เนื้อหาของพระราชบัญญัติ ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์_ค.ศ._1701

"ท่านหญิงโซฟีแห่งพาลาทิเนต" พระชายาในเจ้าผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์
ภาพเหมือนเขียนโดยน้องสาวหลุยส์ ฮอลแลนดีนราว ค.ศ. 1644

พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ระบุว่าราชบัลลังก์อังกฤษจะผ่านไปยังสายของโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ – พระราชนัดดาในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ – และผู้สืบเชื้อสายจากพระองค์ผู้เป็นโปรเตสแตนต์ผู้ที่ยังมิได้เสกสมรสกับผู้เป็นโรมันคาทอลิก; ผู้ที่เป็นโรมันคาทอลิกหรือเสกสมรสกับผู้เป็นโรมันคาทอลิกถูกห้ามจากการมีสิทธิในการครองราชบัลลังก์ “ตลอดกาล” อีกแปดมาตราของพระราชบัญญัติจะมีผลใช้ได้ก็เมื่อหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และพระราชินีนาถแอนน์:[1]

  • กษัตริย์ต้องทรงผู้นับถือ "คริสตจักรแห่งอังกฤษ" ซึ่งเป็นอีกมาตราหนึ่งที่เลี่ยงการมีกษัตริย์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นการป้องกันจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้ทรงเปลี่ยนไปเป็นโรมันคาทอลิกที่ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศที่ในที่สุดก็นำมาสู่การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี ค.ศ.1688 ที่ได้มาซึ่งกษัตริย์ร่วมบัลลังก์ระหว่างพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2
  • ถ้าผู้ขึ้นครองราชย์มิใช่ชาวอังกฤษโดยกำเนิด อังกฤษจะไม่เข้าร่วมสงครามเพื่อยึดครองรัฐที่มิได้เป็นของราชบัลลังก์อังกฤษโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐสภา ข้อนี้เป็นข้อที่มองการณ์ไกล เพราะเมื่อราชวงศ์ฮันโนเฟอร์จากเยอรมนีขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ ผู้ที่ขึ้นครองก็ยังเป็นเจ้าผู้ครองรัฐฮันโนเฟอร์ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐนีเดอร์ซัคเซินของเยอรมนี) มาตรานี้สิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชย์เพราะพระองค์ไม่สามารถเป็นผู้ครองรัฐฮันโนเฟอร์ได้ตามกฎบัตรซาลลิคที่ใช้กันในเยอรมนีขณะนั้น แต่มาตรานี้ก็อาจจะยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • กษัตริย์ไม่สามารถออกจากอังกฤษ, สกอตแลนด์ หรือไอร์แลนด์ได้โดยมิได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา[1] มาตรานี้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1716 โดยการขอของพระเจ้าจอร์จที่ 1 ผู้ทรงเป็นเจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งฮันโนเฟอร์และดยุคแห่งบรันสวิค-ลืนเนอร์เบิร์กแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางหรือมีพระประสงค์ที่จะไปพำนักที่ฮันโนเฟอร์บ่อยๆ[2]
  • กิจการของรัฐบาลทุกเรื่องที่อยู่ภายไต้อำนาจของสภาองคมนตรีต้องปฏิบัติต่อหน้าสภาองคมนตรี และข้อตกลงทุกข้อของสภาองคมนตรีต้องได้รับการลงชื่อโดยผู้เห็นพ้องกับข้อตกลง ทั้งนี้ก็เพื่อให้รัฐสภาทราบว่าผู้ใดมีความรับผิดชอบต่อนโยบายใด แต่ข้อนี้ถูกยุบเลิกเมื่อต้นรัชสมัยของพระราชินีนาถแอนน์ เพราะองคมนตรียุติการเสนอความคิดเห็นหรือไม่ยอมเข้าประชุมเอาเลย[2]
  • ชาวต่างประเทศรวมทั้งผู้ที่เปลี่ยนสัญชาตินอกจากว่าบิดามารดาจะเป็นชาวอังกฤษไม่มีสิทธิในการเป็นสมาชิกสภาองคมนตรีหรือเป็นสมาชิกทั้งสภาสามัญชนและสภาขุนนาง หรือมีตำแหน่งในกรมการทั้งทางทหารและพลเรือนที่สำคัญๆ หรือมีสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินที่ได้รับจากกษัตริย์ แต่กฎหมายการเปลี่ยนสัญชาติต่อมาข้อนี้ไม่มีผลบังคับใช้ต่อผู้เปลี่ยนสัญชาติไม่ว่าจะในประเทศใด
  • ผู้ที่รับราชการในกษัตริย์หรือได้รับเบี้ยบำนาญจากกษัตริย์ไม่มีสิทธิในการเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรานี้ระบุไว้เพื่อป้องกันการมีสมาชิกที่มีอิทธิพลจากกษัตริย์ในรัฐสภา และยังคงใช้อยู่แต่มีข้อยกเว้นหลายประการ
  • ผู้พิพากษาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งขณะที่ “quamdiu se bene gesserint” (มีความประพฤติดี) และถ้ามีปัญหาจะถูกปลดได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากทั้งสองรัฐสภาหรือเพียงรัฐสภาเดียวขึ้นอยู่กับโครงร่างของกฎหมาย มาตรานี้เป็นผลมาจากการที่กษัตริย์ทรงมีอิทธิพลในการตัดสินของผู้พิพากษาและเป็นการทำให้การตัดสินของผู้พิพากษาปราศจากอิทธิพลใดๆ
  • การพระราชทานอภัยโทษไม่เป็นการป้องกันการถูกไล่ออกจากสภาสามัญชน

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์