ตัวอย่าง ของ ประชาธิปไตยโดยตรง

เมืองเอเธนส์โบราณ

ดูบทความหลักที่: ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์

ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ได้พัฒนาขึ้นในนครรัฐกรีกโบราณเอเธนส์ ซึ่งรวมนครเอเธนส์เองบวกกับอาณาเขตรอบ ๆ ที่รวมเรียกว่า Attica ประมาณพุทธกาลคือ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นประชาธิปไตยแรกรัฐหนึ่งที่รู้จักแม้ว่านครรัฐกรีกอื่น ๆ จะใช้ระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน และโดยมากจะทำตามแบบเอเธนส์ แต่ก็ไม่มีรัฐอื่นที่มีอำนาจ เสถียร หรือเหลือร่องรอยหลักฐานเท่ากับของเอเธนส์ในประชาธิปไตยโดยตรงของเอเธนส์ ประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนให้ออกเสียงลงคะแนนเพื่อผ่านกฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อประโยชน์แห่งตน (ดังที่ทำในสหรัฐอเมริกา) แต่ตัวเองนั่นแหละเป็นคนลงคะแนนการมีส่วนร่วมไม่ได้เปิดโดยทั่วไป คือมีการจำกัดแม้ว่าจะไม่ได้จำกัดโดยชนชั้นทางเศรษฐกิจ[ต้องการอ้างอิง]และประชาชนก็มีส่วนร่วมอย่างมากโดยความเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงจะได้รับอิทธิพลจากละครเสียดสีทางการเมืองของศิลปินตลกชาวกรีกที่แสดงในโรงละคร[17]

รัฐบุรุษ Solon (594 ก่อนคริสต์ศักราช) ขุนนาง Cleisthenes (508-7 ก่อน ค.ศ.) และนักการเมือง Ephialtes (462 ก่อน ค.ศ.) ล้วนแต่มีบทบาทพัฒนาระบอบประชาธิปไตยชาวเอเธนส์แต่นักประวัติศาสตร์เห็นต่างกันว่า พวกเขามีบทบาทสร้างสถาบันอะไร และคนไหนเป็นผู้แทนที่แท้จริงของขบวนการประชาธิปไตยโดยปกติจะจัดว่า ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์เริ่มมาจาก Cleisthenes เพราะว่ารัฐธรรมนูญของ Solon ได้ล่มแล้วถูกทดแทนด้วยระบอบทรราชย์ของ Peisistratus

ผู้นำประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและคงยืนที่สุดก็คือเพริคลีส (Pericles)ภายหลังการเสียชีวิตของเขา ระบอบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ก็ถูกปฏิวัติเปลี่ยนเป็นคณาธิปไตยอย่างสั้น ๆ 2 ครั้งท้ายสงครามเพโลพอนนีเซียนแล้วต่อมาจึงฟื้นฟูอีกแม้จะเปลี่ยนไปภายใต้การปกครองของยูคลีดีส (Eucleides) ปี 403-402 ก่อน ค.ศ.เป็นช่วงที่ได้รายละเอียดเกี่ยวกับการปกครองมากที่สุด ไม่ใช่ได้ในช่วงการปกครองของเพริคลีสต่อมาจึงถูกระงับอีกในปี 322 ก่อน ค.ศ. ภายใต้การปกครองของชาวมาเซโดเนียแม้ภายหลังสถาบันของชาวเอเธนส์จะกลับคืนมาอีก แต่ความเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ของระบอบก็เป็นเรื่องไม่ชัดเจน[18]

ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่ไม่ต้องลงทะเบียน ประชาชนทุกคนจะได้รับบัตรลงคะแนนตลอดจนโบรชัวร์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ลงคะแนนแต่ละอย่าง และสามารถส่งบัตรกลับทางไปรษณีย์ประเทศมีกลไกสำหรับประชาธิปไตยโดยตรงหลายอย่างและจะมีการลงคะแนนประมาณ 4 ครั้งต่อปี

