อิทธิพลของสมอง ของ ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก

ความเสียหายในสมอง

ซีกสมอง (cerebral hemisphere) ทั้งสองข้างมีส่วนร่วมให้เกิดปรากฏการณ์แม็คเกิร์ก[14]คือมีการทำงานร่วมกันเพื่อประสานข้อมูลเกี่ยวกับคำพูดจากการเห็นและการได้ยิน การตอบสนองในสมองที่ประกอบพร้อมกับปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นในบุคคลถนัดมือขวา โดยที่สมองซีกขวาประมวลผลเกี่ยวกับใบหน้า และสมองซีกซ้ายประมวลผลเกี่ยวกับคำพูด[14]ในบุคคลที่ได้รับการตัด corpus callosum[15] (Corpus callostomy) ออก ปรากฏการณ์นี้ก็จะยังคงมีอยู่แต่เกิดขึ้นช้ากว่าคนปกติ[14]ในบุคคลที่มีรอยโรคในสมองซีกซ้าย (คือมีความเสียหายในการประมวลผลเกี่ยวกับเสียง) การเห็นบ่อยครั้งเป็นส่วนสำคัญในวิธีการรักษาด้วยการบำบัดวจีเภท (speech therapy) และการบำบัดภาษา (language therapy)[13] ดังนั้น ผู้มีรอยโรคในสมองซีกซ้าย จึงประสบกับปรากฏการณ์แม็คเกิร์กในระดับที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมผู้เป็นปกติ[13] คือ ข้อมูลจากการเห็นมีอิทธิพลสำคัญในการรับรู้คำพูด[13] แต่ว่า ถ้าสมองซีกซ้ายมีความเสียหาย ที่มีผลเป็นความบกพร่องในการรับรู้คำพูดทางตาแบบเป็นช่วง ๆ คนไข้ก็จะมีประสบการณ์นี้ในระดับที่ลดน้อยลงไป[16]

ส่วนในบุคคลที่มีความเสียหายในสมองซีกขวา ก็จะมีความเสียหายในทั้งการเห็นอย่างเดียวด้วย และทั้งการประสานข้อมูลระหว่างการเห็นและการได้ยินด้วย แต่ว่าก็ยังมีการประสานข้อมูลทั้งสองทางเพียงพอที่จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์แม็คเกิร์ก[16] การประสานข้อมูลอย่างนี้เกิดขึ้นในกรณีที่ใช้ตัวกระตุ้นทางตาเพื่อเพิ่มความสามารถในการรู้คำพูด เมื่อเสียงทางหูได้ยินได้แต่ไม่ชัดเจนเท่านั้น[16] ดังนั้น ผู้มีความเสียหายในสมองซีกขวายังประสบกับปรากฏการณ์นี้อยู่ แต่ว่าในระดับที่ไม่เท่ากับบุคคลปกติอื่น

ปรากฏการณ์ในบุคคลผู้มีโรคต่าง ๆ

ภาวะเสียการอ่านรู้ความ

เด็กผู้มีภาวะเสียการอ่านรู้ความ (Dyslexia) ประสบกับปรากฏการณ์นี้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเด็กปกติที่มีอายุเท่ากัน แต่เท่ากันเมื่อเทียบกับเด็กที่มีความสามารถในการอ่านเสมอกันและมีอายุเท่ากัน[17] เด็กผู้มีภาวะนี้ต่างจากเด็กปกติโดยปรากฏการณ์แบบผสมผสานกันเท่านั้น แต่ไม่ต่างโดยแบบหลอมรวมกัน[17] ระดับปรากฏการณ์ที่ต่ำกว่าปกติ อาจเป็นเพราะเด็กผู้มีภาวะนี้มีความยากลำบากในการรับรู้และการสร้างพยัญชนะควบกล้ำ[18][17] ดังนั้น ปรากฏการณ์แบบผสมผสานกันซึ่งอาศัยพยัญชนะควบกล้ำ จึงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ

Specific language impairment

เด็กที่มีภาวะ specific language impairment[19] มีปรากฏการณ์นี้ในระดับที่ต่ำกว่าเด็กปกติทั่วไป[20]เพราะเด็กภาวะนี้ใช้ข้อมูลทางตาเพื่อการรับรู้คำพูดที่น้อยกว่า หรือว่ามีความใส่ใจในระดับที่ลดลงต่อท่าทีการออกเสียงของคนพูด และไม่มีปัญหาอะไรในการรับรู้คำพูดโดยใช้เสียงอย่างเดียว[20]

