โครงสร้างและสถาปัตยกรรม ของ พระราชวังต้องห้าม

พระราชวังต้องห้ามเมื่อมองจากเนินเขาจิ้งชานแปลนของพระราชวังต้องห้าม
- – - เส้นแบ่งโดยประมาณระหว่างเขตพระราชฐานชั้นใน (ด้านเหนือ) และเขตพระราชฐานชั้นนอก (ด้านใต้)
A. ประตูอู่เหมิน
B. ประตูเสินอู่เหมิน
C. ประตูซีหวาเหมิน
D. ประตูตงหวาเหมิน
E. ป้อมมุมกำแพง
F. ประตูไถ่เหอเหมิน
G. ตำหนักไถ่เหอ
H. ตำหนักอู่หยิง
J. ตำหนักเหวินฮวา
K. พระที่นั่งหน่านซัน
L. พระที่นั่งเฉียนชิง
M. อุทยานหลวง
N. ตำหนักหยางซิน
O. พระที่นั่งเฉียนหลง

พระราชวังต้องห้ามเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างจากเหนือถึงใต้ 961 เมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตก 753 เมตร[33][34] ประกอบด้วยอาคารที่หลงเหลืออยู่ 980 องค์ พร้อมด้วยห้อง 8,886 ห้อง[35][36] ซึ่งตามตำนานบอกว่ามีห้องจำนวน 9,999 ห้องรวมถึงห้องขนาดเล็กที่เป็นทางผ่านด้วย[37] ซึ่งจำนวนนี้อยู่บนตำนานปากเปล่าและไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานด้านการสำรวจแต่อย่างใด[38] พระราชวังต้องห้ามถูกออกแบบมาเพื่อเป็นศูนย์กลางทางอำนาจในสมัยโบราณ เป็นกำแพงเมืองแห่งปักกิ่ง พระราชวังนี้ถูกปิดล้อมด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ก่อเป็นกำแพง เรียกว่า นครหลวง (Imperial City) นครหลวงนี้เป็นลำดับชั้นการปิดล้อมจากพระราชวังชั้นใน ไปยังพระราชวังชั้นนอก

พระราชวังต้องห้ามนั้นยังคงมีความสำคัญในโครงการเทศบาลของปักกิ่ง แกนแนวกลาง เหนือ–ใต้ที่เหลืออยู่ในแกนกลางของปักกิ่ง แกนนี้ขยายออกไปทางใต้จนถึงประตูเทียนอันเหมินไปยังจตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นลานประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนจีน และยาวไปจนถึงประตูหย่งติ้ง ส่วนทางด้านเหนือขยายไปจนถึงเนินเขาจิ่งชาน ถึงหอระฆังและกลอง[39] แกนนี้ไม่ได้ขยายไปในแนวเหนือใต้ตรง ๆ แต่มีความเอียงเล็กน้อยสององศา การศึกษาเชื่อว่าแกนนี้ถูกออกแบบในสมัยราชวงศ์หยวนเพื่อให้สอดคล้องกับแหล่งแซนาดู ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งอื่นของอาณาจักร[40]

กำแพงและประตูวัง

ประตูอู่เหมิน ทางเข้าด้านหน้าของพระราชวังต้องห้าม โดยมีปีกยื่นออกมาทั้งสองด้านภาพมุมใกล้ของปีกด้านซ้ายของประตูอู่เหมินป้อมตรงมุมของพระราชวังต้องห้าม

พระราชวังต้องห้ามล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองสูง 7.9 เมตร[14] และลึก 6 เมตรจาก 52 เมตรของคูเมืองกว้าง กำแพงมีความกว้าง 8.62 เมตรที่บริเวณฐานกำแพง และค่อย ๆ เรียวลงไปจนถึงยอดกำแพง ซึ่งมีความกว้าง 6.66 เมตร[41] กำแพงเหล่านี้ทำหน้าที่ทั้งเป็นกำแพงป้องกันและกำแพงกันดินให้กับพระราชวัง พวกมันถูกสร้างขึ้นมาจากแกนดินอัด และปูผนังด้วยอิฐอบพิเศษสามชั้นในทั้งสองด้าน โดยใช้การฉาบปูนลงไปในร่องเล็ก ๆ[42]