สวิตเซอร์แลนด์

ในปัจจุบัน รูปแบบบริสุทธิ์ของประชาธิปไตยโดยตรงมีอยู่เพียงแค่ในแคนทอนอัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน (Appenzell Innerrhoden) และแคนทอนกลารุส แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์[19] เทียบกับสมาพันธรัฐสวิสโดยรวมที่เป็นประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง คือเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนที่มีกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงที่เข้มแข็ง[19]ความเป็นประชาธิปไตยโดยตรงของประเทศ จะบูรณาการด้วยโครงสร้างแบบสหพันธรัฐของรัฐบาลกลาง (เยอรมัน: Subsidiaritätsprinzip) [7][8][9][10]เทียบกับประเทศตะวันตกโดยมากที่เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน[19]

สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวอย่างหายากของประเทศที่มีกลไกของประชาธิปไตยโดยตรงทั้งในระดับเทศบาล แคนทอน และสหพันธรัฐโดยประชาชนจะมีอำนาจมากกว่าในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในระดับการเมืองทุกส่วน ประชาชนสามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (การริเริ่มออกกฎหมายของประชาชน)หรือการขอประชามติโดยเลือก (optional referendum ซึ่งต้องมีลายเซ็น 50,000 ราย) ต่อกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาระดับสหพันธรัฐ แคนทอน และ/หรือเทศบาล[20]

การขอประชามติโดยเลือก (optional referendum) และการลงประชามติโดยบังคับ (compulsory referendum) ในระดับการปกครองต่าง ๆ โดยทั่วไปจะทำมากกว่าในประเทศอื่น ๆยกตัวอย่างเช่น ในระดับประเทศ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะบังคับให้ลงคะแนนเสียงโดยทั้งประชาชนและแคนทอน ส่วนในระดับแคทอนและระดับท้องถิ่นอื่น ๆ การตัดสินใจเรื่องงบประมาณที่พอสมควรไม่ว่าจะโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ก็บังคับให้ประชาชนได้ลงคะแนนเสียงด้วยเหมือนกัน[20]

ประชาชนชาวสวิสจะออกเสียงลงคะแนน 4 ครั้งต่อปี ในประเด็นปัญหาทุกอย่างในทุก ๆ ระดับการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติงบประมาณสำหรับอาคารโรงเรียนหรือการสร้างถนนใหม่จะเป็นการเปลี่ยนนโยบายเรื่องอาชีพทางเซ็กซ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือนโยบายต่างประเทศ[21]

ในระหว่างเดือนมกราคม 2538 จนถึงเดือนมิถุนายน 2548 ประชาชนได้ลงคะแนนออกเสียง 31 ครั้ง เกี่ยวกับปัญหาระดับประเทศ 103 เรื่อง ปัญหาระดับแคนทอนและเทศบาลมากมายยิ่งกว่านั้น[22]เทียบกับประชาชนชาวฝรั่งเศสที่มีส่วนร่วมลงประชามติเพียงแค่สองครั้งในช่วงเดียวกัน[19]

ในสวิตเซอร์แลนด์ การได้คะแนนเกินครึ่งของที่ออกเสียงลงคะแนน (simple majority) ก็พอแล้วในระดับเทศบาลและแคนทอน แต่ในระดับประเทศ การได้เสียงข้างมากโดยอย่างน้อย 2 เกณฑ์ (double majority) เป็นข้อบังคับในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ[15]ซึ่งก็คือ ต้องได้เสียงข้างมากจากประชาชนที่ลงคะแนน และจากแคนทอน

ดังนั้น ถ้าประชาชนเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในระดับประเทศ ถึงแม้ประชาชนโดยมากจะอนุมัติแต่แคนทอนโดยมากคัดค้าน สิ่งที่เสนอก็จะไม่ผ่านเป็นกฎหมาย[15] ส่วนการลงประชามติในเรื่องทั่ว ๆ ไป (เช่น หลักของการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั่วไป) การได้เสียงส่วนมากจากคนที่ออกเสียงก็พอแล้ว (เช่นรัฐธรรมนูญปี 2548)

ในปี 2433 เมื่อกำลังอภิปรายข้อกำหนดการออกฎหมายของประชาชนในประชาสังคมและรัฐบาลชาวสวิสได้รับเอาแนวคิดการได้เสียงข้างมากสองอย่างจากรัฐสภาสหรัฐ ที่สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้แทนให้ประชาชน และวุฒิสภาจะเป็นผู้แทนให้รัฐต่าง ๆ[15]

