ความขัดแย้ง ของ ประวัติศาสตร์ไทยหลัง_พ.ศ._2544

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีมานานปะทุขึ้นในปี 2547 ระหว่างทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี การรับมือแบบมือหนักของทักษิณยิ่งทำให้มีการยกระดับความรุนแรง นำมาซึ่งการวางระเบิดบ่อยครั้งและการโจมตีกำลังความมั่นคงและพลเรือน ประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 7,000 คน รัฐบาลจัดการเจรจาสันติภาพในปี 2556 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แม้ความรุนแรงค่อย ๆ ลดลงหลังสูงสุดในปี 2553 แต่ยังมีการก่อเหตุโจมตีอยู่ประปรายโดยมีสัญญาณความสงบเพียงเล็กน้อย[16]

ประเทศไทยยังมีการก่อเหตุก่อการร้ายอยู่หลายครั้งนอกจากภาคใต้ ที่สำคัญ เช่น เหตุวางระเบิดในกรุงเทพมหานครปี 2558 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 20 คน และได้รับบาดเจ็บกว่า 120 คน เชื่อว่าเป็นฝีมือของนักชาตินิยมอุยกูร์ เพื่อแก้แค้นการส่งผู้ขอลี้ภัยชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน แม้ยังไม่มีการชำระสะสางคดีจนได้ข้อยุติ[17] นอกจากนี้ยังมีการก่อเหตุในกรุงเทพมหานครอีกในปี 2549 และ2555 แต่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประวัติศาสตร์ไทยหลัง_พ.ศ._2544 http://www.nationmultimedia.com/national/Fatalitie... http://www.worldbank.org/en/news/feature/2011/12/1... http://news.bbc.co.uk/2/hi/7759960.stm https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/1689... https://www.bbc.com/news/world-asia-38168912 https://edition.cnn.com/2014/03/21/world/asia/thai... https://edition.cnn.com/2017/10/26/asia/thailand-k... https://www.nytimes.com/2014/05/23/world/asia/thai... https://www.nytimes.com/2015/09/16/world/asia/thai... https://www.reuters.com/article/us-thailand-corrup...