ที่มุมทั้งสี่ของกำแพงเป็นที่ตั้งของป้อม (E) ที่มีหลังคาอันวิจิตรประณีต ซึ่งมีซี่หลังคาจำนวน 72 ซี่ เป็นการคัดลอกแบบของพลับพลาขององค์ชายเติ้งและหอคอยหวางเห้อที่ปรากฏในจิตรกรรมแบบราชสำนักซ่ง[42] ป้อมเหล่านี้เป็นส่วนที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุดของพระราชวังจากราษฎรที่อยู่ภายนอกกำแพง ประเพณีความเชื่อของผู้คนจึงยึดติดกับป้อมเหล่านี้ ตามตำนานหนึ่งกล่าวว่า ช่างฝีมือไม่สามารถจัดวางมุมของป้อมให้เข้ากันได้ หลังจากที่ถูกรื้อถอนเพื่อบูรณะในยุคเริ่มแรกของราชวงศ์ชิง และมันถูกสร้างขึ้นใหม่หลังจากที่มีการแทรกแซงของเซียนช่างไม้ชื่อ หลู่ปัน[14]

กำแพงถูกล้อมรอบด้วยประตูในทุก ๆ ด้าน ประตูที่อยู่ทางใต้สุดคือประตูอู่เหมิน (A)[43] ทางเหนือคือประตูประตูเสินอู่เหมิน (B) ซึ่งหันหน้าเข้าหาสวนจิ่งชาน ทางตะวันออกสุดคือ "ประตูตงหวาเหมิน" (D) และทางตะวันตกสุดคือ "ประตูซีหวาเหมิน (C) ประตูทั้งหมดของพระราชวังต้องห้ามมีการประดับตกแต่งด้วยหมุดประตูทองคำ 9 แถว ยกเว้นประตูตงหวาเหมินที่มีเพียง 8 แถว[44]

ประตูอู่เหมินมีปีกอยู่ทั้งสองข้าง ทำให้เกิดเป็นด้านของสี่เหลี่ยมทั้งสามด้าน[45] ประตูนี้มีช่องประตูทั้งหมดห้าช่อง ช่องประตูตรงกลางเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของสมเด็จพระจักรพรรดิ ซึ่งมีการทำเครื่องหมายด้วยหินซึ่งเป็นแกนกลางของพระราชวังต้องห้ามและนครโบราณปักกิ่ง ตลอดแนวจากประตูจงหวาเหมินทางใต้ไปจนถึงจิ่งชานทางเหนือ มีเพียงฮ่องเต้เท่านั้นที่จะสามารถทรงพระดำเนินหรือทรงนั่งผ่านเส้นทางนี้ได้ ยกเว้นสมเด็จพระจักรพรรดินีในพระราชวโรกาสงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และบัณฑิตที่สอบผ่านการสอบขุนนาง[44]


เขตพระราชฐานชั้นนอก

แม่น้ำน้ำสีทอง (The Golden Water River) เป็นกระแสน้ำเทียมที่ไหลไปทั่วพระราชวังต้องห้ามประตูไถ่เหอเหมินตำหนักไถ่เหอ ป้ายชื่อแนวตั้งของตำหนักไถ่เหอพลับพลาหงยี่เพดานของพระตำหนักเจียวไถ่ภาพใกล้ของด้านขวาของประตูไถ่เหอเหมินถังน้ำสัญลักษณ์ด้านหน้าของตำหนักไถ่เหอ