โรคกลุ่มออทิซึมสเปกตรัม

เด็กโรคกลุ่มออทิซึมสเปกตรัม[21] มีปรากฏการณ์แม็คเกอร์กที่น้อยลงไปอย่างชัดเจนเทียบกับเด็กปกติ[22] แต่ว่า ถ้าตัวกระตุ้นไม่ใช่มนุษย์ (ตัวอย่างเช่น ให้ดูลูกเทนนิสที่กำลังเด้งโดยใช้เสียงของลูกวอลเลย์บอลที่กำลังเด้ง) ก็จะมีปรากฏการณ์นี้ในระดับที่เท่ากันกับเด็กปกติ[22] เด็กเล็กที่มีภาวะนี้ มีระดับปรากฏการณ์นี้ที่น้อยลงมาก แต่ว่า ระดับปรากฏการณ์นี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเจริญวัยขึ้น เมื่อโตแล้ว ระดับปรากฏการณ์นี้ก็จะใกล้กับคนปกติโดยทั่วไป[23]

ความพิการในการเรียนภาษา

ผู้ใหญ่ที่มีความพิการในการเรียนภาษา มีปรากฏการณ์นี้ในระดับที่น้อยกว่าคนอื่น ๆ[24]คือ การเห็นไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาษาเท่ากับคนอื่น ๆ โดยมาก[24] ดังนั้น บุคคลที่มีระดับทักษะทางภาษาต่ำ ก็จะมีระดับปรากฏการณ์นี้ที่น้อยลงไปเช่นกัน และเหตุสำหรับบุคคลพวกนี้อาจจะเป็นเพราะการทำงานที่ไม่ประสานกันระหว่างเขตด้านหน้าและด้านหลังของสมอง หรือระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา[24]

โรคอัลไซเมอร์

คนไข้โรคอัลไซเมอร์มีปรากฏการณ์นี้น้อยกว่าบุคคลปกติ[25] บ่อยครั้ง ขนาดที่ลดลงของ corpus callosum[15] ทำให้ขาดการเชื่อมต่อระหว่างซีกสมอง ตัวกระตุ้นทางตาจึงมีอิทธิพลน้อยลงสำหรับคนไข้พวกนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบปรากฏการณ์นี้น้อยลง[25]

โรคจิตเภท

คนไข้โรคจิตเภทประสบกับปรากฏการณ์นี้ในระดับที่น้อยลงจากบุคคลปกติ แต่ว่า ไม่ต่างกันอย่างสำคัญ[26] โรคจิตเภททำการพัฒนาการของระบบประสานงานระหว่างการเห็นและการได้ยินให้ช้าลง และขัดขวางการพัฒนาการอย่างเต็มที่ของระบบ แต่ว่า ผลเสียหายของการขัดขวางการพัฒนาการกลับไม่ปรากฏ[26] อย่างไรก็ดี คนไข้โรคจิตเภทมีแนวโน้มที่สูงกว่า ที่จะอาศัยข้อมูลที่ได้ยินมากกว่าที่ได้เห็นเพื่อการรับรู้คำพูด[26]

ภาวะเสียการสื่อความ

คนไข้ภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) มีการรับรู้คำพูดที่แย่ลงในทุกกรณี คือในการรับรู้ทางตาอย่างเดียว ทางหูอย่างเดียว หรือทางตาพร้อมกับทางหู ดังนั้น จึงมีปรากฏการณ์นี้ในระดับที่ลดลง[27] แต่ว่า คนไข้ภาวะนี้มีการรับรู้ที่แย่ที่สุดในกรณีการรับรู้คำพูดทางตาอย่างเดียว ซึ่งแสดงว่า คนไข้อาศัยตัวกระตุ้นทางหูเพื่อการรับรู้คำพูดในระดับที่สูงกว่า[27]

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ ปรากฏการณ์ตัวล่อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก http://www.youtube.com/watch?v=G-lN8vWm3m0&feature... http://www.youtube.com/watch?v=jtsfidRq2tw&feature... http://www.haskins.yale.edu/featured/heads/mcgurk.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1012311 http://www.fon.hum.uva.nl/paul/papers/McGurk3.pdf //doi.org/10.1038%2F264746a0 //doi.org/10.1080%2F09541440601125623 //dx.doi.org/10.1007%2Fs00221-007-1110-1 http://www.isca-speech.org/archive/eurospeech_1995... http://www.isca-speech.org/archive_open/avsp09/pap...