ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์ ของ ประชาธิปไตยโดยตรง

ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic direct democracy, EDD) หรือรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า ประชาธิปไตยดิจิตัลโดยตรง (direct digital democracy, DDD)[36]เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยโดยตรงที่ใช้โทรคมนาคมเพื่ออำนวยให้ประชาชนมีส่วนร่วมซึ่งบางครั้งก็เรียกเป็นชื่อภาษาอังกฤษอย่างอื่น ๆ ได้ด้วยเช่น open-source governance (วิธีการปกครองแบบโอเพนซอร์ซ) หรือ collaborative governance (วิธีการปกครองแบบปรึกษาหารือ)

ระบบนี้ให้ออกคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิคส์ หรือด้วยวิธีการอย่างอื่น ๆ เพื่อลงคะแนนเสียงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ทางอิเล็กทรอนิคส์และเหมือนกับประชาธิปไตยโดยตรงแบบอื่น ๆ ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเกี่ยวกับนิติบัญญัติ เขียนกฎหมายใหม่ และถอดถอนผู้แทน ถ้ายังมีผู้แทนอยู่

สถาบันเทคโนโลยีฟลอลิดาได้ทำงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุน EDD[37]ซึ่งสถาบันเองก็ได้ใช้ในองค์กรต่าง ๆ ของนักศึกษาอนึ่ง ยังมีโปรเจ็กต์พัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ อีกมาก[38]ตลอดจนโครงการสนับสนุนอื่น ๆ[39]มีหลายโครงการที่ทำงานร่วมมือกันโดยใช้สถาปัตยกรรมข้ามแพลตฟอร์ม ภายใต้โครงการ Metagovernment (อภิรัฐบาล)[40]

ยังไม่มีรัฐบาลไหน ๆ ในโลกที่ใช้ EDD ทั้งระบบ แม้ว่าจะมีโครงการริเริ่มหลายโครงการ

  • ในสหรัฐช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2535 และ 2539 อภิมหาเศรษฐีผู้สมัครรับเลือกตั้งรอสส์ เพโรต์ ได้สนับสนุนให้มี ประชุมเมืองทางอิเล็กทรอนิคส์ (electronic town meeting)
  • ในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ปกครองด้วยประชาธิปไตยโดยตรงเป็นบางส่วน ก็กำลังดำเนินการใช้ระบบเช่นนี้[41]
  • พรรคประชาธิปไตยโดยตรงออนไลน์ (Online Direct Democracy, ชื่อเดิม Senator Online) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองในประเทศออสเตรเลียที่ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของรัฐบาลกลางออเสตรเลียในปี 2550 ได้เสนอใช้ระบบ EDD เพื่อให้คนออสเตรเลียตัดสินว่า สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกจะลงคะแนนออกเสียงในแต่ละเรื่องอย่างไร[42]
  • มีโครงการริเริ่มคล้ายกันปี 2545 ของพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง (Direktdemokraterna, ชื่อเดิม Aktivdemokrati) ในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในรัฐสภาสวีเดน ซึ่งเสนอให้สมาชิกมีอำนาจตัดสินการดำเนินการของพรรคทั่วไปหรือในบางเรื่อง หรือโดยเป็นทางเลือก การมีผู้แทนอันสมาชิกสามารถถอดถอนได้ทันทีในเรื่องบางเรื่อง

ตั้งแต่ต้นปี 2554 พรรคการเมืองแบบ EDD เช่นนี้ก็เริ่มร่วมมือกันผ่านองค์กร Participedia wiki[43]

  • พรรคประชาธิปไตยโดยตรงหลักพรรคแรกที่ลงทะเบียนกับคณะกรรมการเลือกตั้งก็คือ พรรค People's Administration Direct Democracy แห่งสหราชอาณาจักร[44]