ตามธรรมเนียม พระราชวังต้องห้ามถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก () หรือส่วนหน้า () ประกอบด้วยส่วนทางใต้ ถูกใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการพระราชพิธี และเขตพระราชฐานชั้นใน () หรือวังหลัง () ประกอบด้วยส่วนทางเหนือ ถูกใช้เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ และถูกใช้ในการบริหารกิจการรัฐประจำวัน (มีเส้นแบ่งโดยประมาณสีแดงตามแผนผังด้านบนเป็นเส้นแบ่งเขต) โดยทั่วไปแล้ว พระราชวังต้องห้ามมีแกนแนวตั้งเป็นสามแฉก อาคารที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ที่แฉกตรงกลางในแนวเหนือ–ใต้[44]

เมื่อเข้าจากประตูอู่เหมิน จะพบกับพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีแม่น้ำสีทองที่คดเคี้ยวไหลผ่าน ซึ่งมีสะพานข้ามทั้งหมดห้าสะพาน เมื่อข้ามสะพานไป เบื้องหน้าจะเป็นประตูไถ่เหอเหมิน (F) ตั้งอยู่ โดยด้านหลังถัดไปจากประตูคือพื้นที่จตุรัสของพระตำหนักไถ่เหอ[46] ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูงจากจตุรัสนี้ โดยมีพระตำหนักทั้งหมดสามองค์ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาว ซึ่งเป็นจุดสนใจของพระราชวังที่ซับซ้อนนี้ ประกอบด้วย (จากด้านทางใต้) พระตำหนักไถ่เหอ (殿) พระตำหนักจงเหอ (殿) และพระตำหนักเป่าเหอ (殿)[47]

พระตำหนักไถ่เหอ (พระตำหนักบรรสารสูงสุด) (G) เป็นพระตำหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่สูงกว่าปริมณฑลโดยรอบประมาณ 30 เมตรเศษ พระตำหนักนี้เป็นศูนย์กลางพระราชอำนาจขององค์ฮ่องเต้ และเป็นโครงสร้างไม้ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศจีน มีมุขกว้างเก้ามุขและมุขลึกห้ามุข ซึ่งเลข 9 และ 5 เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงองค์ฮ่องเต้[48] บนเพดานตรงกลางของพระตำหนักนั้นเป็นช่องทึบที่ถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยมังกรกำลังม้วนตัว ที่ปากของมังกรนั้นห้อยด้วยลูกโลหะทรงกลมปิดทองคำที่ถูกจัดไว้คล้ายกับโคมระย้า เรียกว่า "กระจกซวนหยวน"[49] ในสมัยราชวงศ์หมิง ฮ่องเต้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักองค์นี้ขึ้นเพื่อไว้ทรงบริหารราชกิจของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง ฮ่องเต้เสด็จพระราชดำเนินมายังพระตำหนักนี้บ่อยครั้งขึ้น ทำให้พระตำหนักนี้ถูกใช้งานบ่อยขึ้น และพระตำหนักไถ่เหอนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการพระราชพิธีเท่านั้น เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีสถาปนา และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส[50]

พระตำหนักจงเหอ (พระตำหนักบรรสารกลาง) มีขนาดรองลงมา เป็นพระตำหนักทรงจตุรัส ถูกใช้สำหรับให้ฮ่องเต้ทรงเตรียมพระองค์เอง และเป็นที่สำหรับทรงพักผ่อนในช่วงก่อนและในระหว่างพระราชพิธี[51] ด้านหลังเป็นพระตำหนักเป่าเหอ (พระตำหนักดำรงบรรสาร) ใช้สำหรับฝึกซ้อมการพระราชพิธี และยังถูกใช้เป็นสนามสอบขั้นสุดท้ายของการสอบขุนนางด้วย[52] ทั้งสามพระตำหนักมีพระราชบัลลังก์หลวง ซึ่งพระราชบัลลังก์ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนที่สุดประดิษฐานอยู่ภายในพระตำหนักไถ่เหอ[53]