ตามผู้สนับสนุน การออกกฎหมายของประชาชนในระดับประเทศที่ "สมบูรณ์ด้วยความชอบธรรม" เช่นนี้ ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากทนายและนักการเมืองชาวอเมริกันคนหนึ่ง (Kris Kobach) อ้างว่า สวิตเซอร์แลนด์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจโดยมีประเทศอื่น ๆ เพียงแค่ 2-3 ประเทศเท่านั้นที่สามารถเทียบได้เขาเขียนในท้ายหนังสือของเขาว่า บ่อยครั้งที่ผู้สังเกตการณ์จะลงความเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวประหลาดในบรรดาระบอบการปกครองทั้งหลาย ทั้งที่จริงสมควรจะมองว่าเขาว่าเป็นประเทศที่บุกเบิกระบอบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งกลไกของประชาธิปไตยโดยตรงตลอดจนการปกครองแบบแบ่งเป็นหลายระดับ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักวิชาการในเรื่องการรวมหน่วยของสหภาพยุโรป[23]

สหรัฐอเมริกา

ในเขตนิวอิงแลนด์ในสหรัฐ เทศบาลต่าง ๆ จะมีระบบ การปกครองตนเองของท้องถิ่น (home rule) แบบจำกัด และตัดสินเรื่องในท้องถิ่นผ่านกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า ประชุมเมือง (town meeting)[24]ซึ่งเป็นรูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐ และได้มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งประเทศอย่างน้อยก็หนึ่งศตวรรษ

แต่ว่า ประชาธิปไตยโดยตรงก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้กำหนดกรอบรัฐธรรมนูญสหรัฐได้วางแผนให้กับประเทศเพราะพวกเขามองเห็นอันตรายของเผด็จการโดยเสียงข้างมากและดังนั้น จึงสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในรูปแบบของสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยตรง

ยกตัวอย่างเช่น บิดาของรัฐธรรมนูญสหรัฐและประธานาธิปดีคนที่ 4 เจมส์ เมดิสัน สนับสนุนสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญเหนือประชาธิปไตยโดยตรง โดยเฉพาะก็เพื่อป้องกันปัจเจกบุคคลจากเจตจำนงของคนส่วนมากโดยได้กล่าวไว้ว่า

ผู้มีทรัพย์สินและผู้ไม่มี ย่อมมีความสนใจ/ผลประโยชน์ในสังคมที่ไม่เหมือนกันตลอดกาลผู้ที่เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ ก็ตกอยู่ใต้การเลือกปฏิบัติเช่นกันกลุ่มที่ดิน กลุ่มการผลิต กลุ่มพ่อค้า กลุ่มการเงิน และกลุ่มเล็กกว่าอื่น ๆ ก็เติบโตขึ้นจากความจำเป็นในประเทศศิวิไลซ์ ซึ่งแบ่งพวกเขาเป็นชนชั้นต่าง ๆ โดยได้แรงกระตุ้นจากความรู้สึกและมุมมองที่ต่างกันการควบคุมกลุ่มต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันเหล่านี้ เป็นงานหลักของการออกกฎหมายปัจจุบันและโยงใยกับสปิหริดของพรรคและฝ่าย ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลที่ปกติและจำเป็นประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ซึ่งผมหมายถึงสังคมที่มีประชาชนจำนวนน้อย ผู้ประชุมกันและบริหารรัฐบาลเอง ไม่สามารถอ้างว่ามีวิธีแก้ปัญหาของพรรคฝ่ายเช่นนี้คนส่วนมากจะเห็นด้วยกับความรู้สึกหรือความสนใจที่สามัญ โดยไม่มีอะไรจูงใจเพื่อกีดขวางการสังเวยกลุ่มที่อ่อนแอกว่าดังนั้น ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเข้ากับความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือสิทธิในทรัพย์สินและโดยทั่วไป ก็จะมีอายุสั้นเท่ากับความรุนแรงที่จะสิ้นชีพไป

เจมส์ เมดิสัน - บิดาของรัฐธรรมนูญสหรัฐและประธานาธิปดีคนที่ 4[25]