พรรคได้พัฒนาและตีพิมพ์โครงสร้างสมบูรณ์ของการปฏิรูปที่เป็นไปตามกฎหมายเพื่อสร้าง EDD (รวมทั้งการปฏิรูปรัฐสภาที่จำเป็น)[45]ทำให้สามารถวิวัฒนาการระบบการปกครองผ่านการออกเสียงลงคะแนนด้วยเสียงข้างมากอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ต้องปฏิวัติใช้ความรุนแรงพรรคตั้งขึ้นโดยนักดนตรีและนักปฏิบัติการทางการเมือง สนับสนุนให้ใช้เว็บและโทรศัพท์เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนสามารถสร้าง เสนอ และออกเสียงลงคะแนนเกี่ยวกับการออกกฎหมายของรัฐแผนงานละเอียดของพรรคได้ตีพิมพ์ในวรรณกรรมรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2541

  • ฟลักซ์ (Flux) เป็นขบวนการทางการเมืองมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนระบบนิติบัญญัติแบบเลือกตั้งของโลกด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ใหม่ที่เรียกว่า issue-based direct democracy (ประชาธิปไตยโดยตรงตามประเด็นปัญหา)

เป็นขบวนการที่เกิดและมีการดำเนินงานมากที่สุดในออสเตรเลีย แต่ก็เป็นขบวนการสากลด้วยโดยมีกลุ่มดำเนินการในประเทศบราซิล[46]

  • พรรคมติประชา หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า People Vote Party (PVP)[47][48] มีคำขวัญประจำพรรคการเมืองคือ พัฒนาชาติ จากเสียงของประชาชน (Developing Nation from People's Direct Voted) เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในประเทศไทยที่ใช้หลักการประชาธิปไตยโดยตรง (Electronic Direct Democracy หรือ Digital Direct Democracy) เป็นหลักในการดำเนินงานและจัดการกับความเห็นภายในพรรค และนำมันไปใช้ผ่านตัวแทนของพรรคในรัฐสภา พรรคมติประชาจัดดั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา[49] เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 พรรคมติประชาได้กำหนดให้ใช้ประชาธิปไตยทางตรงและกำหนดอยู่ในข้อบังคับของพรรค เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการนำไปใช้ประชาธิปไตยโดยตรงไปใช้จริงเนื่องจากหลายครั้งมักเป็นเพียงแค่การโฆษณาชวนเชื่อหรือวาทะกรรมของนักการเมืองโดยที่มิได้นำระชาธิปไตยทางตรงมาใช้จริงและทำให้มีผลทางกฎหมาย พรรคจัดตั้งขึ้นโดยนายอนุชิต งามพัฒนพงศ์ชัย[50] ประชาชนคนไทยธรรมดาที่ไม่เคยเป็นนักการเมืองมาก่อนแต่ต้องการใช้สิทธิและอำนาจของตนโดยตรงไปยังรัฐสภาที่ไม่ใช่เป็นความเห็นของตัวแทนหรือผู้บริหารพรรค แต่กลับหาพรรคการเมืองแบบนี้ไม่ได้ในประเทศไทย จึงร่วมกับกลุ่มคนที่ต้องการให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาชาติที่มากไปกว่าการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจัดตั้งพรรคขึ้น โดยใช้รูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงภายในพรรคที่ให้สมาชิกพรรคทุกคนได้มีโอกาสในเลือกและตัดสินใจด้วยหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงผ่านโปรแกรมที่ต้องระบุตัวตนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในสังคมของประเทศไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประชาธิปไตยโดยตรง http://senatoronline.com.au/ http://www.participatorydemocracy.ca/ http://www.swissinfo.ch/directdemocracy/checks-and... http://www.swissinfo.ch/directdemocracy/explore-60... http://www.aolsvc.worldbook.aol.com/wb/Article?id=... http://www.realdirectdemocracynow.blogspot.com http://hanskoechler.com/DEM-CON.HTM http://m-w.com/dictionary/pure%20democracy http://www.questia.com/library/book/the-new-englan... http://quezi.com/12164