วิกฤตการณ์และการปฏิวัติ ของ พระเจ้าชาร์ลที่_10_แห่งฝรั่งเศส

ความตื่นตัวทางการเมืองของพระองค์เริ่มต้นขึ้นในวิกฤตการณ์ของระบอบกษัตริย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2329 เมื่อเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าราชอาณาจักรฝรั่งเศสประสบกับภาวะล้มละลายจากความพยายามทางการทหารต่างๆ ก่อนหน้านี้ (โดยเฉพาะสงครามเจ็ดปีและสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงระบบงบประมาณเสียใหม่ประเทศชาติจึงจะอยู่รอดไปได้ เจ้าชายชาร์ลสนับสนุนให้มีการเพิกถอนเหล่าอภิสิทธิ์ชนทางการงบประมาณของรัฐ แต่การลดทอนอภิสิทธิ์ทางสังคมนี้ถูกต่อต้านโดยผู้ที่เสียผลประโยชน์โดยตรงอันได้แก่คริสตจักรและคณะขุนนาง ทรงเชื่อมั่นว่าระบบการคลังของประเทศควรจะถูกปฏิรูปโดยปราศจากการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ตรัสว่ามันเป็น "เวลาของการซ่อมแซม ไม่ใช่การทำลาย"

ในที่สุดพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงต้องทรงเปิดประชุมสภาฐานันดร ซึ่งไม่ได้มีการประชุมมามากกว่า 150 ปีแล้ว การประชุมนี้จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2332 เพื่อให้สัตยาบันในการปฏิรูประบบการคลัง เช่นเดียวกับพระขนิษฐา มาดามเอลิซาเบธ เจ้าชายชาร์ลทรงเป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์หัวอนุรักษนิยมมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ทรงต่อต้านข้อเรียกร้องจากฐานันดรที่สาม (ผู้แทนของชนชั้นสามัญชน) ที่เรียกร้องอำนาจที่มากขึ้นของการลงคะแนนเสียง จึงทำให้เกิดเสียงวิจารณ์จากพระเชษฐาที่ทรงกล่าวหาพระองค์ว่าดำรงตน ปลุสโรยัลลิสต์เกอเลอรัว (plus royaliste que le roi; นิยมกษัตริย์มากกว่าองค์กษัตริย์เอง) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2332 คณะผู้แทนจากฐานันดรที่สามประกาศตนว่าเป็นสมัชชาแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสรรหาระบอบการปกครองของฝรั่งเศสเสียใหม่[16]

ในการร่วมมือกับบารงเดอเบรอเตย เจ้าชายชาร์ลทรงมีพันธมิตรที่จะร่วมกันขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหัวเสรีนิยมนามว่า ฌักส์ เน็กแกร์ แผนการนี้เองที่ย้อนกลับมาทำร้ายเจ้าชายชาร์ลจากการที่ทรงพยายามรักษาให้การถอดถอนเน็กแกร์เกิดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม โดยปราศจากการรู้เห็นของเบรอเตย ซึ่งเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ทั้งสองคาดการณ์ไว้ก่อนมาก นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ความเป็นพันธมิตรทางการเมืองของทั้งสองเสื่อมลงก่อนที่จะจบลงด้วยความเกลียดชังซึ่งกันและกัน

การปลดเน็กแกร์นี้ก่อให้เกิดการทลายคุกบัสตีย์ในวันที่ 14 กรกฎาคม ด้วยความดื้อแพ่งของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อ็องตัวแน็ต สถานการณ์จึงไม่คลี่คลาย สามวันถัดมาในวันที่ 17 กรกฎาคม เจ้าชายชาร์ลและครอบครัวของพระองค์จึงเสด็จออกนอกฝรั่งเศส เช่นเดียวขับข้าราชสำนักคนอื่น ๆ รวมถึงดัชเชสแห่งโปลิญัก พระสหายคนโปรดของพระราชินีมารี อ็องตัวแน็ต[17]

ใกล้เคียง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