ยุคโบราณ ของ ประวัติศาสตร์โลก

ดูบทความหลักที่: ยุคโบราณ

อู่อารยธรรม

ดูบทความหลักที่: ยุคสำริด และ ยุคเหล็ก
ชาวอียิปต์โบราณสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซา

ยุคสำริดเป็นหนึ่งยุคตามการแบ่งระบบสามยุค ซึ่งได้แก่ ยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก ซึ่งอธิบายประวัติศาสตร์ยุคต้นของอรรยาธรรมในบางส่วนของโลกได้เป็นอย่างดี เราจะเริ่มเห็นระบบเมือง และการเติบโตของอารยธรรมของบริเวณพื้นที่อุดมสมบูรณ์ในยุคเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ เช่นลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟติสในเมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ ลุ่มแม่น้ำสินธุ ในอินเดีย และลุ่มแม่น้ำฮวงโหในจีน

เราเริ่มเห็นความรุ่งเรืองของเมโสโปเตเมียในช่วงสังคมของชาวสุเมเรียน ชาวสุเมเรียนมีระบบการเขียนโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม ซึ่งเป็นอักษรภาพที่มีลักษณะคล้ายลิ่มราวๆ 3000 ปีก่อนคริสตกาล และตัวอักษรก็ค่อยถูกพัฒนาให้เรียบง่ายและเป็นนามธรรมมากขึ้น การเขียนอักษรคูนิฟอร์มนั้นต้องเขียนในแผ่นดินเหนียวด้วยต้นกก การเขียนช่วยในการบริหารเมืองที่ใหญ่ขึ้นได้ง่ายขึ้นมาก และในยุคนี้ยังได้เห็นพัฒนาการทางด้านการทหารเช่นรถม้าและทหารม้า ทำให้เคลื่อนพลได้เร็วขึ้น

การพัฒนาเหล่านี้นำไปสู่การสร้างจักรวรรดิ โดยจักรวรรดิแรกที่ควบคุมดินแดนขนาดใหญ่และประกอบไปด้วยหลายเมืองเกิดขึ้นในอียิปต์ด้วยการรวมกันของอียิปต์ตอนล่างและตอนบนในช่วง 3100 ปีก่อนคริสตกาล ในอีกพันปีต่อมาก็เกิดจักรวรรดิอาคาเดียนในเมโสโปเตเมียก็เจริญรุ่งเรืองขึ้น[18] พร้อมๆ กับการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยของจีนในช่วง 2200 ปีก่อนคริสตกาล

เส้นเวลา

เวลาที่ปรากฏดังกล่าวเป็นการประมาณเท่านั้น รายละเอียดสามารถตรวจสอบได้ในบทความเฉพาะด้านต่างๆ

ยุคแกนหลักความคิด (Axial Age)

ดูบทความหลักที่: ยุคแกนหลักความคิด
นครวัดในกัมพูชาสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 12

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาลมีการพัฒนาแนวคิดทางศาสนาและปรัชญาครั้งใหญ่ในหลายๆ แหล่งอารยธรรมอย่าง ลัทธิขงจื้อในจีน ศาสนาพุทธและเชนในอินเดีย ศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเปอร์เซีย ศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนายิวในอียิปต์โบราณ และในช่วงคริตศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โสกราตีส และ เพลโตก็ได้วางรากฐานของปรัชญากรีกโบราณ

ทางด้านจีนเองก็ได้รับอิทธิพลการคิดมาจากสามสำนักสำคัญจนถึงปัจจุบันได้แก่ ลัทธิเต๋า,[19] ลัทธิกฎหมาย[20] และ ลัทธิขงจื้อ.[21]ซึ่งแพร่หลายไปยังทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น

ทางด้านยุโรปเองได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญากรีกโบราณอย่าง โสกราตีส[22] เพลโต,[23]และอริสโตเติล,[24][25] ซึ่งแพร่หลายไปยังทั่วทั้งยุโรปและตะวันออกกลางในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลจากการพิชิตดินแดนของอเล็กซานเดอร์มหาราช[26][27][28]

ยุคจักรวรรดิ

วิหารพาร์เธนอนแสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรีกโบราณ

ช่วงพันปีระหว่าง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 500 เกิดจักรวรรดิที่กว้างใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน กองทัพที่ถูกฝึกมาอย่างดี อุดมการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว และการปกครองที่เป็นระบบทำให้จักรพรรดิสามารถปกครองประชากรภายใต้อาณัติถึงหลายสิบล้านคน