จอห์น วิเธอร์สปูน ซึ่งเป็นผู้ลงนามคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกากล่าวว่า"ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานด้วย ไม่สามารถใช้ในส่วนต่าง ๆ ของรัฐด้วย (เพราะ) มันตกอยู่ใต้การทำตามอำเภอใจและตามความบ้าเนื่องจากความคลั่งไคล้ของประชาชน"ส่วนอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ผู้เป็นบิดาของประเทศและเลขาธิการกระทรวงการคลังสหรัฐคนแรก ได้กล่าวไว้ว่า"จุดยืนว่า ถ้าประชาธิปไตยบริสุทธิ์สามารถปฏิบัติได้ ก็จะเป็นระบบการปกครองที่สมบูรณ์ที่สุด(แต่) ประสบการณ์ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีจุดยืนไหนที่เป็นเท็จยิ่งกว่านี้ประชาธิปไตยโบราณต่าง ๆ ที่ประชาชนเองปรึกษาหารือ ไม่มีลักษณะการปกครองอะไรดีสักอย่าง(เพราะ) ลักษณะโดยเฉพาะของพวกมันก็คือ เป็นระบบทรราชย์และรูปร่างของมันก็พิกลพิการ"[26]

แม้ว่าผู้กำหนดกรอบจะตั้งใจเช่นนี้เมื่อตั้งประเทศ ทั้งการเสนอกฎหมายเพื่อลงคะแนนโดยประชาชน (ballot measure) และการลงประชามติที่เป็นของคู่กัน ก็ได้ใช้อย่างกว้างขวางในทั้งระดับรัฐและระดับท้องถิ่นอื่น ๆและก็มีกฎหมายที่ตั้งโดยการพิพากษา (case law) ต่าง ๆ ในทั้งระดับรัฐและระดับประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1900 จนถึง 1990 ที่ป้องกันสิทธิอำนาจของประชาชนในการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง[27][28]กรณีพิพากษาแรกของศาลสูงสุดสหรัฐที่ได้ตัดสินคดีเห็นชอบกับการออกกฎหมายของประชาชน เกิดขึ้นในปี 2455 (Pacific States Telephone and Telegraph Company v. Oregon, 223 U.S. 118)[29]

ส่วนประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ ในปาฐกถาปี 2455 หัวข้อว่า กฎบัตรของประชาธิปไตย (Charter of Democracy) ที่ให้ ณ การประชุมใหญ่เรื่องรัฐธรรมนูญในรัฐโอไฮโอ กล่าวว่า "ผมเชื่อมั่นในกระบวนการริเริ่มออกกฎหมายและการลงประชามติ ซึ่งควรใช้ไม่ใช่เพื่อทำลายรัฐบาลแบบมีตัวแทน แต่เพื่อแก้ไขเธอเมื่อเธอไม่เป็นตัวแทนที่ดี"[30] จะเห็นได้ว่าบุคคลที่กล่าวแย้งเรื่องประชาธิปไตยโดยตรงล้วนเป็นตัวแทนทั้งสิ้น

ในรัฐต่าง ๆ การขอ/ลงประชามติที่ประชาชนสามารถใช้อำนาจรวมทั้ง[ต้องการอ้างอิง]