บันไดตรงกลางที่ตรงขึ้นสู่แท่นจากด้านเหนือและด้านใต้เป็นบันไดพระราชพิธี เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินของฮ่องเต้ โดยมีรูปแกะสลักนูนต่ำประดับอยู่ บันไดด้านเหนืออยู่ด้านหลังพระตำหนักเป่าเหอ ตัวบันไดแกะสลักขึ้นจากหินชิ้นเดียวขนาดยาว 16.57 เมตร กว้าง 3.07 เมตร และหนา 1.7 เมตร มีน้ำหนัก 200 ตันเศษและเป็นวัตถุแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[9] บันไดด้านใต้อยู่ด้านหน้าของพระตำหนักไถ่เหอ มีความยาวกว่า แต่ประกอบจากหินสองชิ้นเชื่อมกันด้วยคอนกรีต รอยต่อถูกซ่อนไว้อย่างชาญฉลาดโดยใช้การแกะสลักนูนต่ำที่ทับซ้อนกัน ถูกค้นพบจากการผุพังที่ทำให้ช่องว่างนั้นขยายขึ้นในศตวรรษที่ 20[54]

ด้านใต้ฝั่งตะวันตกและด้านใต้ฝั่งตะวันออกของเขตพระราชฐานชั้นนอกเป็นพระตำหนักอู่หยิง (H) และพระตำหนักเหวินฮวา (J) ซึ่งในอดีตเคยถูกใช้สำหรับฮ่องเต้เสด็จออกรับเหล่ารัฐมนตรีและการเปิดศาล ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นที่ตั้งของโรงพิมพ์ในพระราชวัง อีกพระตำหนักถูกใช้เป็นสถานที่บรรยายพิธีการทางศาสนาโดยนักพรตขงจื้อขั้นสูงที่ได้รับการยกย่อง และต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสำนักงานราชเลขาธิการ สำเนาของหนังสือซื่อคูเฉียนชูถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ ส่วนด้านเหนือฝั่งตะวันออกเป็นหมู่พระที่นั่งหน่านซัน (หมู่พระที่นั่งไตรทักษิณา) () (K) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาท[46]


เขตพระราชฐานชั้นใน

เขตพระราชฐานชั้นในเป็นส่วนที่แยกออกจากเขตพระราชฐานชั้นนอกโดยลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ตั้งฉากกับแกนหลักของพระนครต้องห้าม เป็นที่ประทับขององค์ฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ของพระองค์ ในสมัยราชวงศ์ชิง สมเด็จพระจักรพรรดิจะทรงประทับและทรงงานเกือบเฉพาะแค่ในเขตพระราชฐานชั้นในเท่านั้น โดยจะเสด็จออกยังเขตพระราชฐานชั้นนอกเพียงแค่เฉพาะในการพระราชพิธีเท่านั้น[55]

หมู่พระที่นั่งสามองค์ด้านหลัง

ที่ตรงกลางของเขตพระราชฐานชั้นในนั้นมีพระที่นั่งและพระตำหนักรวมสามองค์ (L) ประกอบด้วย (นับจากทางใต้)

ทั้งสามองค์มีขนาดเล็กกว่าในเขตพระราชฐานชั้นนอก โดยพระที่นั่งและพระตำหนักในหมู่พระที่นั่งนี้เป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการในสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของหยางและสวรรค์ จึงจะทรงประทับอยู่ในพระที่นั่งเฉียนชิง ส่วนสมเด็จพระจักรพรรดินีทรงเป็นสัญลักษณ์ของหยินและโลกมนุษย์ จึงจะทรงประทับอยู่ในพระที่นั่งคุนหนิง ในขณะที่ตรงกลางเป็นพระตำหนักเจียวไถ่ ซึ่งเปรียบเสมือนสถานที่ที่หยินและหยางผสมผสานกันอย่างกลมกลืน[56]

พระราชบัลลังก์ในพระที่นั่งเฉียนชิงผนังมังกรเก้าตัวที่ด้านหน้าของพระที่นั่งเฉียนหลงพระราชอุทยานหลวง