ประวัติศาสตร์โลกช่วงนี้เป็นช่วงที่เทคโนโลยีก้าวหน้าค่อนข้างช้าแต่มั่นคง พัฒนาการครั้งสำคัญอย่างโกลนและคันไถจะเกิดขึ้นทุกๆ สองสามศตวรรษ อย่างไรก็ตามในบางภูมิภาคกลับมีช่วงพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วมากเช่นแถบเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงเฮเลนมีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจำนวนมาก [29][30] [31] ช่วงพัฒนาดังกล่าวตามมาด้วยช่วงการถดถอยทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและช่วงยุคกลางตอนต้นที่ตามมา

อำนาจของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการผนวกดินแดนโดยใช้กำลังทหารและการตั้งถิ่นฐานเพื่อปกป้องศูนย์กลางทางการเกษตร[32] สันติภาพชั่วคราวที่เกิดจากระบบจักรวรรดิก่อให้เกิดเส้นทางการค้าขายระหว่างประเทศ เส้นทางที่โดดเด่นที่สุดได้แก่เส้นทางการค้าหลายสายในแถบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเกิดในยุคเฮเลนิสติกและเส้นทางสายไหม

แผนที่โลกของทอเลมี สร้างขึ้นตามหนังสือ Geographia

จักรวรรดิทุกแห่งต่างเผชิญกับปัญหาเดียวกันคือการจัดการกองกำลังทหารขนาดใหญ่และการสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ความยุ่งยากในการปกครองประชากรทั้งหมดทำให้เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่เริ่มมีอำนาจมากขึ้นและท้าทายระบบการรวมศูนย์อำนาจ การโจมตีจากชนเผ่าอนารยชนต่างๆ ตามขอบชายแดนทำให้การปกครองส่วนกลางเริ่มระส่ำระสาย เกิดสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิฮั่นของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 220 ในขณะเดียวกันก็เกิดการแบ่งขั้วและแยกศูนย์อำนาจขึ้นในจักรวรรดิโรมัน

ในโลกตะวันตก ชาวกรีกได้สร้างอารยธรรมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน จนหลายศตวรรษต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ชาวโรมันเริ่มขยายเขตแดนด้วยการใช้กำลังทหารและการล่าอาณานิคม ในยุคสมัยจักรพรรดิออกัสตัส(ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล) โรมยึดครองอาณาเขตทั้งหมดรอบเมดิเตอเรเนียน ในยุคสมัยจักรพรรดิทราจัน(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2) โรมยึดครองอาณาเขตส่วนใหญ่ของอังกฤษและเมโสโปเตเมีย

ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล อาณาเขตส่วนใหญ่ของเอเชียใต้ถูกรวบรวมเป็นจักรวรรดิโมริยะโดยพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะ และรุ่งเรืองที่สุดในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช คริสตวรรษที่ 3 จักรวรรดิคุปตะเข้าครอบครองอาณาเขตนี้และเข้าสู่ยุคทองของอายธรรมอินเดียโบราณ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาครองครองเอเชียใต้จำนวนมากทั้งจาลุกยะ ราษฏรกูฏ ฮอยซาลา และวิชัยนคร ท่ามกลางความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม และปรัชญาซึ่งอุปถัมภ์โดยกษัตริย์องค์ต่างๆ

ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ฮั่นได้ยึดครองเอเชียตะวันออกเป็นจักรวรรดิจีนที่เก่าแก่ ราชวงศ์ฮั่นได้รับยกย่องว่าเป็นโรมตะวันออก (Rome of China) ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเส้นทางสายไหม ในขณะที่แสนยานุภาพทางทหารของโรมันแทบไม่สามารถเอาชนะได้ จีนฮั่นได้พัฒนาการทำแผนที่ การต่อเรือ และการเดินเรือ โลกตะวันออกได้สร้างเตาหลอมโลหะ ทำให้สามารถผลิตเครื่องมือจากทองแดงที่สามารถปรับแต่งได้อย่างละเอียด เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ในยุคโบราณ จีนฮั่นพัฒนาระบบการปกครอง การศึกษา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

Inca มัมมี่มาชูปิกชู สัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิอินคา

อารยธรรมอเมริกาเริ่มต้นเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาลในแถบเมโสอเมริกา[33] เกิดสังคมก่อนยุคโคลัมเบียนอย่างแหล่งอารยธรรมมายาและจักรวรรดิแอซเท็ก หลังจากการล่มสลายของวัฒนธรรมเริ่มต้นอย่างวัฒนธรรมโอเมก[34] อารยธรรมมายาเริ่มขยายตัวในแถบยูกาตัง และจักรวรรดิแอซเท็ก ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมข้างเคียง และกวาดต้อนเอาชนเผ่าต่างๆ เช่น ชนเผ่าทอลเต็ก