  • การส่งต่อ (Referral) ให้ประชาชนโดยฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวกับ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เสนอ" (proposed constitutional amendments) ซึ่งเป็นบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของรัฐ 49 รัฐยกเว้นรัฐเดลาแวร์ (Initiative & Referendum Institute, 2004)
  • การส่งต่อให้ประชาชนโดยฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวกับ "บทบัญญัติกฎหมายที่เสนอ" (proposed statute laws) ซึ่งเป็นบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของรัฐ 50 รัฐ (Initiative & Referendum Institute, 2004)
  • การริเริ่มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (Constitutional amendment initiative) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญเพื่อ "กฎหมายในรัฐธรรมนูญที่เสนอ" ซึ่งถ้าสำเร็จ ก็จะมีผลเป็นบทบัญญัติที่ระบุโดยตรงในรัฐธรรมนูญระดับรัฐ เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถแก้บัญญัติในรัฐธรรมนูญได้ องค์เช่นนี้ของประชาธิปไตยโดยตรงให้อำนาจที่เหนือกว่าและสูงสุดแก่ประชาชนโดยอัตโนมัติ เหนือกว่ารัฐบาลที่เป็นผู้แทน (Magelby, 1984) ซึ่งใช้ใน 19 รัฐคือ แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ฟลอริดา อิลลินอยส์ ลุยเซียนา แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซิสซิปปี มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา นอร์ทดาโคตา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา[31] ในบรรดารัฐเหล่านี้ การริเริ่มเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมี 3 รูปแบบหลัก โดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐจะมีบทบาทในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งเป็นตัวแยกแยะรูปแบบ[29]
  • การริเริ่มบัญญัติกฎหมาย (Statute law initiative) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนในเรื่อง "บัญญัติกฎหมายที่เสนอ" ซึ่งถ้าผ่าน ก็จะมีผลเป็นกฎหมายเขียนลงในบัญญัติกฎหมายของรัฐโดยตรง ซึ่งใช้ในรัฐ 21 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ไอดาโฮ เมน แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา ยูทาห์ วอชิงตัน และไวโอมิง[31] ให้สังเกตว่า การออกกฎหมายโดยประชาชน (คือ การริเริ่มบัญญัติกฎหมายและการขอ/ลงประชามติ) ไม่ใช่เป็นบัญญัติในรัฐธรรมนูญของยูทาห์ แต่เป็นบทบัญญัติกฎหมายของรัฐ[29] ในรัฐโดยมาก กฎหมายที่ออกโดยประชาชนจะไม่พิเศษ คือฝ่ายนิติบัญญัติสามารถเริ่มเปลี่ยนกฎหมายได้ทันที
  • การขอประชามติสำหรับบัญญัติกฎหมาย (Statute law referendum) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนเพื่อ "การเสนอยับยั้งกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมดหรือบางส่วน" ซึ่งถ้าผ่าน ก็จะยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งใช้ในระดับรัฐ 24 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ไอดาโฮ เคนทักกี เมน แมริแลนด์ แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา นิวเม็กซิโก นอร์ทดาโคตา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา ยูทาห์ วอชิงตัน และไวโอมิง[31]
  • การถอดถอน (recall) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนเพื่อถอดผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่ง ในรัฐและเขตท้องถิ่นโดยมากที่มีกระบวนการเช่นนี้ ประชาชนจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งคนอื่นพร้อม ๆ กับลงคะแนนเพื่อถอดถอนตำแหน่ง โดยคนที่ได้รับเลือกตั้งในบัตรนี้จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งคนต่อไป ถ้าการถอดถอนผ่าน เป็นกระบวนการซึ่งใช้ในรัฐ 19 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด จอร์เจีย ไอดาโฮ อิลลินอยส์ แคนซัส ลุยเซียนา มิชิแกน มินนิโซตา มอนแทนา เนวาดา นิวเจอร์ซีย์ นอร์ทดาโคตา ออริกอน โรดไอแลนด์ วอชิงตัน และวิสคอนซิน[32]

ปัจจุบันมีรัฐ 24 รัฐที่มีกระบวนการทางประชาธิปไตยโดยตรงที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญและเริ่มโดยประชาชน[29]ในสหรัฐโดยมาก การได้คะแนนเสียงข้างมากอย่างเดียวก็พอตัดสินกระบวนการเหล่านี้[ต้องการอ้างอิง]นอกจากนั้น เขตท้องถิ่นอื่น ๆ จำนวนมากในสหรัฐก็ยังมีกระบวนการบางอย่างหรือทั้งหมดเหล่านี้ โดยที่การริเริ่มกฎหมายในบางกรณี (เช่น การเพิ่มภาษี) จะบังคับให้ได้คะแนนเสียงเกินกว่าครึ่ง (supermajority) ก่อนที่จะผ่านแม้ในรัฐที่ไม่มีหรือแทบไม่มีกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนก็ยังมีโอกาสตัดสินเรื่องโดยเฉพาะบางเรื่องโดยตรง เช่น จะให้ขายสุราในเขตท้องถิ่นนั้นหรือไม่[ต้องการอ้างอิง]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประชาธิปไตยโดยตรง http://senatoronline.com.au/ http://www.participatorydemocracy.ca/ http://www.swissinfo.ch/directdemocracy/checks-and... http://www.swissinfo.ch/directdemocracy/explore-60... http://www.aolsvc.worldbook.aol.com/wb/Article?id=... http://www.realdirectdemocracynow.blogspot.com http://hanskoechler.com/DEM-CON.HTM http://m-w.com/dictionary/pure%20democracy http://www.questia.com/library/book/the-new-englan... http://quezi.com/12164