จีน: 武后; พินอิน: Wǔ Hòu) ทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานกว่า 4,000 ปี ที่ได้เป็น "ฮ่องเต้"ในแผ่นดินของพระภัสดาและพระราชบุตรของพระนางระหว่างปี ค.ศ. 665 ถึง 690 พระนางทรงปกครองจีนโดยพฤตินัย ต่อมาในปี ค.ศ. 690 ถึง 705 พระนางทรงสถาปนาราชวงศ์ของพระนางเอง คือ ราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว และเฉลิมพระนามพระนางเองว่าเป็น "สมมุติเทวะ" (จีน: 聖神皇帝; พินอิน: เฉิ้งเฉินหวงตี้)[11] อันเป็นการละเมิดประเพณีแต่โบราณและยังทำให้ราชวงศ์ถังสะดุดหยุดลงระยะหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ผู้นิยมลัทธิขงจื๊อจึงประณามพระนางเป็นอย่างมากพระนางบูเช็กเทียนทรงมีตำแหน่งสำคัญทั้งในสมัยจักรพรรดิถังไท่จง ฮ่องเต้องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ถัง และในสมัยจักรพรรดิถังเกาจง ฮ่องเต้องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ถัง โดยแรกเริ่มทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสนมของจักรพรรดิไท่จง เมื่อจักรพรรดิไท่จงสวรรคตในเวลาต่อมา พระนางจึงได้อภิเษกสมรสกับจักรพรรดิเกาจงเมื่อปี ค.ศ. 655 และได้รับการขนานพระนามว่า "ฮูหยินเกาจง" (จีน: 高宗夫人; พินอิน: เกาจงฟูเหริน)ในปี ค.ศ. 690 หลังจากจักรพรรดิเกาจงสวรรคตก็เกิดการแย่งชิงราชสมบัติเป็นเวลากว่า 7 ปี ในที่สุดพระนางได้ทรงตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้หญิงองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน รวมถึงประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจวตั้งแต่นั้นมา และสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 705[12]ในช่วงที่พระนางบูเช็กเทียนเป็นผู้นำทั้งด้านการปกครองและการทหาร มีการขยายอำนาจของจีนออกไปเป็นอันมากเกินกว่าอาณาเขตดินแดนเดิมที่เคยมีมา ไปถึงบริเวณทวีปเอเชียกลาง รวมถึงการครอบครองพื้นที่แถบคาบสมุทรเกาหลีเหนือตอนบน ส่วนภายในประเทศจีนเอง แม้จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของพระนางทั้งในการสู้รบ ปราบปรามกบฏ และลงโทษประหารชีวิต แต่พระนางได้ทรงพัฒนาประเทศโดยการส่งเสริมและเผยแพร่ระบบการสอบจอหงวนเพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงชนชั้น[13] ส่งเสริมและยกระดับบทบาทของสตรีเพศโดยเปิดโอกาสให้เข้ารับตำแหน่งราชการในระดับสูง นอกจากนี้พระนางยังให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนด้วยการลดภาษีอากรที่กดขี่ ส่งเสริมการเกษตรและการสร้างงาน[13] ทำให้ประเทศจีนในยุคของพระนางมีความเข้มแข็งและพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วพระนางบูเช็กเทียนทรงส่งเสริมและให้ความสำคัญแก่พระพุทธศาสนามากกว่าลัทธิเต๋าในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ จนจัดให้มีการสร้างวัดและปฏิมากรรมในถ้ำ เช่น ถ้ำผาหลงเหมิน กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดในประเทศจีนในช่วงยุคของพระนางนั่นเอง[13]นอกจากในฐานะผู้นำทางการเมืองพระนางบูเช็กเทียนยังมีชีวิตครอบครัวที่โดดเด่น แม้ว่าในบางครั้งความสัมพันธ์ในครอบครัวจะเป็นปัญหาให้แก่พระนาง ทรงมีพระโอรส 3 พระองค์ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์บัลลังก์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ และพระนัดดาของพระนางคือ สมเด็จพระจักรพรรดิถังเสวียนจง (จีน: 唐玄宗; พินอิน: Táng Xuánzōng) แห่งราชวงศ์ถัง กษัตริย์ผู้ปกครองหนึ่งในยุคทองแห่งประวัติศาสตร์จีน[14]

บูเช็กเทียน

พระราชสมภพ ไม่มีบันทึก
พระราชบุตร
ราชวงศ์
  • ราชวงศ์ถัง (โดยการอภิเสกสมรส)
  • ราชวงศ์โจว (โดยการครองราชย์)
สกุล อู่ (武)
ฝังพระศพ ค.ศ. 706
ก่อนหน้า จักรพรรดินีหวัง
ครองราชย์ 16 ตุลาคม 690[1][2] – 22 กุมภาพันธ์ 705[3][4]
วัดประจำรัชกาล
วัดประจำรัชกาล
ไม่มี[5]
ระหว่าง 2 ธันวาคม 655 – 27 ธันวาคม 683
พระราชมารดา ท่านหญิงหยัง
พระราชบิดา อู่ ฉี้โหว อ๋องแห่งแคว้นอิ้ง
สวรรคต 16 ธันวาคม ค.ศ. 705 (ราว 83 พรรษา)
ลั่วหยาง
ถัดไป จักรพรรดินีเหวย์
คู่อภิเษก ในจักรพรรดิถังเกาจง
ศาสนา พุทธมหายาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: บูเช็กเทียน http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter16030... http://books.google.com/books?id=XpUyLqQ26ioC&dq=B... http://books.google.com/books?id=mUofeN6WW_IC&pg=P... http://www.heroinesinhistory.com http://www.womeninworldhistory.com/heroine6.html http://ctwang.myweb.hinet.net/22szj/300/0260.htm http://www.oknation.net/blog/print.php?id=601668 http://www.stroke.com.tw/WEB/b/b1-4.htm http://ef.cdpa.nsysu.edu.tw/ccw/02/ntan01.htm http://ef.cdpa.nsysu.edu.tw/ccw/02/ntan13.htm