พระที่นั่งเฉียนชิง (พระที่นั่งสุทไธสวรรค์) เป็นพระที่นั่งที่มีชายคาสองชั้น อยู่บนแท่นหินอ่อนสีขาวในระดับเดียวกัน เชื่อมต่อกับประตูเฉียนชิงเหมินทางด้านใต้โดยเป็นทางเดินยกระดับ ในสมัยราชวงศ์หมิง พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิงนั้น สมเด็จพระจักรพรรดิเสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับอยู่ที่พระตำหนักหยางซิน (N) ซึ่งเป็นพระตำหนักองค์เล็กทางฝั่งตะวันตกแทน เนื่องจากทรงเคารพและทรงระลึกถึงความทรงจำที่ทรงมีแด่สมเด็จพระจักรพรรดิคังซี[14] พระที่นั่งเฉียนชิงจึงถูกเปลี่ยนเป็นท้องพระโรงแทน[57] บนเพดานของพระที่นั่งมีหีบห้อยประดับอยู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปปั้นมังกรขดตัว เหนือพระราชบัลลังก์มีแผ่นป้ายภาษาจีนความว่า "ความยุติธรรมและเกียรติยศ" (จีน: ; พินอิน: zhèngdàguāngmíng)[58]

พระที่นั่งคุนหนิง (พระที่นั่งโลกาสันติสุข) () เป็นพระที่นั่งที่มีชายคาสองชั้น มีมุขกว้างเก้ามุขและมุขลึกสามมุข ในสมัยราชวงศ์หมิง พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดินี ในสมัยราชวงศ์ชิง ส่วนใหญ่ของพระที่นั่งองค์นี้ถูกดัดแปลงเพื่อใช้สำหรับการนมัสการตามความเชื่อในเชมันตามแนวคิดของผู้ปกครองใหม่ซึ่งเป็นชาวแมนจู นับแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง สมเด็จพระจักรพรรดินีก็ทรงแปรพระราชฐานออกจากพระที่นั่งองค์นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีห้องอยู่สองห้องในพระที่นั่งคุนหนิง ที่ยังถูกเก็บไว้เพื่อให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงใช้ในคืนวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส[59]

ระหว่างกลางของทั้งสองพระที่นั่งคือ พระตำหนักเจียวไถ่ (พระตำหนักสหภาพ) เป็นพระตำหนักทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส หลังคาทรงปีระมิด เป็นที่เก็บตราประทับหลวง 25 ตราในสมัยราชวงศ์ชิง รวมถึงสิ่งของที่ใช้ในการพระราชพิธีอื่น ๆ ด้วย[60]

ด้านหลังหมู่พระที่นั่งเป็นพระราชอุทยานหลวง (M) เป็นพระราชอุทยานที่มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก มีการออกแบบที่กระชับ แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นสวนที่ประณีตงดงามและซับซ้อน[61] ทางด้านเหนือของพระราชอุทยานเป็นประตูเสินอู่เหมิน

ทางตะวันตกของหมู่พระที่นั่งเป็น พระตำหนักหยางซิน (พระตำหนักจิตพัฒน์) (N) เดิมเป็นพระที่นั่งองค์รอง แต่กลายมาเป็นที่ประทับและทรงงานของสมเด็จพระจักรพรรดิโดยพฤตินัย ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของราชวงศ์ชิง สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง ได้ทรงใช้เขตทางตะวันออกของพระตำหนักองค์นี้ พระตำหนักองค์นี้รายล้อมด้วยสำนักงานกรมความลับทหารและหน่วยงานสำคัญของรัฐบาล[62]

ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่พระที่นั่งเป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งเฉียนหลง (พระที่นั่งอายุสันติสุข) () (O) เป็นพระที่นั่งที่มีความซับซ้อน สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง โดยทรงโปรดเกล้าฯ จะให้เป็นที่ประทับเมื่อทรงสละราชสมบัติแล้ว พระที่นั่งองค์นี้สะท้อนการสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างเหมาะสมและมีการแบ่ง "เขตพระราชฐานชั้นนอก" "เขตพระราชฐานชั้นใน" และพระราชอุทยานกับวัดหลวงอย่างชัดเจน ทางเข้าของพระที่นั่งเฉียนหลงมีกำแพงซึ่งประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลายผนังเก้ามังกร[63] ส่วนนี้ของพระราชวังต้องห้ามถูกบูรณะขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างพิพิธภัณฑ์พระราชวังและกองทุนอนุสาวรีย์โลก มีกำหนดแล้วเสร็จใน ค.ศ. 2017[64]

หมู่ตำหนักหกองค์ฝั่งตะวันตก

  • ตำหนักย่งโช่ว หรือ ตำหนักอายุนิรันดร์ (永寿宫)
  • ตำหนักไท่จี๋ หรือ ตำหนักหลักอันสูงส่งยิ่ง (太极殿)
  • ตำหนักฉางชุน หรือ ตำหนักวสันตนิรันดร์ (长春宫)
  • ตำหนักอี้คุน หรือ ตำหนักโลกาสรรเสริญ (翊坤宫)
  • ตำหนักฉู่ชิ่ว หรือ ตำหนักรวมประณีต (储秀宫)
  • ตำหนักเสียนฝู หรือ พระที่นั่งสากลสุข (咸福宫)

หมู่ตำหนักหกองค์ฝั่งตะวันออก

  • ตำหนักจิ่งเหริน หรือ ตำหนักมหากรุณา (景仁宫)
  • ตำหนักเฉิงเฉียน หรือ ตำหนักสวรรค์กรุณา (承乾宫)
  • ตำหนักจงชุ่ย หรือ ตำหนักสุธไธสม (锺粹宫)
  • ตำหนักเหยียนสี่ หรือ ตำหนักเจียรสุข (延禧宫)
  • ตำหนักจิ่งหยาง หรือ ตำหนักมหาโอภาส (景阳宫)
  • ตำหนักย่งเหอ หรือ ตำหนักบรรสารนิรันดร์ (永和宫)


ความเชื่อทางศาสนา

รูปแบบลวดลายสวัสติกะและการมีอายุยืน การออกแบบในลักษณะนี้สามารถพบได้ทั่วทั้งพระราชวังต้องห้าม

ความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในราชสำนัก ในราชวงศ์ชิง พระที่นั่งคุนหนิง ถูกใช้เป็นสถานที่ในการพระราชพิธีแบบเชมัน ในขณะเดียวกันศาสนาประจำชนชาติจีนอย่าง เต๋า ก็ยังมีบทบาทสำคัญตลอดทั้งราชวงศ์หมิงและชิง มีศาลเจ้าในลัทธิเต๋าอยู่สองศาล ศาลหนึ่งอยู่ภายในพระราชอุทยานหลวงและอีกศาลหนึ่งอยู่บริเวณส่วนกลางของเขตพระราชฐานชั้นใน[65]

อีกศาสนาหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงคือศาสนาพุทธ จึงปรากฏวัดและศาลเจ้ากระจายอยู่ทั่วทั้งเขตพระราชฐานชั้นใน รวมถึงศาสนาพุทธแบบทิเบตด้วย พุทธศาสนศาสตร์ยังแพร่หลายไปในการตกแต่งอาคารหลายหลังด้วย[66] ในบรรดาอาคารเหล่านั้น พลับพลาพิรุณมาลา (Pavilion of the Rain of Flowers) เป็นหนึ่งในอาคารที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นพลับพลาที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พุทธสัญลักษณ์ และแมนดาลาจำนวนมาก ซึ่งมีไว้เพื่อการพิธีทางศาสนา[67]

