ปรัชญาตะวันออก ของ ปรัชญา

ปรัชญาอินเดีย

ปรัชญาอินเดียแบ่งเป็น 2 พวก โดยแบ่งตามการนับถือเกี่ยวกับคัมภีร์พระเวท

  1. ปรัชญานาสติกะ โดยเป็นปรัชญาที่ไม่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท ได้แก่
  2. ปรัชญาอาสติกะ โดยเป็นปรัชญาที่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท ได้แก่

ปรัชญาจีน

จีนเป็นหนึ่งในชนชาติที่มีประวัติแนวคิดเรื่องปรัชญามายาวนาน โดยมีความรุ่งเรื่องสูงสุดครั้งแรกในยุคชุนชิวจ้านกว๋อ(春秋战国) ที่เรียกว่า "ร้อยสำนักความคิด" (诸子百家)โดยมีนักปรัชญาที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เล่าจื๊อ(老子)และจวงจื่อ (庄子)แห่งลัทธิเต๋า(道家)ที่เน้นหลักธรรมชาติและการไม่กระทำ ขงจื๊อ(孔子)แห่งลัทธิขงจื๊อ(儒家)ผู้ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ซางยางและหานเฟย(韩非)แห่งลัทธิกฎหมาย(法家) ที่เชื่อว่ามนุษย์มีพื้นฐานดั้งเดิมชั่วร้ายและต้องใช้กฎหมายควบคุม ม่อจื่อ(墨子)ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน[4]

ปรัชญาญี่ปุ่น

ลักษณะปรัชญาญี่ปุ่น ปรัชญาของญี่ปุ่นจำแนกเป็นฐานหลักได้ 3 ฐาน คือ 1. ฐานชินโต ฐานนี้ ญี่ปุ่นรับมาในสมัยมีการนับถือธรรมชาติ (พระเจ้า) มีคัมภีร์โคยิกิและนิเป็น ตำราศาสนาประจำชาติ เริ่มเป็น ระบบสั่งสอนและปฏิบัติจากราชสำนักไปถึงราษฎร์สามัญ โดยการที่จะเป็นศาสนาได้จะต้องมีระเบียบมั่นคงมีแบบแผนเพื่อให้เท่าเทียมกับศาสนาอื่นที่เข้ามาใหม่ 2.ฐานมิกาโต คือ ฐานเกี่ยวกับระบบการนับถือจักรพรรดิ ระบบภายในครอบครัวและระบบทางสังคมที่ยังเป็นระบบที่มีชีวิต มีการปฏิบัติ ทะนุถนอมรักษากันไว้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไม่มีเสื่อมคลาย ยากที่จะหาได้ในสังคมของชาติอื่น อันประกอบด้วย ความภักดีต่อบรรพบุรุษ ความภักดีต่อครอบครัวและความภักดีต่อสังคมในชาติ 3. ฐานปุตสุโตหรือพระพุทธศาสนา เป็นการภักดีต่อพระพุทธศาสนา เพราะว่า พระพุทธศาสนา มี อิทธิพลยิ่งใหญ่ ควบคู่ไปกับศาสนาชินโต กล่อมจิตใจขั้นพื้นฐานของชาวญี่ปุ่นรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวมาแต่ต้น นำความเจริญด้าน จิตใจ ด้านศิลปะวิทยาการ และวัฒนธรรมความเป็นอยู่มาให้แก่ ญี่ปุ่นทุกระดับ