ในอเมริกาใต้ คริสตวรรษที่ 14 และ 15 มีการขยายตัวของจักรวรรดิอินคา จักรวรรดิอินคาแห่งตาวันตินซูยู ได้ตั้งเมืองกุสโกเป็นเมืองหลวง และขยายตัวไปตามเทือกเขาแอนดีส เป็นแหล่งอารยธรรมวงกว้างที่สุดอันหนึ่งก่อนยุคโคลัมเบียน[35][36] จักรวรรดิอินคามีความรุ่งเรืองและทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระบบถนนของชาวอินคาและการก่ออิฐอย่างไม่มีใครเทียบได้

การล่มสลายของจักรวรรดิ

จักรวรรดิในแถบยูเรเชียส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบที่ราบชายฝั่งทะเล ดังนั้นชนเผ่าเร่ร่อนซึ่งใช้ม้าเป็นพาหนะหลัก เช่นพวกมองโกลและพวกเติร์ก จึงเริ่มยึดครองพื้นที่โดยเริ่มจากแถบเอเชียกลาง ประกอบกับการประดิษฐ์โกลนและการเพาะเลี้ยงม้าให้แข็งแรง ทำให้ม้าสามารถรับน้ำหนักกำลังพลพร้อมชุดเกราะได้ และทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนกลายเป็นภัยคุกคามต่อแหล่งอารยธรรมในระยะยาว

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอย่างช้าๆ [37][38] กินเวลายาวนานจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 ไปอีกหลายศตวรรษ ประกอบกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของศาสนาคริสต์จากดินแดนตะวันออกกลางสู่ดินแดนตะวันตก ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกตกอยู่ภายใต้การนำของอนารยชนชาวเยอรมันในคริตศตวรรษที่ 5 ในที่สุด[39] องค์กรทางการเมืองต่างแตกกระจายเป็นรัฐจำนวนมาก ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กับคริสตจักรโรมันคาทอลิกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จักรวรรดิโรมันบางส่วนบริเวณเมดิเตอเรเนียนตะวันออกแตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์[40] อีกหลายศตวรรษต่อมามีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปีค.ศ. 962 ทำให้ยุโรปตะวันตกกลับมารวมตัวกันได้อย่างชั่วคราว[41] ซึ่งกินบริเวณประเทศเยอรมนี ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี และฝรั่งเศสบางส่วนในปัจจุบัน

ในจักรวรรดิจีน ราชวงศ์ต่างๆ ผลัดกันขึ้นมาปกครองดินแดนแถบนี้ [42][43] หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[44] และสิ้นสุดลงของยุคสามก๊ก ชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือเริ่มคุกคามจีนในช่วงคริสศตวรรษที่ 4 ยึดจีนตอนเหนือบางส่วนและสร้างเป็นอาณาจักรเล็กๆ หลายอาณาจักร ราชวงศ์สุยรวมจีนขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี 581 และภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถัง (618-907) จักรวรรดิจีนก้าวเข้าสู่ยุคทองเป็นครั้งที่สอง แต่ราชวงศ์ถังก็ล่มสลายนำไปสู่ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ราชวงศ์ซ่งก็รวมจีนอีกครั้งในปี 982 แต่โดยแรงกดดันจากชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ ตอนเหนือของจีนจึงตกเป็นของชนเผ่าแมนจูในปี 1141 และจักรวรรดิมองโกลเข้าครองครองประเทศจีนทั้งประเทศในปี 1279 รวมผืนแผ่นดินยูเรเชียเกือบทั้งหมด ยกเว้นก็แต่ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก เอเชียใต้ส่วนใหญ่ และเกาะญี่ปุ่น

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประวัติศาสตร์โลก http://hum.ucalgary.ca/wheckel/bibl/alex-bibl.pdf http://www.authenticmaya.com/olmecs_origins_in_gua... http://www.comparative-religion.com/confucianism/ http://books.google.com/books?id=0jNI4vCO7d8C http://books.google.com/books?id=7ChJMHxovjUC http://books.google.com/books?id=V2hURbcPp0YC http://books.google.com/books?id=rTAMAAAAIAAJ&clie... http://encarta.msn.com/encyclopedia_761574502/Cent... http://www.questia.com/PM.qst?a=o&d=102816164 http://stateoftheworld.reuters.com