ประวัติ ของ พระราชวังต้องห้าม

ภาพวาดพระราชวังต้องห้ามในสมัยราชวงศ์หมิงเป็นจิตรกรรมแบบราชวงศ์หมิงภาพวาดพระราชวังต้องห้ามในหนังสือเยอรมัน The Garden Arbor (ค.ศ. 1853)

เมื่อองค์ชายจูตี้ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิหงอู่เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงไปยังปักกิ่ง การก่อสร้างพระราชวังหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1406 และต่อมาจึงกลายมาเป็นพระราชวังต้องห้าม[7]

การก่อสร้างดำเนินไปเป็นระยะเวลา 14 ปี และใช้กรรมกรมากกว่าหนึ่งล้านคน[9] วัสดุที่ถูกนำมาใช้ ประกอบด้วย ท่อนไม้ชั้นเยี่ยมจากไม้ Phoebe zhennan (จีน: 楠木; พินอิน: nánmù) ซึ่งพบได้ทางป่าด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และหินอ่อนขนาดใหญ่จากเหมืองใกล้กับปักกิ่ง[10] พื้นของตำหนักส่วนใหญ่ถูกปูด้วย "อิฐทองคำ" (จีน: ; พินอิน: jīnzhuān) ซึ่งเป็นอิฐเผาพิเศษจากซูโจว[9]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1420 ถึง ค.ศ. 1644 พระราชวังต้องห้ามเป็นศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1644 พระราชวังแห่งนี้ถูกยึดครองโดยกลุ่มกบฎที่นำโดยหลี่ จื้อเฉิง โดยเขาประกาศตัวเองเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชุน[11] แต่ไม่ช้าเขาก็ต้องลี้ภัยออกจากพระราชวังต้องห้ามไปก่อนที่กองทัพซึ่งเป็นกองผสมของอดีตผู้บัญชาการอู่ ซานกุ่ยแห่งราชวงศ์หมิงและกองกำลังแมนจู จะเข้ายึดชิงบางส่วนของพระราชวังต้องห้ามคืน[12]

ต่อมาในเดือนตุลาคม กองกำลังแมนจูประสบความสำเร็จอย่างสูงในภาคเหนือของจีน และมีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นที่พระราชวังต้องห้าม ในการประกาศการเสวยราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อในฐานะทรงปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมดภายใต้ราชวงศ์ชิง[13] ราชสำนักชิงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระตำหนักบางองค์เพื่อเน้น "ความสามัคคี" มากกว่า "ความยิ่งใหญ่"[14] สร้างป้ายชื่อสองภาษา (ภาษาจีนและภาษาแมนจู)[15] และได้นำองค์ประกอบเชมันเข้าสู่พระราชวัง[16]

ใน ค.ศ. 1806 ระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง กองกำลังแองโกล-เฟรนซ์ได้เข้ามายึดครองพระราชวังต้องห้ามและครองไว้จนสิ้นสุดสงคราม[17] ใน ค.ศ. 1900 สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวงทรงลี้ภัยออกจากพระราชวังต้องห้ามในช่วงที่เกิดกบฏนักมวย และทรงปล่อยให้พระราชวังต้องห้ามถูกยึดครองโดยกองกำลังตามอำนาจในสนธิสัญญาจนถึงปีถัดมา[17]

ประตูตงหวาเหมินที่ถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการบูรณะ 16 ปี

หลังจากที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ 24 พระองค์ ในจำนวนนั้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง 14 พระองค์ และราชวงศ์ชิง 10 พระองค์ พระราชวังต้องห้ามถูกยุติการเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของประเทศจีนลงใน ค.ศ. 1912 พร้อมกับการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งมหาจักรวรรดิจีน จากข้อตกลงกับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนใหม่ อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋จะยังทรงประทับอยู่ภายในเขตพระราชฐานชั้นในได้ ในขณะที่เขตพระราชฐานชั้นนอกนั้นยกให้ใช้เป็นสาธารณะ[18] จนกระทั่งอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ทรงถูกขับออกจากพระราชวังต้องห้ามภายหลังการรัฐประหารใน ค.ศ. 1924[19] พิพิธภัณฑ์พระราชวังถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1925[20] ใน ค.ศ. 1933 การบุกรุกจีนของญี่ปุ่น ได้บังคับให้ย้ายสมบัติประจำชาติภายในพระราชวังต้องห้ามออกไป[21] ส่วนหนึ่งของสมบัติถูกส่งกลับคืนเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[22] แต่อีกส่วนหนึ่งถูกอพยพไปยังไต้หวันใน ค.ศ. 1948 ภายใต้คำสั่งของเจียง ไคเชก เมื่อพรรคก๊กมินตั๋งปราชัยในสงครามกลางเมืองจีน สมบัติที่มีขนาดค่อนข้างเล็กแต่มีคุณภาพสูงถูกเก็บไว้จนถึง ค.ศ. 1965 มันถูกนำมาจัดแสดงแก่สาธารณะอีกครั้ง เป็นสมบัติชิ้นหลักของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไทเป[23]

หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 ความเสียหายบางประการได้เกิดขึ้นกับพระราชวังต้องห้ามเนื่องจากถูกกวาดล้างในการปฏิวัติที่กระตือรือร้นจนเกินไป[24] ในช่วงของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การทำลายล้างเพิ่มเติมถูกป้องกันเมื่อนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหลส่งกองทัพออกไปปกป้องพระราชวังต้องห้าม[25]

พระราชวังต้องห้ามถูกประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อ ค.ศ. 1987 โดยยูเนสโก ในชื่อ "พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง"[26] เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในการพัฒนาของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของพิพิธภัณฑ์พระราชวัง ซึ่งมีการดำเนินโครงการการบูรณะสิบหกปี เพื่อซ่อมแซมและบูรณะอาคารทั้งหมดภายในพระราชวังต้องห้ามให้กลับไปอยู่ในสภาพก่อน ค.ศ. 1912[27]

ในปัจจุบันนี้การแสดงตัวขององค์กรการค้าในพระราชวังต้องห้ามกำลังก่อให้เกิดการโต้แย้ง[28] ร้านสตาร์บัคส์ถูกเปิดเมื่อ ค.ศ. 2000 จุดประกายความรู้สึกไม่เห็นด้วยและในที่สุดก็ถูกปิดร้านในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2007[29][30] สื่อจีนยังมีการแจ้งว่ามีร้านขายของที่ระลึก 2 แห่งซึ่งปฏิเสธชาวจีนและยอมรับเงินจากชาวต่างชาติใน ค.ศ. 2006[31]

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐที่ได้รับการเลี้ยงรับรองอาหารค่ำในพระราชวังต้องห้าม นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนมา[32]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวังต้องห้าม พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังบางปะอิน พระราชวังพญาไท

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระราชวังต้องห้าม http://125.35.3.4/China/phoweb/BuildingPage/1/B488... http://www.cas.ac.cn/html/Dir/2005/03/02/5202.htm http://cpc.people.com.cn/GB/68742/69115/69120/5005... http://culture.people.com.cn/GB/22226/53974/53977/... http://culture.people.com.cn/GB/27296/5290184.html http://culture.people.com.cn/GB/40472/55544/55547/... http://ha.people.com.cn/news/2006/06/16/109613.htm http://house.people.com.cn/chengshi/20060530/artic... http://www.people.com.cn/GB/paper447/10416/949293.... http://blog.sina.com.cn/u/46e9d5da01000694