การล้อมรอบ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

สัญลักษณ์นิยม

พระราชวังหลวงซึ่งตกแต่งด้วยจิตรกรรมสี
การตกแต่งหลังคาในวังหลวงด้วยรูปปั้นเครื่องสูงบนสันของหลังคาที่พระตำหนักไถ่เหอ

การออกแบบพระราชวังต้องห้าม จากภาพรวมไปจนถึงรายละเอียดที่เล็กที่สุด ล้วนถูกวางแผนมาอย่างพิถีพิถันเพื่อสะท้อนหลักทางปรัชญาและศาสนา และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิ มีการตั้งข้อสังเกตการออกแบบสัญลักษณ์บางอย่างประกอบด้วย

  • การใช้สีเหลืองเพื่อสื่อถึงองค์ฮ่องเต้ ดังนั้นเกือบทุกหลังคาในพระราชวังต้องห้ามจะปูด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ยกเว้นเพียงสองอาคารคือ หอพระสมุดที่พลับพลาเหวินยวน () ซึ่งเป็นสีดำ เพราะสีดำมีส่วนเกี่ยวข้องกับธาตุน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย และที่ที่ประทับขององค์รัชทายาทที่ใช้สีเขียว เพราะเกี่ยวข้องกับธาตุดิน เพื่อการเติบโต[48]
  • พระตำหนักองค์หลักในเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นในถูกจัดเรียงเป็นกลุ่ม กลุ่มละสามองค์ เป็นรูปทรงของเฉียน เป็นตัวแทนของสวรรค์ ส่วนที่ประทับในเขตพระราชฐานชั้นใน ในแต่ละด้านถูกจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละหกองค์ เป็นรูปทรงของคุน เป็นตัวแทนของโลกมนุษย์[14]
  • สันหลังคาที่ลาดเอียงของอาคารถูกตกแต่งด้วยรูปปั้นเรียงกัน เริ่มต้นจากชายที่ขี่นกอมตะและตามด้วยมังกรแห่งองค์จักรพรรดิ จำนวนของรูปปั้นเป็นตัวแทนของสถานะอาคาร อาคารองค์รองลงมาอาจจะมีรูปปั้น 3 หรือ 5 ตัว ส่วนพระตำหนักไถ่เหอมีรูปปั้น 10 ตัว ซึ่งเป็นพระตำหนักหลังเดียวในประเทศที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระจักรพรรดิในขณะนั้น ผลที่ตามมาคือ รูปปั้นตัวที่ 10 เรียกว่า "หั่งชือ" หรือ "อันดับที่สิบ" (จีน: ; พินอิน: Hángshí)[60] และยังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระราชวังต้องห้ามด้วย[68]
  • เค้าโครงของอาคารโบราณถูกวางไว้เพื่อก่อสร้างตามต้นแบบแห่งพิธีกรรม ดังนั้นจึงมีการตั้งวัดหลวงสืบต่อมาจากบรรพบุรุษที่ด้านหน้าของพระราชวัง ส่วนพระคลังหลวงถูกวางไว้บริเวณส่วนหน้าของพระราชวังอันซับซ้อน และส่วนที่ประทับขององค์ฮ่องเต้อยู่ด้านหลัง[69]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวังต้องห้าม พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังบางปะอิน พระราชวังพญาไท

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระราชวังต้องห้าม http://125.35.3.4/China/phoweb/BuildingPage/1/B488... http://www.cas.ac.cn/html/Dir/2005/03/02/5202.htm http://cpc.people.com.cn/GB/68742/69115/69120/5005... http://culture.people.com.cn/GB/22226/53974/53977/... http://culture.people.com.cn/GB/27296/5290184.html http://culture.people.com.cn/GB/40472/55544/55547/... http://ha.people.com.cn/news/2006/06/16/109613.htm http://house.people.com.cn/chengshi/20060530/artic... http://www.people.com.cn/GB/paper447/10416/949293.... http://blog.sina.com.cn/u/46e9d5da01000694